วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การบริหารคุณภาพเชิงพุทธ

การบริหารคุณภาพเชิงพุทธ
สมหวัง  วิทยาปัญญานนท์ 12  ธันวาคม  2543

สรุปประเด็น
การบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง โดยวิธีการปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ จนลูกค้าพึงพอใจ เนื่องจากการผลิตและการบริการไม่มีปัญหาคุณภาพอีกต่อไปนั้น เมื่อพิจารณาในมุมมองเชิงพุทธ ก็มีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน แต่อธิบายได้ละเอียดลึกซึ้งในเรื่องแรงผลักดันและแรงต้านที่มีต่อการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพไว้มากกว่า

บทคัดย่อ
การบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง หรือวงจร PDCA หรือวางแผน - ปฏิบัติ - ตรวจสอบ - ปรับปรุงแก้ไขบำบัด โดยมีความพึงพอใจของลูกค้าเป็นแรงขับดัน ซึ่งพิจารณาจากคุณภาพของสินค้าหรือบริการเป็นหลัก เมื่อไม่ได้ตามคาดหวังก็เกิดเป็นปัญหาคุณภาพ เมื่อแก้ปัญหาได้ก็จะต้องรักษาวิธีการมาตรฐานไว้ พร้อมทั้งยกระดับความพึงพอใจขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง และตอกลิ่มมาตรฐานการทำงานที่ได้จากการหมุนวงจร PDCA ขึ้นไปจนถึงสิ่งคาดหวังสุดท้าย คือ ไม่มีปัญหาคุณภาพอีกต่อไป ที่เรียกว่า สามารถประกันคุณภาพสินค้าและบริการได้ ลูกค้ามีความมั่นใจภักดี ซื่อตรงต่อสินค้าและบริการ แล้วเวียนซื้อสินค้าและบริการซ้ำ
การบริหารคุณภาพเชิงพุทธด้วยวงจร 3 ป หรือ วงจร ปริยัติ (รู้) - ปฏิบัติ (ทำ) - ปฏิเวธ (ผล) โดยมีจุดมุ่งหมายสุดท้าย คือ นิโรธ ที่เป็นสภาวะไร้ปัญหา อุปสรรคที่เข้ามาเป็นทุกข์ หรือปัญหาที่มาจากสมุทัย (เหตุเกิดทุกข์) เมื่อหมุนวงจร 3 ป แล้ว จะเกิดมรรคที่ต้องตอกลิ่มเป็นระยะๆ โดยมีแรงผลักดันเข้าสู่เป้าหมาย คุณภาพที่เป็นสภาวะนิโรธ คือ อิทธิบาท 4 พละ 5 โพชฌงค์ 7 สัปปุริสธรรม 7 ทศพิธราชธรรม และ กุศลมูล 3 เป็นต้น สำหรับแรงต้านที่จะฉุดให้คุณภาพตกต่ำ คือ กิเลส ตัณหา อุปทาน นิวรณ์ 5 อบายมุข 6 และ อกุศลมูล 3 เป็นต้น

1. บทนำ

การบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง หรือ PDCA ในการบริหารงานโดยรวม (TQM) นี้เป็นหัวใจแห่งความสำเร็จ ที่บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งการบริหารนโยบาย การบริหารงานประจำวัน การบริหารงานข้ามสายงาน การบริหารงานประกันคุณภาพ ฯลฯ โดยมีความพึงพอใจของลูกค้าเป็นแรงขับดัน
การบริหารคุณภาพเชิงพุทธ ด้วยวงล้อ 3 ป เพื่อพัฒนาคุณภาพทางจิตใจ โดยมีแก่นหลักคือ อริยสัจ 4 เป็นเครื่องมือหลัก ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทางการบริหารคุณภาพงานในธุรกิจได้เช่นเดียวกันกับวงจรเดมมิ่ง โดยมีแนวคิดสนับสนุนหลัก คือ "ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นความรู้สึกทางจิตใจ ดังนั้นคุณภาพทางจิตใจที่มาจากสินค้าและบริการ ย่อมมาจากการพัฒนายกระดับคุณภาพทางจิตใจด้วย"
บทความนี้จะนำเสนอการบริหารคุณภาพเชิงพุทธ เพื่อเป็นอีกวิธีหนึ่งในการบริหารงานโดยรวม (TQM) และเสริมสร้างปัญญาในวิชาการบริหารเชิงพุทธได้ดียิ่งขึ้น

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Balanced Scorecard (BSC)

Balanced Scorecard (BSC)


          Balanced Scorecard (BSC) เป็นเครื่องมือทางด้านการบริหารจัดการ     ที่ช่วยในการประเมินผลองค์กรและช่วยให้องค์กรนำเอากลยุทธ์ไปปฏิบัติจริง (Strategic Implementation)โดยเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งเป็นขั้นของการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จ และจากนั้นก็เป็นการสร้างดัชนีวัดผลสำเร็จ (Key Performance Indicators: KPI) ขึ้นเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ถึงเป้าหมายและใช้วัดผลการดำเนินงานในส่วนที่สำคัญต่อกลยุทธ์
Balanced Scorecard เป็นแนวคิดที่เกิดจาก Professor Robert Kaplanอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Harvard และ Dr. David Norton ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ โดยทั้งสองได้ศึกษาและสำรวจถึงสาเหตุของการที่ตลาดหุ้นของอเมริกาประสบปัญหาในปี 1987 และพบว่าองค์กรส่วนใหญ่ในอเมริกานิยมใช้แต่ตัวชี้วัดด้านการเงินเป็นหลัก ประกอบกับเกิดเหตุการณ์ประเภทนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) ดร. Kaplan และ Norton (จาก Harvard Business School) จึงตระหนักว่า เครื่องมือที่ใช้วัดประสิทธิภาพของบริษัทแบบเก่า ๆ นั้น มีจุดอ่อนและกำกวม (เช่น ดูแต่ตัวเลขสถานะการเงินของบริษัท ซึ่งเป็นแค่มุมเดียวของความสำเร็จของบริษัท และมักเป็นจากอดีต ไม่ได้แสดงถึงศักยภาพและแนวโน้มบริษัทในอนาคตทั้งสองจึงได้เสนอแนวคิดในเรื่องของการประเมินผลองค์กร  โดยทั้งคู่ได้ตีพิมพ์แนวคิด Balanced Scorecard ในวารสาร Harvard Business Review ในค.ศ. 1992 ได้พิจารณาตัวชี้วัดในสี่มุมมอง (Perspectives)  แทนการพิจารณาเฉพาะมุมมองด้านการเงินเพียงอย่างเดียว  ประกอบด้วย 1)มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective), 2)มุมมองด้านลูกค้า(CustomerPerspective), 3)มุมมองด้านกระบวนการภายใน  (Internal  Process  Perspective)  และ 4)มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  (Learning  and  Growth  Perspective)
          ในระยะแรก Balanced  Scorecard ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรเพียงอย่างเดียว โดยได้นำเสนอแนวคิดที่ให้องค์กรนำการประเมินผลผ่านทาง 4 มุมมอง ได้แก่ประกอบด้วย
1) มุมมองด้านการเงิน (Financial  Perspective), 2)มุมมองด้านลูกค้า(CustomerPerspective), 3)มุมมองด้านกระบวนการภายใน  (Internal  Process  Perspective)  และ 4) มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา  (Learning  and  Growth  Perspective) จากที่องค์กรชั้นนำหลายแห่งได้นำเอาระบบ Balanced Scorecard ไปใช้ในการสร้างและปรับกลยุทธ์องค์กร โดยเมื่อได้ทำการวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานทั้ง 4 มุมมองแล้ว ผลจากการวิเคราะห์จะสามารถนำมาใช้ปรับแผนกลยุทธ์องค์กร ซึ่งการขยายขอบเขต การใช้ประโยชน์ของ Balance Scorecard นี้เป็นปัจจัยที่สำคัญหนึ่งที่ทำให้ระบบนี้ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องใน 10 กว่าปีที่ผ่านมา (นภดล ร่มโพธิ์: 2553)

Balance Scorecard จะแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบขององค์กร ใน 4 มุมมอง ดังนี้

               1.  มุมมองทางด้านการเงิน (Financial Perspective)เป็นมุมมองที่จะต้องคำถามว่า  เพื่อที่จะประสบผลสำเร็จทางด้านการเงิน องค์กรจะต้องเป็นอย่างไรในสายตาของผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้น/เจ้าของต้องการให้องค์กรประสบความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างไร  เช่น กำไรอาจเป็นสิ่งที่ผู้ถือหุ้นต้องการมากที่สุด ดังนั้นกำไรจึงเป็นตัววัดตัวหนึ่งในมุมมองทางด้านการเงิน เป็นต้น

           2. มุมมองทางด้านลูกค้า (Customer Perspective)เป็นมุมมองที่จะตอบคำถามที่ว่า เพื่อจะบรรลุถึงเป้าหมายของกิจการ องค์กรจะต้องเป็นอย่างไรในสายตาของลูกค้า กล่าวคือลูกค้าต้องการให้องค์กรเป็นอย่างไรในมุมมองของลูกค้า เช่น ลูกค้าอาจต้องการให้องค์กรสามารถผลิตของที่มีคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพสินค้าก็จะเป็นตัววัดตัวหนึ่งในมุมมองทางด้านลูกค้า เป็นต้น

            3. มุมมองทางด้านกระบวนการภายใน (Internal Business Process) เป็นมุมมองที่จะตอบคำถามที่ว่า เพื่อที่จะทำให้ผู้ถือหุ้นและลูกค้าเกิดความพอใจองค์กรจะต้องมีการจัดการภายในอย่างไรคุณภาพ(Quality), ระยะเวลาในการผลิตสินค้าและบริหาร(Response Time), ต้นทุน (Cost), และการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด(New Product Introduction)

           4. มุมมองทางด้านการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Growth) เป็นมุมมองที่จะตอบคำถามที่ว่า องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างไร เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างยั่งยืน  เช่น ความพึงพอใจการทำงานของพนักงาน (Employee Satisfaction), ระบบข้อมูลด้านสารสนเทศ(Information System)


ประโยชน์ที่ได้จากการนำ Balanced Scorecard ไปใช้

      1.  ช่วยให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น
      2.  ทำให้ทั้งองค์กรมุ่งเน้น และ ให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ขององค์กร   โดยต้องให้เจ้าหน้าที่ทั่วทั้งองค์กรให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ขององค์กรมากขึ้น และเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
      3.  ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ วัฒนธรรมขององค์กรโดยอาศัยการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่
4.       ทำให้พนักงานเกิดการรับรู้และเข้าใจว่างานแต่ละอย่างมีที่มาที่ไปอีกทั้งผลของงาน
ตนเองจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้อื่นและขององค์กรอย่างไร

ข้อดีของ BSC
1.   เป็นการประเมินในองค์รวม ที่ครอบครุมมิติต่างๆ ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน เพื่อให้เกิดความสมดุล
2.  มีการเชื่อมโยงระหว่างการประเมินผลกับกลยุทธ์ขององค์กรอย่างเป็นระบบ ทำให้การประเมินมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
3.   ใช้เป็นเครื่องมือในการผลักดันกลยุทธ์องค์กรได้
4.    เป็นการวัดตามมุมมองแบบเหตุและผล (Cause and Effect)
5.   มีการพัฒนาแนวคิดอย่างต่อเนื่องโดยนำผลจากประสบการในการปฏิบัติมาใช้ ทำให้สามารถนำไปใช้ได้จริงกับองค์กร

ข้อเสียของ BSC

      1.   เหมาะกับองค์กรที่มีการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานขององค์กร
       2. การประเมินผลแบบนี้ต้องมีความสมดุลในมิติตางๆ มิฉะนั้น BSC จะไม่สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่
       3. หากมีตัวชี้วัดหรือตัวเลขมากเกินไป จะทำให้ประสิทธิผลของเครื่องมือลดลง
       4. BSC ต้องมีการทบทวนอย่างต่อเนื่อง 201307234

Outsourcing


Outsourcing
Outsourcing ด้าน Leading




Outsourcing หมายถึง การใช้บริการจากภายนอกองค์กร ที่เรียก ผู้ให้บริการ (Service Providers) เพื่อ ช่วยงานในบางส่วนชั่วคราวหรืองานพื้นฐานระยะยาว ธุรกิจหลายแห่งอาจต้องการพนักงานเพิ่มเติม เช่น นักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบและเจ้าหน้าที่ทางด้านเทคนิคให้มาช่วยงานในช่วงเร่งด่วน ในระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้นแทนที่จะต้องเพิ่มพนักงาน อาจกระทำโดยการว่าบริษัทจัดหาคนช่วย (Contract Personnel Firm) โดยจ่ายค่าบริการเฉพาะช่วงที่กำหนด หรืออาจติดต่อที่ปรึกษาทางด้านไอที เมื่อต้องการความชำนาญเฉพาะด้าน

การ Outsource คือการที่องค์กรมอบหมายงานบางส่วนของตนให้กับบุคคลหรือองค์กรภายนอก มาดำเนินการแทน โดยผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดและควบคุมกำกับทุกส่วนตั้งแต่นโยบายไปจนถึงการปฏิบัติงานในทุก ๆ ขั้นตอนของผู้รับจ้าง


แนวคิดของการ Outsource เกิด ขึ้นจากเหตุผลหลายประการเช่น การแข่งขันทางด้านธุรกิจและด้านการบริการแก่ลูกค้าที่มีการแข่งขันสูง การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความล่าช้าในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและ บริหารระบบสารสนเทศ จากสาเหตุดังกล่าวผู้บริหารองค์กรเริ่มมีการพิจารณาที่จะมอบหมายภารกิจด้าน การบริหารระบบสารสนเทศทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับบุคคลภายนอกที่มี ความรู้ความชำนาญและมีเทคโนโลยีที่ดีกว่าเข้ามาบริหารระบบสารสนเทศขององค์กร นั้นๆโดยอยู่ภายได้การควบคุมดูแลขององค์กรนั้นๆ ทำให้องค์กรนั้นๆสามารถปรับปรุงจุดมุ่งหมายขององค์กรนั้นๆให้สามารถแข่งขัน ในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเหตุผลที่การ Outsource เริ่มมามีบทบาทในระบบสารสนเทศปัจจุบันมากขึ้นเนื่องจากองค์กรต่างๆเล็งเห็นประโยชน์ของการ Outsource ดังนี้




• องค์กร นั้น ๆ ลดภาระในการดูแลทรัพย์สินของระบบสารสนเทศ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุปกรณ์ของระบบเครือข่ายสื่อสาร เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถที่จะคำนวณถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

•องค์กร สามารถลดภาระในการวางแผนทางด้านเทคโนโลยีโดยจะวางแผนเฉพาะด้านนโยบายและการ บริการใหม่ ๆ ที่ต้องการนำมาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันในตลาดเท่านั้นไม่จำเป็นต้องนำ ประเด็นของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมาเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา

•ช่วย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทัน ท่วงที

•ช่วย เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้น เนื่องจากการดำเนินการต่าง ๆ จะเกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองการให้บริการใหม่ ๆ กับลูกค้า ซึ่งการลงทุนเองจะไม่สามารถตอบสนองต่อความยืดหยุ่นของดีมานด์ของตลาดได้ทัน ท่วงที

