วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560

Viral Marketing (การตลาดแบบปากต่อปาก) คืออะไร


Viral Marketing (การตลาดแบบปากต่อปาก)  คืออะไร
การตลาดแบบปากต่อปาก หรือ การตลาดแบบบอกต่อ (อังกฤษ: viral marketing) คือเทคนิคทางการตลาดที่ใช้ในยุคก่อนที่จะ

มีบริการเครือข่ายสังคมเพื่อเพิ่มการรับรู้ในตราสินค้า หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นทางการตลาด (เช่น ยอดขาย) ผ่านการพูดแบบปากต่อปาก ที่คล้ายกับ
การแพร่ของเชื้อไวรัสหรือไวรัสในคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการพูดปากต่อปากผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การประชาสัมพันธ์อาจทำได้ในรูปแบบของคลิป เกมในแบบแฟล็ช แอดเวอร์เกม อีบุ๊ก ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับแบรนด์ ภาพ หรือแม้แต่ข้อความ

สโลแกนโฆษณา



  “ รักคุณเท่าฟ้า ”
  “ รสชาติของคนรุ่นใหม่ ”
  “ กินไม่ได้แต่เท่ ”
  “ เมืองไทยของเรา  เบียร์ไทยของเรา ”
 เมื่อได้ยินข้อความข้างต้น ผู้อ่านคงพอจะเดาได้ว่าเป็นการโฆษณาสินค้าหรือบริการอะไรบ้าง เนื่องจากทั้งสี่ข้อความข้างต้น ได้กลายเป็นคำพูดติดปากและติดหูผู้บริโภคไปแล้ว  “รักคุณเท่าฟ้า”   เป็นสโลแกนของสายการบินไทย ที่ค่อนข้างออดอ้อนและเรียกคะแนนนิยมจากผู้ใช้บริการได้อย่าง     น่าทึ่ง “รสชาติของคนรุ่นใหม่” ก็ถือว่ายังคงความเป็นเอกลักษณ์ของเป๊ปซี่ ที่เน้นกลุ่มวัยรุ่นได้อย่างดี ในขณะที่สโลแกน “กินไม่ได้แต่เท่” ก็สามารถสร้างความหวือหวาให้กับตลาดน้ำหอมระงับกลิ่นกายอย่างโฟกัส ได้อย่างไม่น่าเชื่อ และตามกันมาติดๆกับสโลแกน “เมืองไทยของเรา เบียร์ไทยของเรา”      ที่ใช้คำเรียบง่าย แต่ให้ความรู้สึกของความเป็นเจ้าของร่วมกัน อย่างเบียร์สิงห์  เหล่านี้ล้วนแต่เป็น     ปรากฏการณ์ทางภาษาที่ช่วยสร้างพลังทางการตลาดให้กับสินค้าและบริการแต่ละประเภท ได้ตามความ         มุ่งหมายของผู้ประกอบการ

หัวใจแห่งการบริการ ด้วยเทคนิคแบบ 4’S


ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว มีการแข่งขันที่สูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา ลูกค้าก็ต้องการได้รับการบริการที่ดีขึ้น รวดเร็วและตรงใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด กลยุทธ์หนึ่งที่สามารถมัดใจลูกค้าให้อยู่กับเรายาวนานขึ้น คือการให้บริการด้วยใจ ซึ่งทำง่ายๆ โดยใช้ 4S

Smile : ยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างความประทับใจ รอยยิ้มจะทำให้คุณมีเสน่ห์ การทำงานด้วยรอยยิ้มจะส่งผลให้ลูกค้าประทับใจและตัวคุณทำงานอย่างมีความสุข พร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ดี

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หน้าที่ทางการตลาด (marketing functions)


หน้าที่ทางการตลาด (marketing functions)

1. สารสนเทศทางและวิจัยตลาด ( Marketing  Information and Research )
คือต้องเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับตลาดมาทำการวิจัยต่างๆเพื่อเอาข้อมูลที่ได้มาวางแผนและควบคุมกิจกรรมทาง  ได้แก่ จำนวนประชากรในตลาด  มีรายได้ระดับไหน  เพศ อายุ  ศาสนา เชื้อชาติ เป็นการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคนั้นเองค่ะ  นอกจากนี้ต้องศึกษากลยุทธ์ทาง เพื่อให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างคู่แข่งทางด้านบริษัท เทคโนโลยีสารสนเทศ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

"แทรชโดฟ " ตัวอย่าง ไวรัล มาร์เก็ตติ้ง Viral Marketing กำลังฮอต

"แทรชโดฟ " ตัวอย่าง ไวรัล มาร์เก็ตติ้ง Viral Marketing กำลังฮอต


                Trash Dove Love ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา หลายคนที่ท่องโลกออนไลน์คงจะได้เห็นเจ้า “แทรชโดฟ” สติ๊กเกอร์นกพิราบสีม่วงที่ผงกหัวอย่างบ้าคลั่งแพร่ระบาดผ่านทางคอมเมนต์ต่างๆ ในโลกสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ไม่ว่าจะเป็นเพจต่างๆ นำไปแชร์ และ คอมเม้นต์กันมากมาย
       ล่าสุดผู้ออกแบบ “แทรชโดฟ” ได้ออกมาโพสต์ขอบคุณชาวไทยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Syd Weiler, Illustr-animator พร้อมทั้งแสดงความแปลกใจที่ผลงานเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในช่วงเวลาเพียงข้ามคืน ซิด วิลเลอร์ นักออกแบบแอนิเมชั่น เจ้าของผลงาน “แทรชโดฟ” ที่หลายคนตั้งฉายาว่านกม่วงผงกหัว หรือสติ๊กเกอร์สำหรับสนทนาที่ไม่นก

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560

Online Marketing การตลาดออนไลน์

Online Marketing
HERE and NOW  ผู้บริโภคสามารถเสพสินค้า/บริการเมื่อไหร่ ที่ไหนก็ได้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่และเวลา เป็นการให้อิสระกับกลุ่มลูกค้าอย่างเสรี
CHOICE and CHOOSEผู้บริโภคจะมีตัวเลือกมากขึ้น
FACT and FEEL การป้อนข้อมูลต่างๆให้กับผู้บริโภคต้องเป็นเรื่องจริงและสามารถสร้างความรู้สึกได้จริงให้กับผู้บริโภค

FOMO and JOMO เนื้อหาที่ต้องตามให้ทัน และแชร์ต่อกันบนสื่อสังคมออนไลน์ แต่บางครั้งถ้าเป็นเรื่องไม่จริงก็หลีกเลี่ยง และไม่ให้ความสนใจ

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค A Model of Consumer Behavior

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค
โมเดลพฤติกรรมผู้บริโภค (A Model of Consumer Behavior)

จุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้ซื้อ คือ การศึกษาถึง "โมเดลสิ่งกระตุ้นและการตอบสนอง" (Stimulus-Response Model)
งานของนักการตลาด คือ การทำความเข้าใจกับความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ (Buyer's Consciousness) หรือที่เรียกกันว่ากล่องดำ (Black box) โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 เริ่มต้นจากการมีสิ่งกระตุ้นเข้ามากระทบกล่องดำหรือความรู้สึกนึกคิดของผู้ซื้อ โดยสิ่งกระตุ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) สิ่งกระตุ้นทางการตลาด ได้แก่ ส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา สถานที่ และการส่งเสริมการตลาด
2) สิ่งกระตุ้นอื่น ๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมระดับมหภาค ซึ่งอยู่ภายนอกองค์กร เช่น สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง และวัฒนธรรม