วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเริ่มธุรกิจอย่างมีทิศทาง


การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ



  ในการบริหารงานทางธุรกิจจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง
ทิศทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานในแต่ละประเทศ ดังนั้น แนวคิดในการบริหาร
จัดการที่เป็นวิทยาศาสตร์มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ โลกมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา

  แนวคิดของการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) เข้าใช้ในการบริหาร
งานทางธุรกิจ หรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดสินใจนั้น เป็นพัฒนาต่อเนื่องจากวิธีวิจัยปฏิบัติการ
(Operation Research) ซึ่งเป็นแนวคิดในการประเทศอังกฤษ และอเมริกาในช่วงสงครามโลก
ครั้งที่ 2 ที่มีการประสานการปฏิบัติงานในทางทหารเพื่อใช้ในการรบกับข้าศึก ซึ่งเป็นผลสำเร็จเป็น
อย่างดี และต่อมาได้มีการประยุกต์ใช้ในวงการอุตสาหกรรมและธุรกิจ

  1.1 ขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ
  เมื่อมีแนวคิดที่จะใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจมาประยุกต์ในปัญหาที่พบอยู่
ผู้วิจัยจำเป็นต้องเข้าใจทั้งขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งมีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 6 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
  1. การวิเคราะห์ปัญหา
  2. การสร้างตัวแบบ
  3. การรวบรวมข้อมูล
  4. การหาผลลัพธ์
  5. การทดสอบผลลัพธ์
 

โปรแกรมเชิงเส้นตรง (linear Programming)



โปรแกรมเชิงเส้นตรง (linear Programming)
เป็นเทคนิคเชิงปริมาณอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในการดำเนินงานของธุรกิจปัจจุบัน
เป็นตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นแทนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับเงื่อนไขที่มีอยู่ในปัญหานั้นๆ โดยที่ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ ในเป้าหมายและในเงื่อนไขของปัญหาจะอยู่ในรูปเส้นตรง

ลักษณะปัญหาที่ใช้การกำหนดโปรแกรมเชิงเส้นตรง
ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เกี่ยวกับปัญหาด้านการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เช่น วัตถุดิบ แรงงาน เงิน เวลา สถานที่ เป็นต้น
มีจุดมุ่งหมายที่จะจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด
เราสามารถนำโปรแกรมเชิงเส้นตรงไปใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน และการตัดสินใจ ในหน้าที่หลักทางการบริหารทุกด้าน

ตัวอย่าง บริษัท ก. ต้องเลือกทำการผลิตวิทยุ โดยเลือกวิธีการผลิตระหว่าง ซื้อเครื่องจักรราคาเครื่องละ 250,000 บาท ซึ่งสามารถผลิตเสื้อวิทยุได้จำนวน 50,000 เครื่องต่อวัน กับจ้างพนักงานวันละ 220 บาทต่อวัน ซึ่งพนักงานหนึ่งคนสามารถ ผลิตวิทยุได้ 40 เครื่อง/คน/วัน คำถาม คือ บริษัท ก. ควรเลือกวิธีการผลิตด้วยวิธีใด เพื่อจะมีต้นทุนต่อเครื่องต่ำที่สุด

ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย
กรณีเครื่องจักรต้นทุนการผลิตต่อเครื่อง 50,000X = 250,000 หรือ = 5 บาทต่อเครื่อง

กรณีแรงงานต้นทุนการผลิตต่อเครื่อง 40Y = 240 หรือ = 6 บาทต่อเครื่อง

*** เลือกลงทุนด้วยการซื้อเครื่องจักร

คู่มือการเขียนแผนธุรกิจภาคการค้า

กลยุทธ์การตลาดแบบไอเอ็มซี(imc on action) article




บทความเรื่อง การสื่อสารการตลาดครบวงจร(IMC- Integrated Marketing Communication)
                                                                       เรียบเรียงโดย ไซมอน โชติอนันต์ พลตื้อ

เครื่องมือการติดต่อสื่อสารการตลาด(Integrated Marketing Communication-IMC)
          IMC จะใช้การติดต่อสื่อสารทุกรูปแบบที่เหมาะสมกับผู้บริโภคกลุ่มนั้น หรือเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเปิดรับ (Exposure) ทุกรูปแบบ