•องค์กรที่มีปัญหาทางด้านการควบคุมค่าใช้จ่ายของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อาจเปลี่ยนแปลงมาใช้การ Outsource เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งสัญญาการ Outsource ที่ ดีจะทำให้ผู้ว่าจ้างมีความยืดหยุ่นในการขยายประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เพื่อ รองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าใช้จ่ายตามที่ตกลงกัน

•สามารถ ลดภาระในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้อยู่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีใน การบริหารระบบสารสนเทศ กล่าวคือสามารถลดปัญหาพื้นฐานความรู้ของพนักงานที่ไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ทัน หรือพนักงานอาจมีภาระงานมากจนทำให้ไม่สามารถติดตามเทคโนโลยีได้ทัน

• ความต้องการให้พนักงานของตนไปทำงานอื่นที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมากกว่าทำการดูแลบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ

•ไม่ สามารถว่าจ้างบุคลากรที่มีทักษะบางด้านเข้ามาทำงานได้ เนื่องจากเงื่อนไขการจ้างไม่ดึงดูดใจบุคลากรเหล่านั้น หรือไม่สามารถที่จะดึงดูดใจให้บุคลากรเหล่านั้นทำงานอยู่กับองค์กรได้ในระยะ ยาว การ Outsource จะทำให้ไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรในองค์กรเพิ่มขึ้นทำให้องค์กรมีขนาดที่เหมาะสมและสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

• การจัดจ้างนี้ มีสัญญาการจ้างระยะเวลาที่จะสิ้นสุด ดีกว่าการลงทุนเอง ซึ่งจะต้องเป็นการลงทุนในลักษณะถาวรต่อเนื่อง

• สามารถกำหนดระดับของบริการ (Service Level) ได้ เช่นต้องการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเท่าใด ความผิดพลาดที่มีไม่ควรเกินอัตราหรือสัดส่วนเท่าใด การทำงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในทุกช่วงของเวลา เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความพึงพอใจกับการให้บริการของฝ่ายงานสารสนเทศต่อทั้งผู้ ใช้ภายในและภายนอกองค์กร

• ต้องการให้องค์กรมีการให้บริการทางด้านสารสนเทศเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วไป
http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/outsourcing.html

Change Management:การบริหารความเปลี่ยนแปลง

Change Management


Change Management:การบริหารความเปลี่ยนแปลง
ด้าน Leading

1.   ประวัติความเป็นมา
            ปัจจุบันการทำธุรกิจเป็นเกมส์การแข่งขันที่มีความซับซ้อน และทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้นกว่าในอดีต ด้วยสาเหตุนี้องค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อปัจจัยจากสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างเหมาะสม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และวิชาการสมัยใหม่  จึงมีบทบาทอย่างมากในธุรกิจปัจจุบัน  ซึ่งมีผลทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง  ผู้บริหารธุรกิจในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนา และปรับเปลี่ยนองค์กรของตนเองอยู่เสมอ  เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสภาพของการแข่งขันทางการตลาดที่อาจจะมีผลกระทบต่อองค์กรในอนาคต
2.  องค์ประกอบของการจัดการความเปลี่ยนแปลง  มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง
การละลาย  คือ การละลายพฤติกรรมแบบเดิมๆที่เคยปฏิบัติกันในองค์กร
การเคลื่อนย้าย คือ การนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาแทนที่สิ่งเดิมๆในองค์กร
การทำให้คงตัว  คือ การทำให้สิ่งใหม่ที่เข้ามาแทนที่สิ่งเดิมอยู่คงตัว
2. กลยุทธ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์แบบเผด็จการ
กลยุทธ์แบบประชาธิปไตย
กลยุทธ์แบบใช้อำนาจตามสายการบังคับบัญชา 
 
 3. เครื่องมือใช้เพื่ออะไร
เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้น  ซึ่งจะต้องทราบถึงอิทธิพลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและ
ภายในองค์การ  และเตรียมแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ทันท่วงที  โดยจะอาศัยการวิเคราะห์ร่วมกันของทุกฝ่าย  อาศัยข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ   องค์การจะต้องพิจารณาการปรับเปลี่ยนแผนเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง  โดยมีการวางแผนเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การ  กำหนดทิศทางการดำเนินงาน การกำหนดแผนกลยุทธ์เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในอนาคต  ทั้งนี้โดยการคำนึงถึงจุดอ่อน  จุดแข็ง โอกาส  และอุปสรรค ที่เป็นอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ
4. ข้อดีและข้อเสีย
ข้อดี :
เพื่อเปลี่ยนจากสิ่งเก่าไปสู่สิ่งใหม่ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ขององค์การ
เพื่อความยั่งยืนขององค์กร (Sustainability)
เพื่อเพิ่มความสามารถและพัฒนาคนในองค์กร  (Self Reliability)
เพื่อความสามารถในการอยู่รอดขององค์กร (Survivability)
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)
ข้อเสีย :
กระทบต่อคนที่ทำงานในองค์กร
กระทบต่อกระบวนการทำงานภายในองค์กร
กระทบต่อวัฒนธรรมองค์กร
กระทบต่อโครงสร้างองค์กร
5. ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
1.  การสร้าง ทีมเจ้าภาพ
2.  การพัฒนาวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง
3.  การวางแผนและกำหนดตัวชีวัด
4.  การพัฒนาโครงสร้างที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง
5.  ดำเนินการและ หยั่งราก การเปลี่ยนแปลง

ที่มาข้อมูล:http://www.training.nida.ac.th/home/attachments/article/89/ChangeManagement.pdf

Brainstorming

Brainstorming 

 

ด้าน Leading

    1.  ประวัติความเป็น/แนวคิด
           ออสบอร์น  (Alex  F.  Osborne) กล่าวว่าการระดมสมองให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา โดยไม่มีการประเมินว่าความคิดเห็นของใครว่าดีหรือไม่ดี ความคิดเห็นของทุกคนจะถูกรวบรวม และนำเสนอให้สมาชิกทุกคนได้ทราบ พร้อมทั้งสนับสนุนให้สมาชิกเสนอความคิดเห็นต่อเติมหรือเสริมของกันและกันได้ ส่งเสริมการสร้างสรรค์ความคิดเห็นและบรรยากาศของการยอมรับสำหรับความคิดเห็น ทุกชนิด การระดมสมองเป็น ส่วนหนึ่งที่จะสร้างความสำเร็จ    Brainstorming  เป็น กระบวนการที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว อย่างเป็นแบบแผน และเป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม
            แนวคิดการระดมสมอง มาจากคำในภาษาอังกฤษ  คือ  Brain Storming  คำแรก  คือ  Brain หมายถึงสมอง  ส่วนคำหลัง  Storming  หมายถึงพายุที่โหมกระหน่ำ  แนวคิดแปลตรงๆ  ก็คงหมายถึงการมุ่งใช้พลังความสามารถทางการคิดของสมองของมวลสมาชิกในกลุ่ม  เพื่อคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
2. เครื่องมือนี้คืออะไร
             การปรับแนวความคิดร่วมกันระหว่างสมาชิก เพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การแก้ปัญหา เปิดโอกาศให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
องค์ประกอบ Brainstorming 
        
1. กำหนดปัญหา
            2. แบ่งกลุ่ม และอาจเลือกประธานหรือเลขา เพื่อช่วยในการอภิปรายและบันทึกผล
            3. สมาชิก ทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบหรือทางเลือกสำหรับปัญหาที่กำหนดให้มากที่สุด ภายในเวลาที่กำหนด โดยปัญหาของแต่ละกลุ่มอาจเป็นปัญหาเดียวกันหรือต่างกันก็ได้
            4. คัดเลือกทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้ หรือเหมาะสมที่สุด
            5. แต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานของตน 
            6. อภิปรายและสรุปผล
3.  เครื่องมือนี้คือ/ใช้เพื่อ              
 เครื่องมือการBrain  Stormingคือการร่วมกันออกความคิด แสวงหาทางเลือกในการตัดสินใจและ
ใช้ในการการวางแผน  ในภาษาไทยไว้เรียกว่า  การระดมสมอง กับ การระดมความคิดปัจจุบันพบว่ามีการพยายามใช้คำว่า  การระดมความรู้และประสบการณ์ เพื่อ  แสวงหาความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด 

4.  ข้อดีและข้อเสีย
           ข้อดี. มีกระบวนการแก้ปัญหาและมีคุณค่ามากที่จะใช้เพื่อแก้ปัญหาก่อให้เกิดแรงจูงใจสูง และ
ฝึกการยอมรับความเห็นที่แตกต่างกันได้คำตอบหรือทางเลือกได้มาก ภายในเวลาอันสั้นส่งเสริมการร่วมมือกัน ประหยัดค่าใช้จ่ายและการจัดหาสื่อเพิ่มเติมอื่น
         ข้อเสีย/ข้อจำกัด. ประเมินผลแต่ละคนได้ยากอาจมีส่วนน้อยเพียงไม่กี่คนครอบครองการ
อภิปรายส่วนใหญ่มักพบในการประชุมระดับชาติ

http://promrucsa-dba04.blogspot.com/2012/10/brainstorming.html

7'S Framework


7'S Framework

ศิริเพชร สุนทรวิภาต
7'S Framework : A Tool for Leading

1. ประวัติความเป็นมา โครงร่าง 7 เอส ของMcKinsey เป็นตัวแบบซึ่งผู้เรียกขานกันแตกต่างกันไป เช่น McKinsey 7-S Model 7-S Framework (McKinsey) McKinsey & Co’s 7S framework และ 7-S Model ถูก พัฒนาขึ้นมา เพื่อการบริหารที่แทนที่จะไปมองเพียงด้านการประยุกต์ใช้ กลยุทธ์หรือการจัดโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับ กลยุทธ์เท่านั้น เขามองลึกไปกว่านั้น โดยมองไปถึงว่าเมื่อมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว ยังต้องผสมผสานกับสิ่งอื่นใดอีกบ้าง จึงจะสร้างผลลัพธ์ให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิผลขึ้นมาได้

2. องค์ประกอบ 7’s

    

3. 7’s ใช้เพื่ออะไร
7 เอส ของแมคคินซี่ สามารถนำไปได้ดีในเรื่องการประเมินความเป็นไปได้จริงของแผนกลยุทธ์ที่บริษัท วางแผนไว้ โดยมองออกจากความสามารถขององค์กรที่แท้จริงเป็นสำคัญ

4. ข้อดี/ข้อเสียของ 7’s
แก่นสำคัญของ 7’S บังเอิญกลายเป็นอุปสรรคชิ้นสำคัญในการนำไปใช้ ซึ่งได้แก่การนำเอาด้าน Soft ไปใช้งานนั่นเอง ปัจจุบัน 7’S กลายเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งในรายการตรวจสอบทางด้านบริหารเท่านั้น การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง S ด้วยกัน หรือการวิเคราะห์หาความขัดแย้งกันเองในแต่ละ S กลาย เป็นเรื่องที่ไม่ใคร่มีใครสนใจกันแล้ว ประกอบกับมีโมดลใหม่ ๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใช้งานทดแทนได้ดีกว่า ทำให้บทบาทในเรื่องดังกล่าวลดน้อยลงไปจนเหลือเท่าที่เป็นอยู่
5. ขั้นตอนการจัดทำ 7’s
1. นำ Strategic Factor ที่คัดไว้ซึ่งจะมีทั้งที่เป็น จุดแข็ง (S) และจุดอ่อน (W) มาเขียนลงในคอลัมน์(1) ของ ตาราง IFAS (Internal Factors Analysis Summary)
2. ให้น้ำหนักแต่ละ factor ในคอลัมน์ (2) โดยน้ำหนักสูงสุด คือ 1.00 และต่ำสุดคือ 0.00 ซึ่งน้ำหนักของแต่ละปัจจัยรวมกันต้องเท่ากับ 1.00 (การให้น้ำหนักเป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร)
3. การให้คะแนนแต่ละ Factor ในคอลัมน์ (3) นั้น คะแนนสูงสุดคือ 5 และคะแนนต่ำสุดคือ 1 (Likert Scale)
4. ในแต่ละ Factor… ให้นำน้ำหนักในคอลัมน์ (2) คูณกับคะแนนในคอลัมน์ (3) ซึ่งจะได้ Weighted score ในคอลัมน์ (4 )
5. ใช้คอลัมน์ (5) ในกรณีที่ต้องการให้เหตุผลกำกับแต่ละ Factor นั้น
6. รวมคะแนนถ่วงน้ำหนัก หรือ Weighted score ในคอลัมน์ (4) ทั้งหมด คะแนนที่ได้จะบอกให้รู้ว่า องค์กรสามารถตอบสนองต่อ Strategic Factor ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมภายในได้ดีเพียงใด
6. มีใครนำ 7’sใช้บ้าง /กรณีศึกษา
เจ้าหนี้เงินกู้ยืม, สถาบันจัดอันดับเครดิต

CSR

Corporate Social Responsibility


Corporate Social Responsibility ด้าน Organizing

1. แนวคิด CSR
-    การประกอบธุรกิจโดยยึดหลักศีลธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาล - มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
    การปฎิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรอย่างมีคุณธรรม - การเข้าร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
    การเคารพสิทธิและปฎิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม - การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
    การส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตนเอง การจัดทำรายงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
   
    2. เรื่องมือนี้คืออะไร/ มีองค์ประกอบอะไร
Corporate Social Responsibility (CSR) คือ การดำเนินกิจกรรมภายในและภายนอกองค์กร ที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับใกล้และไกล ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรหรือทรัพยากรจากภายนอกองค์กร ในอันที่จะทำให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
CSR ใช้เพื่อการจัดองค์กร (Organizing) โดยมุ่งการสร้างองค์กรให้มีความ ดี” และทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน บนพื้นฐาน 3 มิติ คือ
1. Social 
2. Environment
3. Economic


4. ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องมือ

ข้อดี :
1. กลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคม (ลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น คู่ค้า คู่แข่ง รัฐบาล สื่อมวลชน ประชาชน) ให้การยอมรับ
2. เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่องค์กร
3. สร้างจุดแข็งทางการตลาด สร้างภาพลักษณ์ ชื่อเสียงให้แก่องค์กร
4. สามารถดึงดูด รักษา พนักงานที่มีคุณภาพให้อยู่กับองค์กรได้นาน
5. สื่อมวลชนให้ความร่วมมือในการนำเสนอข่าวสารด้าน CSR
6. สร้างแรงดึงดูดใจให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน และนักการเงิน
7. องค์กรจะได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนแม้เกิดภาวะวิกฤต
8. เพิ่มยอดขายและสัดส่วนทางการตลาดให้แก่องค์กร

ข้อเสีย :
1. ขาดความเข้าใจมองว่า CSR เป็นหน้าที่ของรัฐไม่ใช่องค์กรธุรกิจ
2. การทำ CSR ไม่เต็มที่ ทำเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้ไม่เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
3. การทำ CSR ที่มีความหลากหลายประเด็น ไม่ลงลึก ทำให้ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
4. ผู้บริหารไม่สนับสนุน มองว่าทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ไม่แน่ใจผลที่จะเกิดขึ้น

5. ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
1.ควรเริ่มกิจกรรม CSR จากภายในสู่ภายนอก (inside-out)

2.ควรปลูกฝังค่านิยมเรื่องของการช่วยเหลือ การแบ่งปัน ความรับผิดชอบ ให้แก่พนักงานในองค์กร
3.สร้างทีมงาน CSR ประกอบด้วยบุคลากรจากหลายฝ่ายช่วยกัน
4.เขียนแผนงานด้าน CSR อย่างเป็นขั้นตอน พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรง สามารถติดตามประเมินผลได้
5.วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสขององค์กร เพื่อหาประเด็นทำ CSR
6.ควรสร้างประเด็น CSR ที่สอดคล้องสัมพันธ์กับการดำเนินธุรกิจ
7.สร้างกิจกรรม CSR กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆขององค์กร
8.ระบุให้ชัดเจนว่ากิจกรรมนั้นมุ่ง target กลุ่มไหน
9.กำหนดวัตถุประสงค์ของการทำ CSR ให้ชัดเจนและแจ้งให้พนักงานทราบเพื่อให้ได้ความร่วมมือ
10.ต้องเข้าใจแนวคิด CSR เข้าใจแก่น และเน้นทำ CSR แบบยั่งยืนและต่อเนื่อง
11.ไม่ควรคิดทำ CSR เพียงเพื่อต่อยอด สร้างแบรนด์เท่านั้น
12.ควรทำ CSR ในเชิงรุก (ไม่ใช่รอให้ปัญหาเกิดแล้วค่อยแก้ไข)

Customer Relationship Management

Mass Customer/Customer Relationship Management


ชนินทร์ สุขสุวรรณ

Mass Customer/Customer Relationship Management ด้าน Organizing

CRM (Customer Relationship Management)
การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
1. หลักการ/แนวคิด
เป็น กระบวนการที่บรรลุ ความสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการลงทุนขององค์กรและการตอบสนองความพึงพอใจของ ลูกค้า เพื่อก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดแก่กิจการ
2. CRM คือ อะไร
CRM ในความหมายทั่วไป คือ กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับการขายครั้งต่อไป องค์กรจะนำ CRM เข้า มาใช้โดยอาจอยู่ภายในหนึ่งแผนกหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นการเก็บประวัติการให้บริการลูกค้าของแผนกดูแลลูกค้า โดยการบันทึกความคิดเห็นของ ลูกค้า หรือข้อมูลที่ลูกค้าต้องการเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อไม่นานมานี้ คือ ผลกระทบ ของเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อกระบวนการบริหารลูกค้าที่เห็น ได้ชัดเจน คือการใช้เทคโนโลยีในการเก็บรวบรวมฐานข้อมูล ลูกค้าในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (การจัดเก็บในคอมพิวเตอร์) หรือการนำศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ (Call Center) เข้า มาสนับสนุนการทำงาน ระบบที่มีความทันสมัยส่วนใหญ่ จะมีความสามารถในการ จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าได้จำนวนมาก และจะเป็นเครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ไว้ที่ส่วนกลาง เพื่อความสะดวกในการ ใช้งานขององค์กร ข้อมูลที่เก็บไว้สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ ในโอกาสต่างๆ เช่น เมื่อลูกค้าติดต่อกับองค์กรในครั้งล่าสุดเมื่อใด, เป็นการติดต่อในเรื่องอะไร, มีการแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบดูแลลูกค้ารายนั้น
3. เป้าหมายของ CRM
· การบริการลูกค้าที่ดีเยี่ยม
· ลูกค้าซื้อสินค้าเพิ่ม
· ขายข้ามความต้องการได้
· การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป
4. ประโยชน์ของ CRM ต่อธุรกิจ
· มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ เพื่อวางแผนทางด้านการตลาดและการขาย
· เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
· เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน พนักงานทำงานได้อย่างรวดเร็ว
· เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
· สร้างความจงรักภักดี (Loyalty) ของลูกค้าในระยะยาว
ประโยชน์ของ CRM ต่อลูกค้า
· สินค้ามีคุณภาพ ตรงตามความต้องการ
· บริการที่ดี สะดวก รวดเร็ว และประทับใจ
· ความเป็นกันเอง ใกล้ชิด
องค์ประกอบของ CRM
DEAR Model
· การสร้างฐานข้อมูลลูกค้า (Database)
· การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Electronic)
· การกำหนดโปรแกรมเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ (Action)
· การเก็บรักษาลูกค้า (Retention)
สรุป
CRM คือ สิ่งต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากตัวสินค้าหรือบริการ ที่ได้รับการสร้างความพึงพอใจ (Satisfaction)ให้ เกิดกับลูกค้า คือการที่ลูกค้าจะได้รับสิ่งที่ตนเองพึงพอใจที่นอกเหนือจากการคาดหวังไว้ ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควรในการสร้างสมประสบการณ์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาลูกค้าเก่าให้คงอยู่ตลอดไป ซึ่งกลุ่มลูกค้าเหล่านี้เมื่อเป็นลูกค้ามาเป็นระยะเวลานานก็จะเป็นกลจักร สำคัญในการบอกต่อ (Word of mouth) เพื่อการสร้างลูกค้าใหม่ (New Customer) ในอนาคตโดยที่ธุรกิจไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนและสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ขององค์กรขึ้นมาเอง

การรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การ

การรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การ
                ความคิดในการรีเอ็นจิเนียริ่งถูกหยิบยกขึ้นมาใช้   โดยนักวิชาการบางคนเชื่อว่านี่คือคำตอบที่จะทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายในการปรับกระแสการเปลี่ยนแปลงให้สามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้

                ไมเคิล  แฮมเมอร์ และ เจมส์  แชมปี้    ได้กำหนดแผนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนขึ้นในองค์การธุรกิจ  ซึ่งเรียกว่า   การรีเอ็นจิเนียริ่งบริษัท   (Reengineering the corporation)

ความหมายของรีเอ็นจิเนียริ่ง
                ตามพจนานุกรมไทยได้บัญญัติศัพท์คำว่า  Reengineering   เป็นภาษาไทยว่า  “การรื้อปรับระบบ”   ซึ่งมีหลายความหมายดังต่อไปนี้

1.             การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน  ละทิ้งกระบวนการที่ทำมายาวนานนำกระบวนการใหม่ที่ทันสมัยตามที่สภาพงานในขณะนั้นต้องการ  เพื่อที่จะสร้างสินค้าหรือบริการที่ให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค

2.             พิจารณาหลักการพื้นฐาน  (Fundamental)  อีกครั้ง และออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ  (Business  process)  อีกครั้ง ชนิดที่เรียกว่า  อย่างถอนรากถอนโคน  (Radical  redesign)  เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่อย่างเห็นได้ชัด  (Dramatic)  มีหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดผลการดำเนินธุรกิจ  ได้แก่  ด้านต้นทุน  คุณภาพ  การบริการ   และความรวดเร็ว   โดยรีเอ็นจิเนียริ่งจะเน้นเรื่องกระบวนการ  (Process  orientation)  ความปรารถนาที่แรงกล้า (Ambition)  การไม่ยึดติดกับกฎข้อบังคับเดิม (Rule  breaking)  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)

3.             รูปแบบการนำกระบวนการบริหารจัดการใหม่มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคนหรือเป็นการคิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจการขึ้นมาใหม่  เพื่อฉกฉวยข้อได้เปรียบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี   หลักการของรีเอ็นจิเนียริ่งจึงต้องขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อกลยุทธ์หลักขององค์การธุรกิจนั้นทั้งในด้านการตลาด  การผลิต   การบริการ  และ อื่นๆ  เพื่อให้ได้มาซึ่งได้ข้อได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน

จากความหมายข้างต้น   การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์การ   และดำเนินการ

ทุกด้านทั้งการตลาด   การผลิต  การบุคลากร  การบริการ   และกับทุกระบบที่สามารถทำให้เกิดประสิทธิภาพแก่องค์การ   ดังนั้นการรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การจึงไม่ใช่การปรับปรุงเครื่องมือสมัยใหม่  (Retool)  เพียงอย่างเดียวแต่จะต้องมีการคิดใหม่  (Rethink)   การออกแบบใหม่(Redesign)  และการปรับปรุงเครื่องมือสมัยใหม่  (Retool)   นอกจากนั้นการเลือกกระบวนการรีเอ็นจิเนียริ่งนั้น  ไมเคิล   แฮมเมอร์  และเจมส์  แชมปี้   ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้  3   ประการ  คือ  (1) กระบวนการใดมีปัญหาหนักมากที่สุด   (2)กระบวนการใดส่งผลกระทบต่อลูกค้าของบริษัทมากที่สุด  (3)ความเป็นไปได้ที่จะประสบผลสำเร็จในการรีเอ็นจิเนียริ่งกระบวนการนั้น



ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้

1.ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ  ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าอยากให้ธุรกิจของเราเป็นธุรกิจอะไรและแบบใดในอนาคตแล้วพยายามมองหาวิธีการที่จะสร้างผลกำหรจากธุรกิจนี้ เช่น การปรับกลยุทธ์มาเน้นการผลิตและการบริการที่สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่ง่ขัน  โดยเป็นองค์การที่มีต้นทุนต่ำที่สุด  และสามารถเพิ่มคุณค่าในสินค้าและบริการได้การปฏิบัติการไปในลักษณะใด

2.ต้องอาศัยการริเริ่มและการบังคับบัญชาโดยผู้บริหารระดับสูง การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงานในบริษัท  ซึ่งอาจต้องมีการปรับปรุงขั้นตอนต่อเนื่องกันระหว่างแต่ละหน่วยงาน  ดังนั้นผู้บริหารที่มีอำนาจเพียงพอเท่านั้นจึงจะสามารถดูแลตรวจสอบกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ และทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงาน

3.สร้างบรรยากาศของความเร่ง่วน บางครั้งการรีเอ็นจิเนียริ่งอาจไม่บรรลุผลสำเร็จ  เพราะสาเหตุมาจากแรงกดดันด้านการเมืองภายในบริษัท  ดังนั้นผู้บริหารจะต้องสร้างบรรยากาศให้งานต่าง ๆ  มีความเร่งเวน  ผลักดันงานให้มีความต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง  และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ      

4.การออกแบบกระบวนการจากภายนอก  ประเด็นสำคัญของการรีเอ็นจิเนียริ่งอีกประการหนึ่งก็คือกระดาษเปล่าเพียง 1 แผ่น  ที่ใช้สำหรับเขียนขั้นตอนการทำงานแบบใหม่  ก่อนที่จะเริ่มปรับปรุงงานนั้นควรจะตั้งคำถามในลักษณะที่ว่าลูกค้าต้องการอะไร  แทนที่จะถามคำถามในลักษณะเดิมที่ว่าเราอยากจะขายอะไร  นอกจากนี้การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายในบริษัทควรมีความสอดคล้องกัน  โดยพนักงานในแต่ละหน่วยจะตกลงร่วมกัน  แต่ไม่ได้หมายความว้าต้องพึ่งพิงกับลักษณะโครงสร้างบริษัทที่มีในปัจจุบัน  กล่าวคือ  จะต้องออกแบบจากมุมมองของลูกค้าก่อนแล้วจึงมาพิจารณาว่าองค์การควรจะมีการดำเนินงานอย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าได้นั้นจะต้องใช้การสำรวจและวิจัยหลายรูปแบบ  นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนักกับการศึกษาขั้นตอนต่าง ๆ ของงานที่มีในปัจจุบัน  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ทิ้งระบบเก่าทันที  เพราะระบบเก่าอาจนำมาใช้พิจารณาจุดที่สำคัญของงานได้บ้างในบางขั้นตอน

5.การดำเนินการกับที่ปรึกษา  บ่อยครั้งที่พบว่าที่ปรึกษาทางธุรกิจขององค์การอาจทำอะไรที่ผิวเผินที่ปรึกษาเหล่านี้เข้ามาสำรวจ  สัมภาษณ์พนักงาน  แล้ววิเคราะห์ผลจากตัวเลข  นำเสนอข้อคิดเห็นในสิ่งที่ค้นพบต่าง ๆ  ตั้งแต่ต้นจนจบ  คือ  เริ่มตั้งแต่การออกแบบบาน  การนำแผนไปปฏิบัติ  และให้การฝึกอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์การเพื่อถ่ายทอดหลักการเหล่านั้นให้ไปถึงระดับล่าง

6.ทำการผนวกกิจกรรมของระดับบนลงสู่ระดับล้างกับกิจกรรมของระดับล่างขั้นสู่ระดับบนเข้าด้วยกันถ้ามองอย่างผิวเผินแล้วการรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการเน้นหนักเรื่องภาวะความเป็นผู้นำ   เทคโนโลยี  และการเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน  ซึ่งจะขัดแย้งกับแนวคิดการบริหารจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์การ(Total  Quality Management TQM)  หรือการมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมอื่น ๆ  สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ  การรีเอ็นจิเนียริ่งไม่สามารถเริ่มต้นได้จากระดับล่าง  เพราะอาจจะมีการขัดขวางจากกลุ่มคนหรือหน่วยงานภายในองค์การ  แต่การบริหารจากระดับบนสู่ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องของระบบ  TQM  (ระบบงานที่มีการปรับปรุงงานอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่องโดยให้ผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่มีส่วนร่วม)  จึงอาจกล่าวได้ว่าการตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง  ขณะเดียวกันวิธีการทำงานเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อหน่วยงานในองค์การก็คือ  เมื่อทำการรีเอ็นจิเนียริ่งแล้วจะมีการเปลี่ยนวิธีการทำงานของพนักงาน  ซึ่งมีตัวแปรสำคัญที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  วัฒนธรรมขององค์การ  ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะไม่สามารถทำได้  โดยผู้บ่ริหารอยากจะเปลี่ยนแปลงแต่ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย  ประเด็นหลักจึงไม่ได้อยู่ที่วิธีการแบบเก่าหรือวิธีการแบบใหม่  แต่อยู่ที่ช่วงเวลาการถ่ายโอนวิธีการทำงานแบบเก่ากับแบบใหม่นั้นหมายความว่า  เมื่อมีการร่างการออกแบบผังงานใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้วจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีภาวะความเป็นผู้นำที่แท้จริงมาลงมือปฏิบัติในช่วงเวลาที่สำคัญนี้  การรีเอ็นจิเนียริ่งจึงจะเกิดประสิทธิภาพได้เต็มที่  กล่าวโดยสรุปก็คือการรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานแบบเก่า  (ทำการปฏิวัติ)  ให้เป็นแบบใหม่โดยอาศัยกำลังภายในองค์การหรือหน่วยงานเดิมที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ  ทั้งนี้การสร้างวิธีดำเนินงานขึ้นมาใหม่จะต้องอาศัยความสามารถในการหยั่งรู้  ตลอดจนวิจารณญาณที่ลึกซึ้งของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง  การทำรีเอ็นจิเนียริ่งมี  5 ขั้น

ขั้นที่ 1   กำหนดสิ่งทีองค์การจำเป็นต้องทำ

ขั้นที่ 2   สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน  ซึ่งก็คือ  การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)  ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคตและมีความชัดเจน

ขั้นที่ 3   ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ  ไม่ควรสร้างผังงานของกระบวนการปัจจุบันเพียงแต่มองและพิจารณาเท่านั้น