รูปแบบต่าง ๆ ของ IMC
    ซึ่งตัวอย่าง รูปแบบเหล่านี้อาจจะไม่ครบถ้วนตามรูปแบบของ IMC แต่เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมาก เพราะว่าความคิดทางวิชาการใหม่ๆ จะเกิดขึ้นเสมอ โดยมีรายละเอียดดังนี้ (เสรี วงษ์มณฑา. 2540:25)

         1.   การโฆษณา (Advertising)
เป็นรูปแบบของการสร้างการติดต่อสื่อสารด้านตราสินค้า (Brand contact)  การโฆษณาใช้ในกรณีต่อไปนี้
         1.1  ต้องการสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์  (Different:ate  product) อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง
         1.2  ต้องการยึดตำแหน่งครองใจสินค้า (Brand  positioning)
               ตัวอย่าง  ต้องการสร้าง positioning ว่าโพรเทคส์ เป็นสบู่ป้องกันแบคทีเรีย  รีจอยส์เป็นแชมพูที่มีตำแหน่งผลิตภัณฑ์ว่าเป็น 2 in 1 ซึ่งผลิตภัณฑ์ แรกที่เข้าสมาในตลาดก่อน คือ Dimension 2 in 1 แต่ Dimension ใช้โฆษณาน้อย ดังนั้น รีจอยส์จึงสามารถยึดครอง positioning การเป็น 2 in 1 ได้ดีกว่า ดังนั้นโฆษณาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่มีการทำโฆษณาก็เหมือนกับว่าเราไม่มีกรรมสิทธิ์ในตราสินค้า
         1.3  ใช้การโฆษณาเมื่อต้องการสร้างผลกระทบ (lmpact) ที่ยิ่งใหญ่
                        ตัวอย่าง  โครงการบ้านจัดสรรทายาทเศรษฐีมีกลุ่มเป้าหมายน้อย  แต่เพื่อให้โครงการมีความยิ่งใหญ่  ถือว่าเป็นการโฆษณาให้มีผลกระทบทั้งด้านภาพลักษณ์ (lmage) และผลกระทบ (lmpact) ทางด้านการพูดคุยในกลุ่มลูกค้า
         1.4  ถ้าสินค้าเป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วไม่ต้องให้ความรู้กับคน  (Educated)  ต้องการย้ำตำแหน่งสินค้า  (Brand  positioning) ต้องการสร้างความแตกต่าง  (Differentiation)  ลูกค้ามีพฤติกรรมที่ไม่ต้องเปลี่ยนความคิดของลูกค้า ก็ควรใช้การโฆษณา เช่น  แชมพูซันซิล  หมากฝรั่งล็อตเต้  โฆษณาบ้านธรรมดา  คุณสมบัติบ้านไม่มีแนวความคิดใหม่ ๆ  เหล่านี้ไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างความคิดของผู้บริโภคใดๆ ทั้งสิ้น  เพียงสร้างการรู้จัก  (Awareness) และแสดงจุดขาย (Selling  point)ตำแหน่งผลิตภัณฑ์  (positioning)ที่ชัดเจน

จิตวิทยาการตลาด


บทความเรื่อง
จิตวิทยาการตลาด
โดย ไซมอน โชติอนันต์ พลตื้อ


ปัจจัยทางจิตวิทยา
          การและเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางจิตวิทยา  (psychological factors) ที่สำคัญ 4 ปัจจัยได้แก่ การจูงใจ  การรับรู้  และความเชื่อและทัศนคติ
ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ
การจูงใจ
       แอนนาสนใจที่จะซื้อกล้องสักตัว อะไรคือสิ่งที่เธอกำลังแสวงหาอย่างแท้จริง อะไรคือความต้องการที่เธอพยายามที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ
       แต่ละคนมีความต้องการหลายสิ่งหลายอย่างในช่วงเวลาหนึ่ง ความต้องการบางอย่างเป็นความต้องการทางชีววิทยาเกิดจากสภาวะความตึงเครียด เช่น ความหิว หรือความลำบาก นี้เป็นความต้องการทางจิตวิทยาเกิดจากความต้องการยอมรับ การยกย่องความต้องการส่วนใหญ่อาจไม่มากพอที่จะจูงใจให้บุคคลกระทำในช่วงเวลานั้น ความต้องการกลายเป็นสิ่งจูงใจเมื่อให้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอจนเกิดความตึงเครียด สิ่งจูงใจ (motive)หรือแรงขับ (drive)เป็นความต้องการที่กดดันมากพอที่จะจูงใจให้บุคคลเกิดพฤติกรรมตอบสนองความต้องการ
ทฤษฎีความต้องการมี 2 ทฤษฎี  ทฤษฎีของซิมมันด์ ฟรอยด์ และทฤษฎีของอับราฮัม มาสโลว์ ทั้งทฤษฎีให้ความหมายของแรงจูงใจแต่ต่างกันว่า การวิเคราะห์ผู้บริโภคและการตลาด