ขั้นที่ 4   ออกแบบกระบวนการใหม่

ขั้นที่5     การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง



ขั้นที่ 1   การกำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ

                การกำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ  ควรเริ่มต้นจากเหตุผลของการก่อตั้งองค์การธุรกิจว่า  ผู้ประกอบการหรือเจ้าของต้องการให้ธุรกิจนั้นเกิดขึ้นเพื่ออะไร  ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำได้อย่างถูกต้องถ้าหากจะแบ่งประเภทของธุรกิจตามการดำเนินงานแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น  3  ประเภท  คือ

1.                                     ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต  สิ่งที่องค์การประเภทนี้จำเป็นต้องทำคือ  การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี  สามารถใช้งานได้นาน  คุ้มกับจำนวนเงินที่จ่ายไป  ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้  ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสังคม  ตลอดจนสอคล้องกับความต้องการของลูกค้า

2.                                     ธุรกิจเกี่ยวกับการจัดจำหน่าย  สิ่งที่องค์การประเภทนี้จำเป็นต้องทำคือ  การสรรหาสินค้ามาตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม  ในปริมาณที่พอเพียง  ราคาที่ยุติธรรม  มาจากแหล่งผู้ผลิตที่เชื่อถือได้  และไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้าจนขาดคุณธรรม

3.                                     ธุรกิจเกี่ยวกับการบริการ  สิ่งที่องค์การประเภทนี้จำเป็นต้องทำคือ  การตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านการบริการต่าง ๆ          จนเกิดความพึงพอใจมากที่สุด  โดยการบริการจะขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจนั้นว่าดำเนินการในด้านใด  ตัวอย่างลักษณะของธุรกิจเกี่ยวกับการบริการมีดังนี้

3.1                              ธุรกิจธนาคาร  ให้บริการเกี่ยวกับการเงินในรูปแบบต่าง ๆ

3.2                              ธุรกิจสื่อโฆษณาให้บริการด้านการเผยแพร่ข้อมูลที่ทำให้ลูกค้าสามารถขายสินค้าของเขาได้มากที่สุด

3.3                              ธุรกิจประกันภัย  ให้บริการเกี่ยวกับความมั่งคงในด้านชีวิตและทรัพย์สิน

3.4                              ธุรกิจหนังสือพิมพ์  ให้บริการด้านการนำข่าวสารจากแหล่งเกิดเหตุไปถึงประชาชนอย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ  และเป็นกลาง  ไม่ต่อเติมเนื้อหาแบบไร้จรรยาบรรณ

อาจสรุปได้ว่าธุรกิจทุกประเภทดังที่กล่าวมามีเป้าหมายสำคัญตรงกันคือ  ธุรกิจทุกประเภทต้องการขายความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า  เพื่อให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าและมาใช้บริการเฉพาะแต่องค์การของเขาเท่านั้น  โดยพยายามรักษาความพึงพอใจนี้ให้เกิดขึ้นยาวนานที่สุด  ซึ่งหมายถึงองค์การก็จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน  ดังนั้นหลักสำคัญของธุรกิจบริการก็คือ  การขายความพึงพอใจในระยะยาวโดยมุ่งกำไรจากลูกค้าอย่างยุติธรรม  ดังนั้น  ผลที่ตามมาก็จะทำให้องค์การนั้นสามารถครองส่วนแบล่งทางการตลาดได้สูงสุดเหนือคู่แขจ่งขันรายอื่น ๆ  เมื่อเข้าใจในภารกิจของงานในองค์การแล้วก็จะนำไปสู่ขั้นตอนการหาวิสัยทัศน์ (Vision)  ในขั้นตอนที่ 2  ต่อไป

                การทำรีเอ็นจิเนียริ่งที่จะให้ได้ผลสำเร็จผู้บริหารจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกับพนักงานอย่างชัดเจน  เพื่อให้พนักงานทราบสถานการณ์โดยทั่วไปของธุรกิจ  เข้าใจในเป้าหมายและทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขั้น  เพื่อสร้างความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วม  ตลอดจนสร้างความเข้าในเรื่องรีเอ็นจิเนียริ่งอย่างแท้จริง  นอกจากจะต้องสร้างความเข้าใจเพื่อให้พนักงานร่วมมือในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งแล้ว  ผู้บริหารควรทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

1.            เรื่องที่ต้องนำมาดำเนินการ (Case  For  action)          หมายถึง  สถานการณ์ของธุรกิจและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นและธุรกิจยอมรับได้  ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้

1.1                              เรื่องราวต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจในปัจจุบัน  ความเปลี่ยนแปลงตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  ที่สำคัญรวมถึงรู่แข่งขันซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการดำเนินธุรกิจ

1.2                              ปัญหาของธุรกิจที่เผชิญอยู่ (Business problem)  เช่น  ต้นทุนสูงเกินไป  พนังงานลาออกมาก  หรือมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย

1.3                              ภาวะความต้องการของตลาด  (Marketplace demands)  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจต้องทำการเปลี่ยนแปลง

1.4                              การวินิจฉัยปัญหา (Diagnostics)  เป็นการค้นหาสาเหตุ  ข้อบกพร่อง  หรือจุดอ่อนของธุรกิจที่ธุรกิจไม่ดำเนินการแก้ไข

2.                                     รายละเอียดของวิสัยทัศน์  (Vision statement)  หมายถึง  สิ่งที่ธุรกิจต้องการจะเป็น  ( This  is  what  we as a company need to become)  ซึ่งจะต้องเป็นเป้าหมายในด้านต่าง ๆ  ดังนี้

2.1                              ศิลปกรรม  (Artistry)  เป็นจิตนาการซึ่งต้องอาศัยความมีศิลปะเพื่อแสดงสิ่งที่ธุรกิจเชื่อว่าจะต้องทำให้สำเร็จได้โดยไม่สนใจว่าจะมีรูปแบบ  หน้าตา  และทิศทางเป็นอย่างไรมาก่อน

2.2                              ปฏิบัติตามสัญญาณ (Act as a flag)  เป็นสัญลักษณ์ที่บอกจุดมุ่งหมายปลายทางว่าได้ดำเนินการไปถูกทิศทาง  พร้อมทั้งมีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน

2.3                              จัดเตรียมหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานเพื่อใช้วัดผลกระบวนการรีเอ็นจิเนียริ่ง (Provide a yardstick for measuring the process of reengineering)  เพื่อให้รู้ว่าเกิดความสำเร็จอยู่ในระดับใด

เป้าหมายของธุรกิจที่กำหนดขึ้นมาควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.                                     เน้นการปฏิบัติงาน (focus on  operations)

2.                                     มีวัตถุประสงค์แน่นอนที่สามารถวัดได้ (Including measurable objectives and metrics)

3.                                     มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพการแข่งขันในธุรกิจอย่างมหาศาล ( Powerful enough to change basis for competition in the industry )

การหาความต้องการของลูกค้า (Finding customer needs)  และการสร้างวัฒนธรรมด้านความคิดอย่างสอดคล้องกันขององค์การ ( Creating organizational thinking culture accordingly)  ก่อนการทำรีเอ็นจิเนียริ่งองค์การควรหาความต้องการของลูกค้า   และสร้างวัฒนธรรมในด้านความคิดอย่างสอดคล้องกันให้ได้โดยมีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง  สร้างและปลูกฝังวัฒนธรรมด้านความคิดให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแล้วให้การสนับสนุนด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการบริการลูกค้า  นอกจานนั้นยังเป็นการยืนยันว่าองค์การให้การสนับสนุนในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งอย่างเต็มที่  ซึ่งวิธีการหาความต้องการของลูกค้าและสร้างวัฒนธรรมองค์การ  มีดังนี้

                1.            การบริหารจัดการตลาด (Market management)  มีการสร้างศูนย์รวมข้อมูลลูกค้าและผู้สนใจในบริการโดยได้ข้อมูลดังกล่าวจากลูกค้าและแหล่งข้อมูลอื่น ๆ  เพื่อใช้ในการคิดค้นหารูปแบบการให้บริการใหม่ ๆ

2.                                     การบริหารจัดการลูกค้า (Customer Management)  มีการสร้างศูนย์ให้บริการแก่ลูกค้า  โดยให้การสนับสนุนด้านเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย

3.                                     วัฒนธรรมด้านความคิด (Thinking culture)  การสร้างวัฒนธรรมด้านความคิดให้แก่พนักงานได้มาจากการรวบรวมข้อมูลด้านทัศนคติของพนักงาน  โดยใช้ทีมเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมข้ามสายงานหลายระดับ (Multi-level  cross-functional  culture transformation team)  และทีมเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจากภายนอก (Out-side  cultural transformation team)  ทำการสัมภาษณ์พนักงานโดยใช้แบบสำรวจทัศนคติของพนักงานแบบมาตรฐาน (Standard employee attitude survey)  ซึ่งจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก

4.                                     การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human resources management)  มีการสร้างระบบการบริหารและการพัฒนาพนักงานที่ดี  มีความยุติธรรมในการเลื่อนตำแหน่งและการให้รางวัล  ตลอดจนสามารถตรวจสอบได้เพื่อป้องกันการเล่นพรรคพวก  หรืออคติโดยการยึดหลักการเช่น

4.1                                 ระบบการเลื่อนตำแหน่งและการให้รางวัลตอบแทนสำหรับแต่ละบุคคล (Promotion and reward system for individual)  ได้แก่

(1)                               การเลื่อนตำแหน่งบุคคลที่มีความสามารถในการทำงาน หรือผู้มีผลการปฏิบัติงานที่มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

(2)                               การให้รางวัลสำหรับการทำงานดี  หรือให้รางวัลตามผลการปฏิบัติงาน

(3)                               มีระบบรางวัลสำหรับการทำงานดีเด่นแต่ละคน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และมีผลการปฏิบัติงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ

4.2                                 ระบบการให้รางวัลสำหรับทีมงาน (Reward system for teamwork)  มีการจัดตั้งระบบการให้รางวัลแก่ทีมงาน  เพื่อปลูกฝังการทำงานเป็นทีมให้กับพนักงาน



ขั้นที่  2  การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคตและมีความชัดเจน

                วิสัยทัศน์เป็นมุมมองในอนาคตของผู้บ่ริหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรีเอ็นจิเนียริ่ง  เพราะวิสัยทัศน์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของการรีเอ็นจิเนียริ่งว่าควรจะมีรูปแบบอย่างไร  จึงจะทำให้องค์การเกิดประสิทธิภาพสูงสุดตัวอย่างวิสัยทัศน์ขององค์การ  มีดังนี้

1.                                     การปฏิบัติการ (Operations)  ในองค์การ  คือ  การบริหารและการอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลข่าวสารแก่หน่วยงานหรือบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ

2.                                     วัตถุประสงค์ที่สามารถวัดได้ (Measurable objectives)  คือ  ความถูกต้องรวดเร็วและการสร้างความพึงพอใจแก่บุคคลที่มาใช้บริการ

3.                                     ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นในการทำงานลง  และพัฒนาปรับปรุงเวลาในการทำงานให้มีความเหมาะสมโดยคงคุณภาพในการทำงานที่ดีไว้

4.                                     กำหนดให้บริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกันมีระบบการประสานงาน  การแลกเปลี่ยนของข้อมูล  การตัดสินใจและกระบวนการทำงานที่เป็นระบบเดียวกัน

5.                                     ใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการบริหารงานทุกระดับ  และใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศในการสื่อสารกันทั่วโลก

6.                                     การเลือกกลุ่มบริการที่เน้นกลุ่มลูกค้าเป็นสำคัญว่าควรจะเป็นกลุ่มใดทั้งรายย่อยและรายใหม่

7.                                     การตอบคำถามทางโทรศัพท์สามารถให้บริการข้อมูลได้อย่างครบถ้วนทุกเรื่อง ณ จุดเดียว (คือเป็น One stop service center)

8.                                     จัดสำนักงานให้เป็นสำนักงานอัจฉริยะ ( Intelligent Building) และเป็นสำนักงานไร้กระดาษเทคโนโลยี

9.                                     วิธีการทำงานต้องรวดเร็ว ใช้ระยะเวลาน้อย  มีการประสานการทำงานของบุคลากรและธุรกิจให้เข้ากับเทคโนโลยี

10.                              เปลี่ยนแปลงระบบการรายงานทางการเงิน  การเขียนข้อเสนองานและสัญญาตลอดจนการติดต่อกับผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้จัดส่งของ  ผู้ติดตั้งอุปกรณ์  และการเรียกเก็บเงิน

11.                              การบริการไม่ใช่พิจารณาที่ต้นทุนและราคาเท่านั้น  แต่ควรเป็นนวัตกรรมด้านบริการที่มีคุณภาพ (Quality service innovation)  ดังนั้นจึงต้องสร้างมูลค่า (Value creation)  ให้เพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป

12.                              องค์การที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีโครงสร้างการทำงานที่คล่องตัว  เน้นการมีส่วนร่วมในการทำงานของทุกระดับ  เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสแสดงบทบาททางความคิดและความสามารถเต็มที่

13.                              การจูงใจบุคลากรที่มีความสามารถสูง  โดยการให้อัตราเงินเดือนที่สูงมากกว่าการเน้นไปที่สวัสดิการ

14.                              ควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม  โดยให้องค์การสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

15.                              การกำหนดขั้นตอนการทำงานจะเน้นการประชุมปรึกษาหารือมากกว่าการติดต่อสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่ง่จะช้ากว่า

16.                              กำหนดหน้าที่งานสำหรับพนักงานทุกคน (Job description)  ฝึกอบรมพนักงานทุกระดับเพื่อให้เป็นมืออาชีพ  หรือให้มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)

17.                              สรรหาบุคลากรที่มีความสามารถและพยายามพัฒนาความสามารถของบุคลากรให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ รวมทั้งพยายามรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ให้ได้นานที่สุด (ให้เขาอยู่ในองค์การโดยมีความพึงพอใจมากที่สุด)  มีการคิดค้นระบบผลตอบแทนใหม่ ๆ ให้กับพนักงานและผู้บ่ริหารอย่างยุติธรรม  เพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นได้

18.                              การแข่งขันจะต้องมีการปรับปรุงกลยุทธ์และระบบการบริหารภายในให้ดี  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์  และได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน

19.                              การบริการต้องทันสมัยและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม  เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า  ซึ่งการจะให้บริการที่ดีนั้นจะต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย  เช่น  การนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology )  มาใช้ให้เหมาะสม

20.                              เปลี่ยนจากยุคข้อมูลสารสนเทศ (Information age)  เป็นยุคการสื่อสารที่สมบูรณ์ (Communication age)

21.                              เปลี่ยนแนวความคิดที่ว่าเทคโนโลยีคือต้นทุนอย่างหนึ่ง  มายอมรับว่าเทคโนโลยีคือเครื่องมือในการบริหารจัดการ  โดยให้คอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำมาใช้ในการบริหารงาน  และสร้างระบบเครือข่ายสำหรับการบริหารจัดการ (Management network)  และเครือข่ายสำหรับลูกค้า (Customer  network)

22.                              การเลือกผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Vision)  ที่กว้างไกล  และสามารถทำงานร่วมกับบุคคลได้ทุกระดับทุกฝ่าย

23.                              การดำเนินแผนกลยุทธ์จะใช้การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นแนวทางนำไปสุ่ความสำเร็จ



นอกจากแนวทางของวิสัยทัศน์  (Vision)  ที่กำหนดในส่วนขององค์การแล้ว  ผู้บริหารอาจกำหนดวิสัยทัศน์ในส่วนภายนอกที่จะเข้ามาสนับสนุนงานขององค์การให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  ดังนี้

1.                                     ธุรกิจในอนาคตมีแนวโน้มที่จะแข่งขันกันอย่างรุนแรงในการแย่งชิงตลาด  และการแย่งชิงบุคลากรที่มีความสามารถซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ ( Key success)  รวมทั้งการเข้าไปครองตลาดใหม่ ๆ มีมากขึ้น

2.                                     การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้ขาย  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อใจซึ่งกันและกันและสร้างการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในอนาคต

3.                                     พนักงาน  ผู้รับเหมาะ  ผู้ขาย  และลูกค้าจะเป็นผุ้ที่แสวงหาข้อมูลและความรู้อยู่ตลอดเวลาผู้บริหารองค์การจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนกระบวนการ  โดยอยู่เบื้องหลังการบังคับบัญชา

4.                                     ผู้บริหารองค์การจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและสนับสนุนกระบวนการ  โดยอยู่เบื้องหลังการบังคับบัญชา

5.                                     ผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer (CEO)  ต้องยอมลดระดับการควบคุม  แต่ยังคงถือคำสั่งการบังคับบัญชาอยู่

6.                                     วัฒนธรรมขององค์การอาจมีผลกระทบต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงาน  และเป้าหมายขององค์การที่แตกต่างกัน  โดยต้องการวิธีการสื่อสารที่จะทำให้พนักงานเข้าใจ  และนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันให้ได้

7.                                     นำองค์การไปสู่การแข่งขันกับระบบภายนอกเพื่อเข้าสู่ธุรกิจระดับโลก

8.                                     การรักษาภาพพจน์ที่ดีขององค์การไว้  เช่น  มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า  พนักงานในองค์การ  สังคม  และสภาพแวดล้อม

9.                                     การสร้างแผนการกระจายเครือข่ายงานแบบมืออาชีพ  โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรภายในองค์กาให้มากที่สุด

10.                              ธุรกิจจะพยายามเข้าไปดำเนินการในธุรกิจด้านอื่น ๆ  ที่มีความเกี่ยวข้องกัน  และ/หรือในธุรกิจที่องค์การมีศักยภาพสูงเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

11.                              เลือกดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมกับเวลา  และพยายามมองหาโอกาสในธุรกิจใหม่ ๆ

12.                              ฐานะด้านการเงินที่มั่นคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญในการดำเนินธุรกิจ  แต่องค์การจะเติบโตและประสบความสำเร็จได้นั้นจะต้องอาศัยความสามารถทางการบริหาร

ตัวอย่างของวิสัยทัศน์ (Vision)  ที่กล่าวมาข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง  และปรับให้สอดคล้องกับภาวะการณ์ในโลกของการแข่งขันไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลา  สถานที่  บุคคลที่มีอิสระทางความคิด  ซึ่งเป็นมุมมองที่แตกตางกันของแต่ละบุคคล



ขั้นที่  3  การชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ

                การชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการรีเอ็นจิเนียริ่งที่ถูกต้องมีวิธีการดังนี้

1.                                     วิธีการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering method)

1.1ศึกษารูปแบบกระบวนการทำงานให้เข้าใจ  (Understanding process)    โดยการ

มอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้องที่เข้าใจในงานเป็นอย่างดีไปทำการศึกษารูปแบบกระบวนการ  เพื่อนำไปใช้สำหรับทำรีเอ็นจิเนียริ่งซึ่งมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  ได้แก่  ผู้นำ (Leader)         ผู้เป็นเจ้าของกระบวนการ (Process owner)  ทีมงานที่ทำรีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering czar)  โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องนี้จุเข้ามามีบทบาทแตกต่างกันดังนี้

(1)                               ผู้นำ (Leader)  หมายถึง  ผู้บริหารระดับสูง  ซึ่งมีอำนาจสั่งการ

และชักชวนให้มีการจัดทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  ผู้นำ (Leading)  จะทำหน้าที่แต่งตั้งผู้เป็นเจ้าของกระบวนการ (Process owner)  ที่จะเข้ามาทำหน้าที่จัดการประชุมระหว่างทีมงานที่ทำรีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering team)  โดยการช่วยเหลือของผู้มีอำนาจทำรีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering czar)  ทั้งอยู่ภายใต้นโยบายการรีเอ็นจิเนียริ่งของคณะกรรมการผู้ชี้นำ (Steering committee)  โดยบทบาทของผู้นำต่อการรีเอ็นจิเนียริ่ง  มีดังนี้

(1.1)                    เป็นผู้มีอำนาจสั่งการให้มีการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง

(1.2)                    เป็นผู้ที่มีความสามารถมองการณ์ไกลเห็นภาพองค์การในอนาคต  และสามารถชักชวนพร้อมกับให้กำลังใจพนักงานที่ร่วมทำรีเอ็นจิเนียริ่ง

(1.3)                    เป็นผู้ตั้งเป้าหมายพร้อมกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  พร้อมกับแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

(1.4)                    เป็นผู้ให้การสนับสนุนการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  โดยการแสดงจุดประสงค์ออกมาอย่างเด่นชัด  มีการจัดระบบการบริหารที่สามารพวัดผลงานและให้ผลตอบแทนแก่พนักงานเพื่อเป็นแรงจูงใจ มีการจัดเวลาให้ทำรีเอ็นจิเนียริ่งเต็มที่

(1.5)                    เป็นผู้มีความสามารถชักชวนให้พนักงานยอมรับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น



(2)                               ผู้เป็นเจ้าของกระบวนการ (Process owner )  หมายถึง  ผู้จัดการที่

มีความรับผิดชอบในกระบวนการทำงานที่จะให้มีการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานเพื่อให้ทีมทำงานทำหน้าที่ได้ตามวัตถุประสงค์  เป็นผู้ให้กำลังใจ  ติดตาม  ประสานงาน  พร้อมทั้งรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของทีมทำงาน  แล้ววัดผลการทำงานตามรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่อย่างต่อเนื่อง  แม้การทำรีเอ็นจิเนียริ่งแต่ละโครงการจะแล้วเสร็จแต่จะไม่ใช่เป็นผู้กำหนดรูปแบบการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  คุณสมบัติของผู้เป็นเจ้าของกระบวนการควรอยู่ในระดับผู้บริหารที่มีความอาวุโส  มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับกระบวนการทำงานที่ต้องทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  เป็นที่เชื่อถือในองค์การ  และยอมรับการเปลี่ยนแปลง

(3)                               ทีมงานรีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering team)  หมายถึง  ทีมทำงาน

ของพนักงานซึ่งตกลงใจร่วมกันทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  โดยทำหน้าที่คิดค้นและจัดรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่ที่ส่งผลให้การทำงานดีขึ้นคุณสมบัติของทีมงานที่ทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  คือ  ควรมีสมาชิก (ลูกทีม)  จำนวนระหว่าง 5-10 คน  ซึ่งประกอบด้วยบุคคล 2  ฝ่ายคือ

(3.1)                    คนวงใน (Insiders)  ควรเป็นพนักงานที่มาจากหลายฝ่าย  ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานที่จะมีการจัดรูปแบบใหม่  กล่าวคือ  เป็นผู้ที่รู้เรื่องการทำงานในกระบวนการเป็นอย่างดี  หรือเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับงานพอสมควร  แต่ต้องไม่ยึดติดกับกระบวนการทำงานเดิมมากจนเกินไป  นั่นคือมีความรู้หลักเกณฑ์เป็นอย่างดี  และมีความสามารถในการพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์

(3.2)                    คนวงนอก (Outsiders)  เป็นพนักงานนอกสายกระบวนการทำงาน ( Outside the process)  หรือเป็นบุคคลภายนอกบริษัท (Outside the company)  ที่จุให้ความคิดเห็นในแง่ที่แตกต่างกันออกไปโดยมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ  ต้องกล้าแสดงออกทั้งการถาม-ตอบ-คิด เป็นผู้ฟังและประสานความคิดได้ดี

จำนวนสัดส่วนสมาชิกระหว่างคนวงในและคนวงนอก  ควรเป็นคนวงใน

2-3 คน  ต่อคนวงนอก 1  คน  สำหรับวิธีการทำงานของทีมงานจุมีการประชุมร่วมกัน  (Team  meetings)  เพื่อหาข้อเท็จจริงในการทำงานสำหรับระยะเวลาการทำงานควรจัดเวลาในการทำ          รีเอ็นจิเนียริ่งไม่น้อยกว่า 75% ของชั่วโมงทำงานทั้งหมด  และใช้เวลาทำไม่น้อยกว่า 1  ปี  พร้อมทั้งควรติดตามผลการปฏิบัติงานหลังจากที่ได้ทำรีเอ็นจิเนียริ่งแล้ว  ซึ่งสมาชิกของทีมไม่ควรกลับไปทำงานแบบเดิมแต่ควรอยู่ในสายงานใหม่ซึ่งมีการทำรีเอ็นจิเนียริ่งแล้ว  เพื่อให้การรีเอ็นจิเนียริ่งล้มเหลว

(4)                               คณะกรรมการผู้ชี้นำ (Steering committee)   หมายถึง

คณะกรรมการผู้มีหน้าที่ดูแลการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการผู้ชี้นำ  มีดังนี้

(4.1)                    จัดลำดับความสำคัญของโครงการที่มีการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง

(4.2)                    จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อใช้ในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง

(4.3)                    ตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ  ที่ทีมงานประสบอยู่ คุณสมบัติสำคัญของคณะกรรมการผู้ชี้นำคือ  ควรเป็นกลุ่มของผู้บริหารอาวุโส  ซึ่งรวมไปถึงเจ้าของกระบวนการ (Process owner ) และผู้นำ (Leader) ด้วยก็ได้

(5)                               ผู้มีอำนาจทำรีเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering czar)  หมายถึง

ผู้รับผิดชอบด้านเทคนิคในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้   บทบาทหน้าที่ของผู้มีอำนาจทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้

(5.1)                    เป็นหัวหน้าสูงสุด ( Leader’ s chief of staff)  ของทีมทำงานทั้งหมดในองค์การที่มีหน้าที่ทำรีเอ็นจิเนียริ่ง

(5.2)                    เป็นผู้รายงานผลการรีเอ็นจิเนียริ่งโดยตรงต่อผู้นำ (Leader)

(5.3)                    เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเจ้าของกระบวนการ (Process  owner)  และทีมงานริเอ็นจิเนียริ่ง (Reengineering team)

(5.4)                    เป็นผู้ประสานงานกับทีมทำงานต่าง ๆ

(5.5)                    เป็นผู้ให้คำปรึกษารายละเอียดการทำงานและให้      

คำแนะนำ ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

(5.6)                    เป็นผู้ช่วยคัดเลือกสมาชิกทีมทำงานและให้การ

สนับสนุนด้านเครื่องมือเครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกขององค์การ (Organization’s infrastructure)  เช่น  เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มที่

                2.            การจัดรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่  (Reengineering  process)   การจัดรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่   แบ่งวิธีการดำเนินการออกเป็น  3  วิธี  ดังนี้

                                2.1  การใช้วิธีการทำรีเอ็นจิเนียริ่งที่ถูกต้อง   โดยมีรายละเอียดดังนี้

                                                (1)  ตั้งชื่อกระบวนการทำงาน   (Giving  the  process  name)   เพื่อให้รู้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของงานโดยมีชื่อบ่งบอกให้รู้  ประกอบด้วย

(1.1)      กระบวนการผลิต  (Manufacturing)     ใช้บ่งบอกว่าเป็น

กระบวนการจัดซื้อวัตถุดิบไปจนถึงการส่งสินค้าออกจากโรงงาน  (Procurement-to-ship  process)  ซึ่งเป็นชื่อกระบวนการทำงานอย่างหนึ่ง

(1.2)                    กระบวนการอนุมัติสินเชื่อ     ใช้บ่งบอกว่าเป็นกระบวน

การจัดทำคำขอสินเชื่อไปจนถึงการอนุมัติสินเชื่อ

(1.3)                    กระบวนการพัฒนาสินค้า    ใช้บ่งบอกว่าเป็นกระบวน 

การออกแบบไปจนถึงผลิตสินค้าต้นแบบ  (Concept-to-prototype)

(1.4)                    กระบวนการขาย    ใช้บ่งบอกว่าเป็นกระบวนการหา

ลูกค้าไปจนถึงรับใบสั่งซื้อ   (Prospect-to-order  process)    

(1.5)                    กระบวนการจัดส่งสินค้า  ใช้บ่งบอกว่าเป็นกระบวนการ

รับใบสั่งซื้อสินค้าไปจนถึงการรับเงิน  (Order-to-payment   process)

(1.6)                    กระบวนการบริการจะใช้บ่งบอกว่าเป็นกระบวนการ

ตอบคำถามและบริการลูกค้า   (Inquiry-to-resolution process)

                                                (2)  สร้างแผนภูมิกระบวนการทำงานในระดับสูง  (Creating  a  high  level  process  map)    เพื่อให้รู้การไหลของงาน   (Work  flow)   ในองค์การว่า    งานแต่ละอย่างมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไรตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น   ซึ่งจะเป็นเครื่องมือช่วยในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง   โดยในแผนภูมิกระบวนการทำงานจะแสดงขั้นตอนการทำงานย่อย  (Subprocess)   จึงสามารถศึกษาถึงจุดอ่อนของงานแต่ละขั้นตอนได้    สำหรับการทำแผนภูมิกระบวนการทำงานนั้นควรใช้เวลาประมาณ  1   เดือน   เพื่อแสวงหารูปแบบกระบวนการทำงานหลักขององค์การให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจ   และเป็นที่ยอมรับของผู้ปฏิบัติงานทุกคนว่าเป็นกระบวนการทำงานที่สามารถปฏิบัติได้จริง    และควรระบุลูกค้าลงในแผนภูมิกระบวนการทำงานด้วย    ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณากระบวนการทำงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

                                                (3)  เลือกกระบวนการทำงานขึ้นมาใหม่   (Choosing  the  processes  to  reengineering)   เป็นวิธีการคัดเลือกกระบวนการทำงานที่จะทำการจัดรูปแบบใหม่โดยพิจารณาจากความสำคัญ  3  ประการ   ดังนี้

                                                                (3.1)  เป็นกระบวนการที่มีความบกพร่องในหน้าที่งาน  (Dysfunction   broken  process)   โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยอมรับกันภายในว่าเป็นกระบวนการทำงานที่แย่แล้ว   จึงพบอาการพร้อมกับสาเหตุเพื่อจะได้หาวิธีการแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุนั้น

                                                                (3.2)  เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ  (Important   process)  โดยพิจารณาถึงผลกระทบหรือความพึงพอใจที่ลูกค้าจะได้รับจากกระบวนการนั้น    ทั้งในด้านของต้นทุนการผลิต   การส่งสินค้าตรงเวลา    และรูปลักษณ์ของสินค้า   เป็นต้น