ทฤษฎีการจูงใจของฟรอยด์
          ฟรอยด์ตั้งสมมติฐานว่าพลังทางจิตวิทยามีส่วนช่วยสร้างให้เกิดพฤติกรรมพบว่าบุคคลควบคุมสิ่งเร้าหลายอย่าง บุคคลจึงมีความฝัน พูดคำที่ไม่ตั้งใจพูดและมีพฤติกรรมหลอกหลอน หรือเกิดอาการวิตกจริตอย่างมาก เช่น แอนนาต้องการซื้อกล้องถ่ายรูปราคาแพง เธออธิบายถึงแรงจูงใจว่าเป็นเพราะเธอถ่ายรูปเพราะจะได้มีอาชีพเสริม แต่ในเป็นวัยรุ่นและมีอิสระ   นักวิจัยทางด้านการจูงใจกล่าวว่าผู้บริโภคกลุ่มเล็กเพื่อเปิดเผยที่มีต่อการเลือกซื้อสินค้าว่าอะไรจะอยู่ในจิตใจของผู้บริโภคในเรื่องของการซื้อ การศึกษาความต้องการให้ตนประสบความสำเร็จ

กลยุทธ์ทางการตลาด 8p's strategy




ที่มา :

http://graduate.east.spu.ac.th/graduate/admin/knowledge/A199strategic.pdf

9 กลยุทธ์ทางการตลาด


   กลยุทธ์ สำคัญในยามที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว ถดถอย สิ่งที่สำคัญที่ทุกคนในองค์การคงต้องเตรียมตัว เตรียมใจว่า "เราต้องร่วมกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งในทุกๆ ด้าน" หมั่นตรวจสอบผลการดำเนินงานของตนเองในแต่ละฝ่ายตลอดเวลา ขยันติดตามและตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินงาน ยอดขาย และต้องศึกษาให้เข้าใจถึงความรู้สึกความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าตลอดจนผลกระทบที่มีต่อลูกค้าประจำของเรา และอย่าละเลยที่ต้อง ขยันคิด ขยันสร้างสรรค์ ขยันค้นหาแนวทางใหม่ๆ แต่ไม่ใช่เปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างใหม่หมดโดยไม่ได้พิจารณาอย่างรอบคอบและควรรักษาสิ่งดีๆ ที่เคยทำแล้วสำเร็จไว้ และพัฒนาสิ่งที่ดีๆ เหล่านั้นให้แข็งแกร่งมากขึ้น ต้องไม่เป็นกระต่ายตื่นตูม ตื่นตระหนกกับสถานการณ์จนขาดสติ 
  การปรับปรุงควรวางแผนมองแบบภาพรวมให้ทุกคนในองค์กรร่วมรับรู้ทุกสถานการณ์ที่มีผลกระทบ และร่วมคิดร่วมสร้างพลัง ค้นหาหนทางที่จะทำให้ทุก ๆ คน ในองค์อยู่รอดร่วมกัน การปรับการกระทำ ให้ริเริ่มกระทำอย่างมีการ "คิดก่อนทำ" แบบที่เรียกว่า "คิดดี ต้องทำได้" และ "คิดได้ ต้องทำดี" และ 9 กลยุทธ์ทางการตลาดดังต่อไปนี้ เชื่อมั่นว่าจะเป็นหนทางเพื่อให้กิจการฝ่าวิกฤตทำให้องค์กรอยู่รอดและยั่งยืนได้
 1.กลยุทธ์ ราคา 