                                                                (3.3) เป็นกระบวนการที่อยู่ในสภาพที่เป็นไปได้   (Feasible   process)  พร้อมที่จะมีการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง   โดยพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญ  3   ประการ  คือ  (1) ขนาดของกระบวนการทำงานที่จะทำรีเอ็นจิเนียริ่ง   ถ้าเป็นกระบวนการทำงานที่มีขนาดใหญ่   โอกาสสำเร็จก็จะยากขึ้นเพราะเกี่ยวข้องกับงานหลายฝ่าย   และต้นทุนก็จะสูงตามไปด้วย   (2)  ความสามารถของทีมงานที่จะทำรีเอ็นจิเนียริ่ง   (3)  การให้คำมั่นสัญญา  (Commitment)  ของผู้เป็นเจ้าของกระบวนการ

                                                (4)   ทำความเข้าใจและทำการจัดรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่  (Understanding  and  reengineering  process)   เป็นการทำความเข้าใจในกระบวนการทำงานเพื่อให้ทีมทำงานมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานนั้นอย่างเพียงพอ  และสามารถนำไปใช้ทำรีเอ็นจิเนียริ่งได้อย่างถูกต้อง   โดยมีวิธีการดังนี้

                                                                (4.1)  การทำความเข้าใจในกระบวนการทำงานที่กำลังทำอยู่ในเรื่องลักษณะของงาน   ผลการทำงาน   ตลอดจนปัญหาที่มีอยู่โดยไม่ต้องทำการวิเคราะห์เจาะลึกด้านเอกสารหรือรายละเอียด    ทั้งนี้เพราะการวิเคราะห์อาจไม่ช่วยให้เกิดความเข้าใจที่แท้จริง

                                                                (4.2)  การทำความเข้าใจในความต้องการของลูกค้า   โดยต้องรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการจากแหล่งต่างๆ  แล้วทำความเข้าใจในความต้องการนั้นๆ   ให้ดีที่สุด  โดยแบ่งเป็นความต้องการ   (Want)   และความจำเป็นที่ขาดไม่ได้  (Need)

                                                                (4.3)  การจัดรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่   เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า  ซึ่งอาจใช้แนวทางขององค์การที่ประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่าง

                                                                (4.4)  การทดสอบรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่เพื่อหาจุดบกพร่องก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง   โดยการตั้งทีมทำงานเพื่อทำการทดลอง  (Lab  team)   ในการหาจุดบกพร่องและข้อแก้ไข    เพื่อให้รูปแบบกระบวนการทำงานที่จัดขึ้นใหม่มีความสมบูรณ์มากที่สุด

                                2.2  การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มที่    เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตามลักษณะงานและความรับผิดชอบที่กำหนดขึ้นตามสภาวะการณ์ต่างๆ   อย่างยืดหยุ่นได้    พร้อมๆ   กับการวางแผนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ  เป็นการล่วงหน้า   การมีวิทยาการทันสมัยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการก่อให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ  ขึ้นมา   เช่น   การใช้โทรศัพท์ประชุมทางไกล  (Teleconference)   เป็นวิทยาการที่สามารถทำให้เกิดการประชุมระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่ต่างสถานที่กัน   ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการช่วยประสานงาน   และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ   ซึ่งอยู่ในที่ต่างๆ  ได้เข้าร่วมในการประชุม  จึงกล่าวได้ว่า   วิทยาการก่อให้เกิดคุณค่าและประโยชน์อย่างมากมายต่อการรีเอ็นจิเนียริ่ง   เช่น  ธนาคารต้องการจัดรูปแบบกระบวนการอนุมัติสินเชื่อขึ้นใหม่ก็สามารถใช้ฐานข้อมูลสินเชื่อที่เชื่อมโยงถึงกัน   (Online  credit  database)   ซึ่งทำให้สาขาและฝ่ายต่างๆ  ได้ทราบถึงนโยบายข้อมูลต่างๆ  ตลอดจนแนวโน้มในการปล่อยสินเชื่อ  ฯลฯ   ทำให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องสามารถวางแผนงานต่างๆ  ร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารใดๆ   ซึ่งการติดต่อกันระหว่างสาขาและสำนักงานใหญ่จะผ่านเครือข่ายของการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic  data  interchange  (EDIT) )  ทำให้การทำงานของธนาคารมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหาร  ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้วย

                                2.3         การใช้เทคนิคในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง   มีดังนี้

                                                (1)  บทบาทและความเข้าใจของผู้บริหารระดับสูงต่อต่อการทำรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ   (The  role  and  understanding  of  senior  management  on  reengineering   is   vital)   ก่อนทำรีเอ็นจิเนียริ่งผู้บริหารระดับสูงควรทำการศึกษาแนวทางการรีเอ็นจิเนียริ่งให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน   เพราะการดำเนินการปรับเปลี่ยนอะไรเพียงเล็กๆ  น้อยๆ  แล้วเข้าใจว่าได้รีเอ็นจิเนียริ่งแล้วนั้น   เป็นสิ่งที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลวในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  ซึ่งถือว่ายังไม่ได้เกิดการรีเอ็นจิเนียริ่งเลย   เพราะฉะนั้นผลลัพธ์ที่ผู้บริหารคาดว่าจะได้เพิ่มขึ้นเป็น  200-300  เปอร์เซ็นต์   จึงไม่สามารถเป็นไปได้   สุดท้ายก็เลยหมดศรัทธาต่อการรีเอ็นจิเนียริ่งไป

                                                (2)          อย่าพยายามทำรีเอ็นจิเนียริ่งเมื่อประธานกรรมการบริหารเหลือเวลาอีก  2  ปี  ก่อนเกษียณอายุ  (Do  not  attempt  to  reengineering  when  the  CEO  is  two  years  from   retirement)   ประธานกรรมการบริหารที่ใกล้เกษียณอายุอาจจะไม่ค่อยกระตือรือร้น   หรือสนใจกับการรีเอ็นจิเนียริ่ง   เพราะกลัวว่าเมื่อทำแล้วจะมีผลกระทบต่อโครงสร้างองค์การและระบบการบริหารหลายระบบ   ซึ่งก่อให้เกิดการผูกมัดที่จะไปจำกัดการทำงานของผู้เข้ารับตำแหน่งคนต่อไป   หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในสายการบังคับบัญชาจนก่อให้เกิดความขัดแย้งการแย่งชิงอำนาจการบริหารกัน  นอกจากนี้อาจทำให้ไม่มีเวลาพอที่จะเรียกรู้กระบวนการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในการรีเอ็นจิเนียริ่ง

                                                (3)          อย่าจัดการรีเอ็นจิเนียริ่งไว้ช่วงกลางของระเบียบวาระการประชุมของบริษัท  (Do not bury  reengineering in  the  middle  of  the  corporate  agenda)  การให้ความสำคัญกับการรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นอันดับแรกในการปฏิบัติงานถือว่าเป็นหัวใจสำคัญต่อความสำเร็จของการรีเอ็นจิเนียริ่ง

                                                (4)          อย่าพยายามยึดติดกับกระบวนการเดียวแต่ควรมีการเปลี่ยนแปลง  (Do  not  try  to  fix  a  process  but  change it)   หลักการด้านกระบวนการเป็นพื้นฐานสำคัญของการรีเอ็นจิเนียริ่งที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด  แต่ไม่ใช่ยึดติดอยู่กับกระบวนการเพียงกระบวนการเดียวแล้วนำไปใช้ตลอดไป   เพราะปัจจัยต่างๆ   ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า  (Customer)  การแข่งขัน  (Competition)  และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  จึงต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการไปด้วย   โดยสรรหากระบวนการที่มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไปมาใช้ในองค์การ

                                                (5)          อย่าพยายามทำรีเอ็นจิเนียริ่งให้เกิดขึ้นจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน  (Do  not  try  to  make  reengineering   happen  from  the  bottom  up)   หลักสำคัญอีกประการหนึ่งของการรีเอ็นจิเนียริ่งคือการรีเอ็นจิเนียริ่งจะไม่มีทางเกิดขึ้นและประสบความสำเร็จจากระดับล่างขึ้นมาสู่ระดับบนได้เลย    เพราะระดับล่างยังขาดแนวความคิดกว้างไกล   ขาดอำนาจในการสั่งการการเปลี่ยนแปลง  และจะมีความคิดว่าการออกแบบกระบวนการ  โดยรวมเป็นต้นกำเนิดของปัญหาที่เกิดขึ้นกับพวกเขา   จึงมักต่อต้านหรือพยายามขจัดออกไป

                                                (6)          อย่าแยกความล้มเหลวของการรีเอ็นจิเนียริ่งออกจากโปรแกรมการปรับปรุงธุรกิจ  (Do  not  fail  to  distinguish  reengineering  from  other  business  improvement  programs)   องค์การจำนวนไม่น้อยใช้โปรแกรมการปรับปรุงธุรกิจอื่นๆ  เช่น  การปรับปรุงคุณภาพ   การปรับปรุงแนวทางเชิงกลยุทธ์   การลดขนาดธุรกิจให้เหมาะสม  ฯลฯ   โปรแกรมเหล่านี้มักจะมีระยะเวลาดำเนินการสั้น  และได้นำการรีเอ็นจิเนียริ่งไปเป็นแนวทางในโปรแกรมต่างๆ   เหล่านั้นที่สำคัญ   บางครั้งได้มอบความรับผิดชอบในการรีเอ็นจิเนียริ่งให้กับทีมงานที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ  ซึ่งถือเป็นอันตรายสำหรับการรีเอ็นจิเนียริ่ง

                                                (7)          มอบหมายงานให้บุคคลที่เข้าใจการรีเอ็นจิเนียริ่งอย่างแท้จริงเพื่อเป็นผู้นำในการจัดทำ  (Assign  someone  who  really  understand  reengineering  to  lead  the  effort )   ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจการรีเอ็นจิเนียริ่งและมีวิสัยทัศน์กว้างไกล   สามารถสร้างความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นผู้อาวุโสหรือมีอำนาจเพียงอย่างเดียว

                                                (8)          ต้องใช้ความรู้และความสามารถไม่ใช่อาศัยโชคช่วย   ต้องรู้กฎเกณฑ์และการหลีกเลี่ยงการทำผิดพลาด  (Knowledge  and  ability, not luck : know the rules and avoid  making  mistakes)   การทำรีเอ็นจิเนียริ่งให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่อาจอาศัยโชคช่วย  หรือรอให้เกิดขึ้นเองโดยความบังเอิญ  แต่ต้องอาศัยความรู้   กฎเกณฑ์  และข้อกำหนดในการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น   จึงต้องการทำการศึกษาอย่างจริงจัง และทำความเข้าใจให้ดีก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติ  ตลอดจนดำเนินการตามทฤษฎีของการรีเอ็นจิเนียริ่งอย่างเคร่งครัดก็จะได้ผลสำเร็จดังที่ปรารถนา

                                                (9)          อย่าหวงทรัพยากรที่ไปสนับสนุนการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  (Do  not  skimp   on  the  resources  devoted  to  reengineering)  มีกฎเกณฑ์ยอมรับกันว่า   ถ้าไม่ยอมเสียสิ่งใดก็จะไม่ได้รับผลนั้นมาเช่นกัน   หมายความว่าองค์การจะไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จจากการรีเอ็นจิเนียริ่งได้เลย   ถ้าไม่มีการลงทุนอย่างเพียงพอทั้งในด้านบุคลากรที่มีความสามารถ   ระยะเวลา   และความปรารถนาอย่างแรกกล้าของผู้บริหารระดับสูงที่จะทุ่มความพยายามอย่างสม่ำเสมอในการชี้นำและติดตามดูกิจกรรมต่างๆ  ของกระบวนการรีเอ็นจิเนียริ่งที่ดำเนินการอยู่ในองค์การอย่างแท้จริง

                                                (10)        เพิกเฉยทุกอย่างยกเว้นการออกแบบกระบวนการใหม่  (Ignore  everything  except  process  redesign)   รีเอ็นจิเนียริ่งไม่ใช่เป็นเพียงการออกแบบกระบวนการใหม่เท่านั้น  แต่ยังเกี่ยวข้องกับการทำให้กระบวนการที่ออกแบบใหม่นี้เกิดเป็นรูปธรรมจริงอีกด้วย  ดังนั้นความแตกต่างระหว่างผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำกับผู้ที่ล้มเหลว   จึงไม่ได้อยู่ที่คุณภาพของแนวความคิดของทั้งสองฝ่าย  แต่อยู่ที่ว่าเขาทำอะไรกับแนวความคิดเหล่านี้ได้บ้าง  สำหรับผู้ที่ล้มเหลวนั้นอาจเป็นเพราะไม่ได้นำกระบวนการออกแบบใหม่ไปปฏิบัติอย่างแท้จริง

                                                (11)        ไม่สนใจต่อค่านิยมและความเชื่อของประชาชน   เพื่อสร้างวัฒนธรรมเชิงความคิด  (Neglect  people’s  values and  beliefs  to  create  thinking  culture)  โดยปกติผู้ปฏิบัติงานทุกคนต้องการเหตุผลบางประการเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นภายใต้กระบวนการในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  และนอกจากการออกแบบกระบวนการใหม่แล้ว   ผู้บริหารยังต้องจูงใจผู้ปฏิบัติงานให้เขายืนหยัดต่อสู้กับความยากลำบากที่อาจเกิดขึ้น   โดยการส่งเสริมค่านิยมและสร้างความเชื่อใหม่ๆ  ที่จำเป็นในการสร้างกระบวนการ  กล่าวคือ   ผู้บริหารต้องให้ความสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในความรู้สึกของผู้ปฏิบัติงาน   เพราะการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนทัศนคติในการยอมรับด้วย   การให้รางวัลตอบแทนพฤติกรรมที่ดีจึงควรถูกนำมาใช้

                                                (12)        อย่ายอมให้วัฒนธรรมองค์การและทัศนคติด้านการบริหารจัดการมาขัดขวางการเริ่มต้นทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  (Do  not  allow  existing  corporate  culture  and  management  attitudes  to  prevent  reengineering  from   getting  started)   วัฒนธรรมที่ยาวนานขององค์การเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งตั้งแต่เริ่มต้น  เช่น   องค์การใดมุ่งผลลัพธ์ในระยะสั้นอาจพบว่า   การขยายวิสัยทัศน์ของบุคลากรให้กว้างไกลขึ้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก   บุคลากรอาจมีความโน้มเอียงในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง   อาจรู้สึกไม่สบายใจต่อการปรับเปลี่ยนแนวทางที่ปฎิบัติกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน   ดังนั้นผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบต่อการเอาชนะอุปสรรคดังกล่าวนี้ให้ได้

                                                (13)        อย่ามุ่งไปสู่กระบวนการทางธุรกิจที่เป็นนามธรรม  (Do  not  focus   on  abstract  business  process)   การดำเนินการตามกระบวนการทางธุรกิจที่เป็นนามธรรมที่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้นั้นถือเป็นความสูญเปล่า     เพราะผู้ปฏิบัติงานจะไม่สามารถกำหนดแนวทางการปฏิบัติออกมาเป็นรูปธรรม  หรือเป้าหมายที่ชัดเจน  ทำให้สูญเสียทรัพยากรต่างๆ  โดยไร้ประโยชน์

                                                (14)        อย่าวางข้อจำกัดก่อนการกำหนดปัญหา   และจำกัดขอบเขตความพยายามในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  (Do  not  place  prior  constraints  on  the  definition  of  the  problem   and  the  scope  of  the   reengineering  effort)   ความพยายามในการรีเอ็นจิเนียริ่งจะล้มเหลวอย่างแน่นอน   ถ้าเริ่มต้นจากการกำหนดแนวทางหรือปัญหาที่จะแก้ไขอย่างแคบๆ  การรีเอ็นจิเนียริ่งที่ถูกต้องจะลดข้อจำกัดทั้งหลายออกให้หมด  เพื่อให้สามารถศึกษาสิ่งที่องค์การควรทำตามความต้องการของลูกค้าทุกแง่ทุกมุมได้อย่างแท้จริง   และยังยืนยันได้ว่าการรีเอ็นจิเนียริ่งที่เป็นไปอย่างเรียบร้อย   นิ่มนวลไม่มีผลกระทบต่อใครเลยถือว่ายังไม่มีการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง

                                                (15)        ความเต็มใจต่อผลงานที่สำเร็จแต่ผลลัพธ์ให้เป็นรองลงมา  (Be  willing  to  settle  for   minor  results)   การต้องการผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่จำเป็นต้องใช้ความทะเยอทะยานมาก  และมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น  อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความไม่พอใจและความยากลำบากจากการรีเอ็นจิเนียริ่ง   จนบางครั้งผู้บริหารพึงพอใจเพียงการปรับปรุงเล็กๆน้อยๆ  มากกว่า   แต่ถ้ามองการณ์ไกลแล้วในสภาพการแข่งขันที่สูง  อาจจะเป็นความสูญเสียด้วยซ้ำ  เพราะการเลือกการปรับปรุงทีละเล็กทีละน้อยจะไปเสริมแรงให้เกิดวัฒนธรรมการปรับเพียงเล็กน้อยจนขาดความกล้าที่จะทำอะไรอย่างถอนรากถอนโคน

                                                (16)        อย่ามุ่งกระบวนการออกแบบเพียงอย่างเดียวแต่ต้องลงมือปฏิบัติได้ด้วย  (Do  not  concentrate  exclusively  on  design , but  implement)   การรีเอ็นจิเนียริ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายหลายลักษณะ   ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบ้าน   โครงสร้างองค์การ   ระบบการบริหาร   ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ  จะต้องได้รับการออกแบบใหม่เพื่อคงไว้ซึ่งระบบดำเนินงานที่ประสานงานกันได้อย่างดีและสนับสนุนซึ่งกันและกันด้วย

                                                (17)        อย่าใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยกับโครงการรีเอ็นจิเนียริ่งขนาดใหญ่หลายโครงการ  (Do  not  disspate  energy  across  a  great  many  reengineering  projects)  ความสำเร็จของการรีเอ็นจิเนียริ่งอยู่ที่การเน้นจุดสำคัญเฉพาะเจาะจงและการสร้างวินัยอันยอดเยี่ยม   หมายความว่า    องค์การจะต้องเน้นความพยายามในการทำกระบวนการในจำนวนที่ไม่มากนักในเวลาใดเวลาหนึ่ง   เพื่อให้เกิดผลอย่างจริงจัง   เพราะการดำเนินการหลายโครงการพร้อมกันอาจทำให้เกิดความสับสนและงานไม่ต่อเนื่องกัน   เนื่องจากผู้บริหารต้องคอยดูแลโครงการต่างๆ  มากมาย   แต่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสมรรถนะในการบริหาร  ทำให้ผลลัพธ์รวมที่ออกมามีประสิทธิภาพน้อยกว่าการมุ่งที่ประเด็นไปในโครงการจำนวนน้อยลง

                                                (18)        พยายามทำรีเอ็นจิเนียริ่งให้เกิดขึ้นโดยปราศจากการทำให้ใครก็ได้ไม่มีความสุข  (Try  to  make  reengineering  happen  without  making  anybody  unhappy)  การรีเอ็นจิเนียริ่งไม่สามารถก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ทุกคนได้   เพราะอาจทำให้บางคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ในการปฏิบัติงานในปัจจุบันต้องถูกเปลี่ยนสภาพไป   บางคนสูญเสียงานในหน้าที่  สูญเสียผลประโยชน์   และอาจรู้สึกไม่มีความสุขกับตำแหน่งงานใหม่หลังจากการทำรีเอ็นจิเนียริ่งแล้ว  การพยายามให้ทุกคนพึงพอใจและมีความสุขจากการรีเอ็นจิเนียริ่งจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก

                                                (19)        หยุดทำแต่แรกหรือเกิดความกลัว   (Quit  too  early  or  lose  their  nerve)   การทำรีเอ็นจิเนียริ่งอาจทำให้ทุกคนในองค์การมีความเครียดมาก  และการยืดเวลาในการดำเนินการออกไปยิ่งทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ยาวนานออกไป   ซึ่งในระยะเวลา  1  ปีนั้นยาวนานพอที่จะทำให้การรีเอ็นจิเนียริ่งเห็นรูปร่างของความสำเร็จขึ้นมาได้สำหรับกระบวนการหนึ่งๆ   เพราะถ้าใช้เวลานานกว่านี้อาจทำให้พนักงานหมดความอดทนและเกิดความสับสนได้

                                                (20)        อย่าถอยกลับเมื่อคนต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจากการรีเอ็นจิเนียริ่ง   (Do  not  pull  back  when  people  resist  making  reengineering’s  changes)   การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยปกติของบุคคลที่กลัวว่า    ผลของการเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้ตนเสียประโยชน์   จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องยอมรับและหาวิธีการแก้ไขโดยการคาดคะเนถึงสิ่งนี้ไว้ก่อน  และไม่ยอมให้การต่อต้านนี้มาทำให้ความพยายามในการดำเนินการรีเอ็นจิเนียริ่งหยุดลง   ซึ่งการใช้พนักงานทุกคนเข้ามามีส่วนรวมในการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่นี้   จะช่วยลดการต่อต้านให้น้อยลงจนสามารถดำเนินการรีเอ็นจิเนียริ่งได้

                                                (21)        อย่าท้อถอยหมดความพยายาม  ((Do  not  drag  the  effort  out)   การรอผลสำเร็จของการรีเอ็นจิเนียริ่งอาจต้องใช้เวลาบ้าง  และอาจเกิดอุปสรรคขึ้นมากมายจนผู้บริหารท้อถอยคิดจะเลิกทำรีเอ็นจิเนียริ่งหรือลดเป้าหมายในการทำลงมาเป็นเพียงการปรับปรุงเล็กๆน้อยๆ  ตามที่เคยปฏิบัติมาก่อน   จึงต้องสร้างความเชื่อมั่นว่าการรีเอ็นจิเนียริ่งจะสามารก่อให้เกิดผลตอบแทนอันมหาศาลในอนาคตอย่างแน่นอน   ซึ่งจะเป็นกำลังใจให้ต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคต่อไปได้

ขั้นที่  4   การออกแบบกระบวนการใหม่

     การรีเอ็นจิเนียริ่งให้สำเร็จจะต้องเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานแบบเดิมแล้วหันมายอมรับ  และทำความเข้าใจกับแนวทางใหม่ๆ  ดังต่อไปนี้

1.             การรวมงานหลายงานเป็นงานเดียว  (Several  jobs  are  combined  into  one)

เช่น  การลดปริมาณเอกสารที่เกี่ยวข้องกันระหว่างฝ่ายบัญชีกับฝ่ายต่างๆ  ซึ่งเท่ากับเป็นการลดข้อผิดพลาดของงานที่อาจเกิดขึ้นหรือการจัดตั้งแผนกประชาสัมพันธ์ขึ้นมา   เพื่อทำหน้าที่รวบรวมงานเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารทั้งหมดขององค์การแทนการชี้แจงข่าวสารของแต่ละฝ่าย  ซึ่งต้องใช้บุคคลากรมากและข้อมูลกระจายกันอยู่จึงอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการแจ้งข่าวสาร   จึงช่วยลดหรือขจัดปัญหาความล่าช้าในการทำงาน   โดยการรวมงานหลายๆ  งานเข้าเป็นงานเดียวจะการแจ้งข่าวสาร  จึงช่วยลดหรือขจัดปัญหาความล่าช้าในการทำงาน   โดยการรวบรวมงานหลายๆ งานเข้าเป็นงานเดียวจะช่วยให้สามารถแก้ไขงานให้เรียบร้อยขึ้น   ซึ่งมีผลทำให้การทำงานของฝ่ายต่างๆ  เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายประเภทต่างๆ  ได้ด้วย  เช่น  ด้านเงินเดือน  ทั้งนี้เพราะจำนวนพนักงานและระยะเวลาที่ใช้ในการทำงานต่อชิ้นจะลดลงอย่างมาก  ทำให้องค์การไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรด้านบุคคลมากจนเกินไปจึงมีจำนวนบุคคลากรที่พอเหมาะแต่มีศักยภาพในการทำงานที่สูงขึ้น

2.             พนักงานเป็นผู้ตัดสินใจ  และการตัดสินใจกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของงาน

(Workers  make  decisions   and  decision  making  becomes  part  of  the  work )  เป็นการเพิ่มหน้าที่ในการทำงานของพนักงานจากการทำงานตามหน้าที่แล้วเพิ่มอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ทำควบคู่กันไป   แทนที่จะต้องให้หัวหน้าเป็นผู้ตัดสินใจ  ซึ่งเป็นการยกเลิกข้อสันนิษฐานดั้งเดิมเกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานที่มักเชื่อว่า   พนักงานไม่มีเวลาที่จะควบคุมตนเองในการทำงาน  และไม่มีความรู้เพียงพอที่จะสามารถตัดสินใจในงานที่ทำได้จึงต้องมีหัวหน้างานเป็นผู้ควบคุมงานและทำหน้าที่ตัดสินใจ   แต่การเปิดโอกาสให้พนักงานตัดสินใจแทนจะทำให้เกิดผลดีคือ  งานจะไม่ล่าช้า    ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือน   และมีการสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น  เช่น  พนักงานเคาร์เตอร์ของธนาคารสามารถตัดสินใจอนุมัติการฝาก-ถอนในบัญชีของลูกค้าได้เลย   โดยไม่ต้องใหผู้จัดการเป็นผู้พิจารณาและเซ็นอนุมัติ  ซึ่งเมื่อพนักงานตัดสินใจอนุมัติการฝาก-ถอนไปแล้ว   เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาก็ต้องรับผิดชอบการตัดสินใจของตนด้วย

3.             ขั้นตอนในกระบวนการทำงานถูกปฏิบัติด้วยคำสั่งตามปกติ  ซึ่งงานก็จะถูก

จัดลำดับตามความต้องการของสิ่งนั้น  (The  steps  in  the  process  are  performed   in  a natural  order ;  work  ins  sequenced   in  term  of  what  needs  to  follow  what)   เป็นการจัดลำดับการทำงานตามความจำเป็นที่แท้จริงแทนที่จะเป็นการจัดลำดับการทำงานตามความนึกคิด   ซึ่งทำให้การทำงานช้าลงเพราะต้องรอคอยงานซึ่งกันและกัน   โดยไม่เกิดประโยชน์ต่อบุคคลใด  ดังนั้นจึงควรแก้ไขลำดับขั้นตอนของการทำงาน   โดยตัดตอนลำดับขั้นตอนของงานที่ทำอยู่เดิม  (Delinearizing  process)  ดังนี้

                        งานหลายอย่างสามารถทำพร้อมกันไปได้ในขณะเดียวกัน  จะทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น

                        ลดช่วงระยะเวลาการทำงานของงานที่อยู่ในลำดับขั้นตอนต้น  ขั้นตอนท้ายของกระบวนการให้น้อยลง  ซึ่งเป็นผลให้โอกาสที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงน้อยลง   และทำให้ไม่ต้องมีการแก้ไขงานซ้ำซาก

                                4.  มีรูปแบบที่ยืดหยุ่นของกระบวนการได้หลายรูปแบบไม่ใช่มีขนาดเดียวเหมาะกับทุกกระบวนการ  (Flexible  multi-versions  of  process ; not one size  fits  all  process)  เป็นการละทิ้งแนวความคิดเกี่ยวกับการผลิตจำนวนมากสำหรับตลาดมวลชน  (Mass  production  for  a  mass  marketing)  ซึ่งเป็นวิธีการทำงานแบบเดียว   แต่ใช้ผลิตสินค้าจำนวนมากและใช้กับงานทุกประเภท  (One size  fit  all  process)   จึงมีควรมีลักษณะที่ซับซ้อน  (Complex)  โดยรวมลักษณะงานทั้งที่เป็นขั้นตอนปกติ  (Normal   procedure)  ขั้นตอนพิเศษ  (Special  procedure)  และขั้นตอนยกเว้น  (Exceptions   procedure)  เข้าไปอยู่ในกระบวนการเดียว   เพื่อรองรับกับทุกสถานการณ์มาเป็นรูปแบบกระบวนการทำงานที่มีรูปแบบความยากง่าย   (Multi-vision)  แตกต่างออกไปตามสถานการณ์  และปรับสภาพได้ตามลักษณะของสภาวะตลาด   สภาพแวดล้อม   หรือปัจจัยนำเข้า   เพื่อให้สอดคล้องและประหยัดเวลาในการทำงาน  และมีสภาพรองรับกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

5.             งานถูกทำเมื่อเหมาะสมกับเหตุผล : งานถูกโยกย้ายข้ามเขตแดนของการ

จัดการองค์การเพื่อปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด  (Work  is  performed  when  it  makes the  most  sense ; work is shifted across  organizational  boundaries  to  improve  overall  process)   แต่เดิมงานอาจถูกแบ่งตามขั้นตอนให้แก่ผู้เชี่ยวชาญตามความถนัดเป็นฝ่ายงานต่างๆ  แต่เมื่อมีการทำรีเอ็นจิเนียริ่งแล้วอาจมีผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงงานในฝ่ายต่างๆ  ทั้งนี้เพราะได้มีการรวมงานเดิมที่กระจัดกระจายตามฝ่ายต่างๆเข้าด้วยกัน  เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

6.             การตรวจสอบและการควบคุมจะลดลงเมื่อมีการกระทำที่เหมาะสม  (Checks

and  control  are  reduced  and  done  when  make  economic  sense)   เดิมการปฏิบัติงานจะมีการแบ่งงานออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ  และมีการควบคุม  ตรวจสอบงานแต่ละขั้นตอนตลอดเวลา   แต่เมื่อมีการทำรีเอ็นจิเนียริ่งแล้วกระบวนการทำงานใดที่ไม่มีคุณค่าเพิ่ม  (Non  value  adding  work)   ก็ไม่จำเป็นต้องควบคุม  โดยจะมีการควบคุมก็ต่อเมื่องานนั้นมีคุณค่า  โดยจะเป็นการควบคุมแบบรวมหรือแบบพิเศษ  ซึ่งเป็นระบบควบคุมที่ยอมรับความเสี่ยงในระดับหนึ่ง  ซึ่งถือเป็นการลดต้นทุนของการควบคุมได้ในตัว

7.             การประนีประนอมถูกทำให้น้อยที่สุด  (Reconcilliation  is  minimized)  มี

การลดจุดติดต่อภายนอก  (External  contact  points)   ซึ่งช่วยลดปัญหาความขัดแย้งข้อมูล   เพราะการประนีประนอมระหว่างจุดติดต่อภายนอกหลายจุดต้องกระทำมากขึ้น  เนื่องจากข้อมูลอาจแตกต่างกันมากจนยากที่จะหาข้อสรุปได้อย่างรวดเร็ว  ทำให้การตัดสินใจเกิดความล่าช้า   ขณะเดียวกันการประนีประนอมที่เกิดขึ้นมากเกินไป  ทำให้ข้อมูลเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง   เมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการตัดสินใจจึงอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้