  ขอให้ใช้อย่างเข้าใจและใช้กลยุทธ์ราคานี้บนพื้นฐานของการศึกษามากกว่าการใช้ตามความรู้สึกที่ว่าใครๆ เขาก็ใช้กลยุทธ์ราคากัน แน่นอนกลยุทธ์ราคา ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายในสินค้าโดยเฉพาะสินค้าประเภท commodity ที่ลูกค้าไม่ยึดติดในตราสินค้า ดังนั้น กลยุทธ์ราคามักจะเหมาะสมกับสินค้าประเภทที่ลูกค้าส่วนใหญ่ ไม่มีความภักดีในตราสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ราคาอย่างสร้างสรรค์เช่น ควรลดราคาสำหรับสมาชิก หรือการลดราคาในช่วงสิ้นเดือนที่ลูกค้าเพิ่งได้รับเงินเดือน และการลดราคาให้ผู้มีกำลังซื้อน้อยเช่นข้าราชการ หรือผู้ใช้แรงงานของบริษัทที่ทำสัญญากับกิจการ แม้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้การจะใช้กลยุทธ์การลดราคาควรมีเป้าหมายด้วย และควรเจาะจงมากกว่ากระทำไปโดยไม่มีเป้าหมาย 
 2.กลยุทธ์ การสร้างคุณค่าที่แตกต่าง 
  กลยุทธ์นี้ควรสร้างความยอมรับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรวมด้วยเพื่อความอยู่รอดร่วมกัน ถ้าให้ดีควรเน้นขายสินค้า หรือให้บริการที่มากคุณค่า คุ้มค่า และจ่ายในราคาที่ประหยัดกว่าแต่หาซื้อที่ไหนไม่ได้ หรือซื้อได้แต่ถ้าซื้อที่เราให้ความคุ้มค่า และให้คุณค่ากับผู้ซื้อและสังคมส่วนร่วมเป็นอย่างมาก เช่นกลยุทธ์การขายสินค้า แบบนำสินค้าที่ใช้แล้วมาแลกซื้อสินค้าใหม่ในราคาที่ถูกกว่า หรือกลยุทธ์การเพิ่มเติมบริการเสริมในเรื่องการรับซื้อของเก่าที่ใช้แล้ว เพื่อนำไปแลกชื้อสินค้าใหม่ถึงบ้าน หรือแม้แต่การรับซื้อบรรจุภัณฑ์เก่าเพื่อแลกซื้อสินค้าใหม่ของเรา จะเห็นว่าถ้าแตกต่างแบบนี้ทุกคนได้ประโยชน์ทั้งนั้น สังคมส่วนรวมก็ได้ด้วย 

บัญชีสำหรับธุรกิจการบริการ





ที่มา:http://tourism.npu.ac.th/

สำหรับกลยุทธ์การตลาด 4P's


The 4 P's of Marketing 
ถ้าหากจะพูดถึงเรื่องของธุรกิจและการเป็นเจ้าของกิจการแล้วสิ่งที่เจ้าของกิจการควรจะต้องมีนั้นมากมายเสียเหลือเกินไม่ว่าจะเป็น ภาวะผู้นำ , บุคลากรเก่งๆ และอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย แต่ที่สุดแล้วสิ่งที่จะทำให้ธุรกิจแต่ละที่นั้นประสบความสำเร็จก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ ” กลยุทธ์การตลาด ” ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะผลักดันบริษัทนั้นๆไปสู่จุดหมายปลายทางที่หวังเอาไว้ได้ แล้วเราควรจะวางแผนกลยุทธ์อย่างไรกันดีหร่ะ? ถ้าจะให้อธิบายถึงเรื่องเหล่านี้นั้น อธิบายเป็นวันๆก็คงไม่หมดเพราะมีหลายเรื่องและหลายรูปแบบเสียเหลือเกิน ดังนั้นในบทความนี้จะขออธิบายถึงกลยุทธ์การตลาดที่สามารถเข้าใจง่ายและนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงที่นักการตลาดเรียกกันว่า ” กลยุทธ์การตลาด 4P “
The 4 P's of Marketing