8.             ผู้บริหารที่เป็นคู่กรณีต้องเตรียมประเด็นหลักของการติดต่อกับลูกค้า   และถือ

ความรับผิดชอบต่อกระบวนการทั้งหมดเพื่อการตอบคำถามของลูกค้า  การแก้ปัญหาให้ลูกค้า  (A case  manager  provides a single  point  of  contact   ;  and  is need  responsible  for the entire  process  : to answer  customer  question  solve  problem)   โดยปกติแล้วผู้บริหารจะต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างลูกค้ากับกระบวนการทำงานภายในองค์กร  เสมือนหนึ่งว่าผู้บริหารคนนั้นเป็นผู้รับผิดชอบในกระบวนการทำงานทั้งหมด   และจะต้องทำหน้าที่ดังกล่าวโดยช่วยตอบคำถามและแก้ไขปัญหาต่างๆของลูกค้า

9.             มีรูปแบบผสมระหว่างการปฏิบัติการแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจเป็นที่

ยอมรับโดยทั่วไป   (Hybrid  centralized/decentralized  operations  are  prevalent)   การรีเอ็นจิเนียริ่งจะเน้นทั้งการใช้วิธีการการกระจายอำนาจและการรวมอำนาจในขณะเดียวกัน  ทั้งนี้เพราะวิทยาการเทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)   สามารถช่วยให้ใช้ทั้ง  2  วิธีได้ในขณะเดียวกัน   โดยมีศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นแหล่งข้อมูลร่วม  ซึ่งทุกฝ่ายสามารถนำข้อมูลจากศูนย์กลางข้อมูลนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว  และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

10.      การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)   ในการทำ          

รีเอ็นจิเนียริ่งนั้นการใช้วิทยาการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเดียวไม่อาจทำให้การรีเอ็นจิเนียริ่งสำเร็จลงได้  แต่การทำรีเอ็นจิเนียริ่งก็จะไม่ประสบความสำเร็จถ้าหากไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย   ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนี้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด   โดยไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง  และประสิทธิภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจำเป็นต้องมีระบบความคิดเชิงอุปมาน  (Inductive  thinking)  ซึ่งเป็นการคิดหาหลักการสำคัญๆ  จากข้อเท็จจริงย่อยๆ  อย่างมีเหตุมีผล   เพื่อให้เห็นภาพรวมและรูปแบบของกระบวนการทำงานแบบใหม่ตลอดจนสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด   ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความคิดเชิงสร้างสรรค์  โดยปราศจากขอบเขตที่ถูกจำกัด

การออกแบบกระบวนการใหม่  จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆ  ดังนี้

1)            หน่วยงานเปลี่ยนจากฝ่ายตามหน้าที่มาเป็นทีมงาน

2)            งานถูกเปลี่ยนจากงานไม่ซับซ้อนมาเป็นงานที่มีหลายมิติ

3)            การเปลี่ยนบทบาทของบุคคลจากการถูกควบคุมมาเป็นการมอบอำนาจ

4)            เปลี่ยนวิธีการเรียนรู้งานจากการฝึกอบรมมาเป็นการศึกษา

5)            เน้นการวัดผลการปฏิบัติงาน

6)            เปลี่ยนหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความก้าวหน้าในอาชีพการงาน  จากผลการปฏิบัติงานมาเป็นการพิจารณาจากความสามารถ

7)            เปลี่ยนค่านิยมจากการป้องกันมาเป็นการเพิ่มผลผลิต

8)            เปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้บริหารจากผู้ควบคุมดูแลมาเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา

9)            การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การจากลำดับสายการบังคับบัญชามากมาเป็นแบบแนวราบให้มากขึ้น

10)     เปลี่ยนแปลงนักบริหารจากผู้ตัดสินให้คะแนนมาเป็นผู้นำ

ขั้นที่  5  การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง

                การนำรีเอ็นจิเนียริ่งปฏิบัติให้ได้ผลดีนั้น    จะต้องมีการสร้างความร่วมมือของทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ   โดยมีวิธีการดำเนินงานตามรูปแบบกระบวนการทำงานใหม่  ดังนี้

1)            การให้ความรู้ในวิธีการทำงานแก่พนักงาน   ตามรูปแบบกระบวนการทำงานแบบใหม่

2)            การฝึกงานในขณะปฏิบัติงาน   เพื่อให้เกิดความชำนาญ

3)            การประเมินผลการปฏิบัติงาน  ตามรูปแบบการรีเอ็นจิเนียริ่ง

4)            การจัดรูปแบบกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

5)            การอบรมให้ความรู้ต่างๆ  ที่ทันสมัย

6)            การฝึกให้คิดเชิงอุปมาน  (อย่างมีเหตุมีผล)

7)            จัดรูปแบบกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ  หลังจากได้มีการประเมินผลแล้ว

                                                            

ทำไมการรื้อปรับระบบจึงเป็นสิ่งที่ปฏิวัติองค์การแบบถอนรากถอนโคน

                เพราะรีเอ็นจิเนียริ่งไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงอะไรเพียงเล็กๆน้อยๆ

                ไม่ใช่สูตรสำเร็จรูปที่ผู้บริหารจะนำเข้าไปประยุกต์ใช้กับองค์การ

คิดค้นหากระบวนการดำเนินกิจการขึ้นมาใหม่เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่อย่างเห็นได้ชัด   เพื่อฉกฉวยข้อได้เปรียบจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี 

เน้นเรื่องกระบวนการ  (Process  orientation)  ความปรารถนาที่แรงกล้า (Ambition)  การไม่ยึดติดกับกฎข้อบังคับเดิม (Rule  breaking)  และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  (Information  Technology)



ใคร  คือ  ศัตรูหลักภายในองค์การ

                คนที่กลัวการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด   คนที่ต้องการรักษารูปแบบเดิม   ในองค์การมีศัตรู  2   กลุ่ม   ศัตรูกลุ่มแรก  คือ   ทีมบริหารระดับสูง     ศัตรูกลุ่มหลังภายในองค์การที่ต้องกำจัดออกไปคือทีมบริหารในระดับกลาง    ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงต้องมีภาวะผู้นำที่เข้มแข็งจะทำให้ผู้บริหารระดับกลางก็จะเข้มแข็งตามไปด้วย



อะไรที่เกี่ยวกับข้าศึกภายนอกองค์การ

                รูปแบบหลากหลายของการพัฒนาชั่วคราวในสภาพแวดล้อมธุรกิจ

                การออกแบบกระบวนการจากภายนอก  นำกระดาษเปล่า  1  แผ่น  ใช้สำหรับเขียนขั้นตอนการทำงานแบบใหม่  ก่อนเริ่มปรับปรุงควรตั้งคำถามในลักษณะที่ว่าลูกค้าต้องการอะไร   ออกแบบจากมุมมองของลูกค้าก่อนแล้วพิจารณาว่าองค์การควรมีวิธีการดำเนินงานอย่างไร  เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า

คนจำนวนมากพากันถกเถียงว่า   แนวคิดเรื่องการรื้อปรับระบบเป็นสิ่งที่พูดกันมากมายเหลือเกิน   แต่น้อยรายจะนำไปใช้งานได้จริง

                มองเฉพาะอุตสาหกรรมในอเมริกาจะพบว่า   มีบริษัทจำนวนหลายร้อยแห่งนำเอาแนวคิดรื้อปรับระบบไปใช้จนประสบความสำเร็จเพราะผู้บริหารต้องตั้งใจบริหารจัดการจริงจนโครงการการรื้อปรับระบบประสบความสำเร็จในที่สุด   การปฏิวัติการรื้อปรับระบบที่มีประสิทธิผลก็จะส่งผลในด้านที่ดีมากๆ



การรื้อปรับระบบส่งผลให้บริษัทประสบความสำเร็จในด้านไหนมาก  ?

                การรื้อปรับระบบช่วยสร้างแนวทางที่แตกต่างในหลายอุตสาหกรรม

ความสามารถในการแข่งขันและถ้าเป็นไปได้ก็จะทำให้สามารถครอบครองตลาดได้ด้วย

ทำให้การปฏิบัติการมีประสิทธิภาพ

                ลดต้นทุน

                ปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้น

                เพิ่มรายได้

                ปรับเข้าหาลูกค้ามากขึ้น

                รวมการปฏิบัติการที่ได้มา

เพื่อประสบความสำเร็จในการแข่งขันและอาจจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน

                เพื่อตอบสนองตอบต่อกฎเกณฑ์หรือคำสั่งของผู้บริหารบางรูปแบบ

              

แต่ดูเหมือนว่า   เฉพาะองค์การใหญ่ๆ   เท่านั้น   ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องการรื้อปรับระบบ  ?

                ใช่  ผู้บุกเบิกของการรื้อปรับระบบ  คือ   องค์การขนาดยักษ์จริงๆ  เนื่องจากต้องมีความพร้อมในหลายๆด้าน  ไม่ว่าจะทางด้านการเงิน  บุคคลากรทีมงาน  การเมืองภายในบริษัทและการ อาศัยการริเริ่มและการบังคับบัญชาโดยผู้บริหารระดับสูง



นักวิจารณ์ได้ถกเถียงกันว่า   การเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนส่วนมากเหมาะสมเฉพาะธุรกิจที่มีปัญหาเรื่องการเงิน    เห็นด้วยหรือไม่  ?

                นั่นเป็นความคิดเมื่อ   5   ปีก่อน   อาจจะร้อยละ  80   ของธุรกิจที่การรื้อปรับระบบเอาไปใช้ได้เผชิญปัญหาทางการเงินอย่างหนัก   แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันน่าจะเหลือแค่ร้อยละ  20  ล่าสุด   เห็นได้ชัดว่าร้อยละ  70   ที่ใช้การรื้อปรับระบบเตรียมพร้อมรับอนาคตที่แตกต่างในขณะที่อีกร้อยละ  10  ใช้รักษาผลประโยชน์เกิดจากการแข่งขัน


ปัจจุบัน  ขอบเขตการรื้อปรับระบบ   กระบวนการจัดการ   หรือการจัดการภาคปฏิบัติที่สำคัญกว่า  ?

                สำคัญด้วยกันทั้งคู่   จำเป็นอย่างยิ่งในการรื้อปรับระบบของกระบวนการการทำงาน  ปัจจุบันมีความพยายามยิ่งยวดในเรื่องกระบวนการการจัดการมากกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา   เป็นเรื่องสำคัญเพราะแสดงให้เห็นว่าธุรกิจต่างๆ   เข้าใจว่าจะต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างแนวคิดการจัดการในรูปแบบอื่นๆ



การรื้อปรับระบบสามารถที่จะใช้ทำงานให้เร็วขึ้นใช่หรือไม่ ?

                สิ่งแรกคือการรื้อปรับระบบของกระบวนการขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง   การรื้อปรับระบบขององค์การทั้งหมดขึ้นอยู่กับจำนวนของกระบวนการที่ตั้งใจจะเปลี่ยนแปลง    ในเวลาเดียวกันยิ่งเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การในหลาย ๆ รูปแบบ   ก็ยิ่งทำให้เกิดงานที่ซับซ้อน 



แต่ในหนังสือที่แต่ง   Reengineering   Revolution  (1995, Harvard  Business  School  Press)   มองว่า  ความพยายามการรื้อปรับระบบเป็นพันธกิจ  5   ปี

                ใช่   แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นๆ   กระบวนการรื้อปรับระบบจำเป็นต้องนำเสนอผลที่รวดเร็ว   ยุคนี้ผู้บริหารเคยชินกับแรงกดดันที่ได้รับจากผลกระทบรวดเร็วในเวลาอันสั้น   และต่างใช้ความพยายามในการปรับองค์การของพวกเขาให้แข่งขันได้ในระยะยาว   จึงต้องกำหนดวิสัยทัศน์ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคตและมีความชัดเจน



หัวข้อเรื่องการรื้อปรับระบบ   เกี่ยวข้องกับการจัดการร่วมสมัยหรือไม่  ?

                ยังมีความสำคัญเกี่ยวข้องและจำเป็นมากๆ  สำหรับภาคธุรกิจแท้จริง   ต้องเตรียมพร้อมและเต็มใจที่จะทำการรื้อปรับระบบด้วยตนเอง   เมื่อมีการรีเอ็นจิเนียริ่งจะมีการเปลี่ยนวิธีการทำงานของพนักงาน   ซึ่งมีตัวแปรสำคัญที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่  วัฒนธรรมขององค์การ   ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย  ประเด็นหลักจึงไม่ได้อยู่ที่วิธีการแบบเก่าหรือวิธีการแบบใหม่  แต่อยู่ที่ช่วงเวลาการถ่ายโอนวิธีการทำงานกับแบบใหม่นั้น



กล่าวโดยสรุปก็คือการรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานแบบเก่า  (ทำการปฏิวัติ)  ให้เป็นแบบใหม่  โดยอาศัยกำลังภายในองค์การหรือหน่วยงานเดิมที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ   ทั้งนี้การสร้างวิธีดำเนินงานขึ้นมาใหม่จะต้องอาศัยความสามารถในการหยั่งรู้  ตลอดจนวิจารณญาณที่ลึกซึ้งของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง  การทำรีเอ็นจิเนียริ่งมี  5  ขั้น

                ขั้นที่ 1                   กำหนดสิ่งที่องค์การจำเป็นต้องทำ

                ขั้นที่ 2                   สร้างสิ่งที่เป็นแบบจำลองของการบริหารงาน  ซึ่งก็คือ  การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision)  ที่ค่อนข้างจะเป็นไปได้ในอนาคตและมีความชัดเจน

                ขั้นที่ 3                   ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการหลักของการบริหารองค์การ   ไม่ควรสร้างผังงานของกระบวนการปัจจุบัน  เพียงแต่มองและพิจารณาเท่านั้น

                ขั้นที่ 4                   ออกแบบกระบวนการใหม่

                ขั้นที่ 5                   การนำกระบวนการใหม่ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง



พื้นฐานของการรีเอ็นจิเนียริ่งที่ประสบผลสำเร็จ

                พบว่าต้องมีสมรรถนะ  7  ประการเป็นส่วนหนึ่งของการรีเอ็นจิเนียริ่งด้วย  จึงจะทำให้ประสบผลสำเร็จ  ซึ่งได้แก่

1.             ความสามารถในการทำรีเอ็นจิเนียริ่งให้สอดคล้องกับวิธีการที่ลึกซึ้งและเป็นระบบ

2.             ความร่วมมือในการบริหารการเปลี่ยนแปลงสำหรับหน้าที่งานธุรกิจที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด

3.             ความสามารถในการประเมิน  วางแผน  และนำการเปลี่ยนแปลงไปปฏิบัติในลักษณะต่อเนื่อง

4.             ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบทั้งหมดจากการเปลี่ยนแปลงที่เสนอขึ้นมา

5.             ความสามารถในการวางรูปแบบและจำลองการเปลี่ยนแปลงที่เสนอขึ้นมา

6.             ความสามารถในการใช้รูปแบบเหล่านี้ในลักษณะต่อเนื่อง

7.             ความสามารถในการรวมตัวแปรทางการบริหารทั้งหมดของบริษัทเข้าด้วยกัน

http://work.igetweb.com/?mo=3&art=391230