การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
Logistics and Supply Chain Management
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (บทนำ)
ดีอย่างไร?
ตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1980 การจัดการโลจิสติกส์ และ การจัดการโซ่อุปทาน (Logistics Management & Supply Chain Management) ก็ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งจากวงการวิชาการและภาคธุรกิจ (Stock et al., 2010) เนื่องจากความต้องการที่จะลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นต่างๆ เช่น การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า และ ต้นทุนการสั่งสินค้า รวมทั้ง เพื่อตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นของผู้บริโภค ทั้งการตอบสนองที่รวดเร็วจากการสั่งและการส่งสินค้า รวมทั้ง คุณภาพของสินค้าอีกด้วย (Christopher, 2011) ตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีหลักฐานต่างๆ ทั้งงานวิชาการและความสำเร็จของภาคเอกชนที่ยืนยันถึงประโยชน์ที่ภาคธุรกิจ และลูกค้าได้รับจากการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทำให้องค์ความรู้ด้านนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในระดับประเทศและ นานาชาติ (Benavides & de Eskinazis 2012)สำหรับประเทศไทยนั้น การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานนั้นได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อรัฐบาลได้กำหนดให้โลจิสติกส์เป็นวาระแห่งชาติ โดยมีการออกยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในปี พ.ศ. 2547 และมีร่างแผนแม่บทฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2549) ตั้งแต่ นั้นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาต่างก็ให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน สำหรับภาครัฐแล้วแต่ละหน่วยงานนั้นได้มีแผนการพัฒนาโลจิสติกส์ออกมาอย่างต่อ เนื่อง ภาคเอกชนก็มีการจัดฝึกอบรมภายในเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการจัดการโลจิสติกส์ ขององค์กร องค์กรเอกชนรายใหญ่บางที่ก็ได้มีการส่งพนักงานไปเรียนต่อด้านโลจิสติกส์ใน ต่างประเทศอีกด้วย ในส่วนของภาคการศึกษานั้น หลายๆ มหาวิทยาลัยได้เริ่มมีการเปิดสอนวิชาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานทั้งระดับ ปริญญาตรี โท และ เอก รวมทั้งให้การสนับสนุนให้คณะจารย์ศึกษาต่อในด้านนี้ทั้งในและต่างประเทศอีก ด้วย
ใครนิยาม?
แม้ว่าจะมีการค้นพบว่าการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานจะมีประโยชน์มาก เพียงไร นิยามของ การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ก็ยังไม่มีความชัดเจน (Mentzer et al. 2001) มีการตีความที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน นั้นมีขอบเขตที่กว้างขวางและมีที่มาที่หลากหลาย มีการพัฒนามาจากสาขาวิชาที่แตกต่างกัน เช่น การจัดการ การดำเนินการ การขนส่ง การจัดซื้อ วิศวกรรมศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์นิยามการจัดการโซ่อุปทาน
มีความพยายามที่จะให้คำนิยามการจัดการโซ่อุปทานอย่างหลากหลาย โดยฉพาะจากนักวิชาการได้แก่ Stevens (1989), Ellram (1991), Towill et al.(1992), Cooper et al. (1997), Harland (1996), Christopher (2011) ทว่ากลับยังไม่มีนิยามใดที่ได้รับการยอมรับอย่างเอกฉันท์อย่างไรก็ตาม นิยามหนึ่งที่ได้รับความนิยม และ ถูกอ้างอิงมาก นิยามหนึ่งคือ นิยามของ สภาวิชาชีพชั้นสูงด้านการจัดการโซ่อุปทาน (Council of Supply Chain Management Professional) ซึ่งมีพื้นฐานจากงานการศึกษาของ Mentzer et al. (2001) ดังนี้
“Supply Chain Management encompasses the planning and management of all activities involved in sourcing and procurement, conversion, and all logistics management activities. Importantly, it also includes coordination and collaboration with channel partners, which can be suppliers, intermediaries, third-party service providers, and customers. In essence, supply chain management integrates supply and demand management within and across companies. Supply Chain Management is an integrating function with primary responsibility for linking major business functions and business processes within and across companies into a cohesive and high-performing business model. It includes all of the logistics management activities noted above, as well as manufacturing operations, and it drives coordination of processes and activities with and across marketing, sales, product design,จากนิยามข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า จัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) นั้นเป็นการวางแผนและการจัดการทุกกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัตถุ ดิบและปัจจัยนำเข้าต่างๆ ทั้งในการผลิตและการดำเนินการต่างๆ การจัดซื้อจัดหาการแปรรูปและเปลี่ยนรูป วัตถุดิบเหล่านั้นให้เป็นเป็นสินค้า และกิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด (CSCMP 2010) ดังนั้นนิยามของ CSCMP จึงรวมการจัดการโลจิสติกส์ให้อยู่ในขอบเขตของการจัดการโซ่อุปทาน
finance and information technology.”
(Council of Supply Chain Management Professional 2010)
นิยามการจัดการโลจิสติกส์
จากนิยามการจัดการโซ่อุปทานของ (CSCMP 2006) การจัดการโลจิสติกส์ซึ่งอยู่ในขอบเขตของการจัดการโซ่อุปทานนั้น ก็ถูกจำกัดความโดย CSCMP ไว้ดังนี้“Logistics management is that part of supply chain management that plans, implements, and controls the efficient, effective forward and reverse flow and storage of goods, services, and related information between the point of origin and the point of consumption in order to meet customers’ requirements. Logistics management activities typically include inbound and outbound transportation management, fleet management, warehousing, materials handling, order fulfilment, logistics network design, inventory management, supply/demand planning, and management of third party logistics services providers. To varying degrees, the logistics function also includes sourcing and procurement, production planning and scheduling, packaging and assembly, and customer service. It is involved in all levels of planning and execution-strategic, operational, and tactical. Logistics management is an integrating function which coordinates and optimizes all logistics activities, as well as integrates logistics activities with other functions, including marketing, sales, manufacturing, finance, and information technology.“จากนิยาม ข้างต้น การจัดการโลจิสติกส์คือส่วนหนึ่งของการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งเกี่ยวกับการวางแผนและการนำแผนไปปฎิบัติ รวมทั้งการควบคุม การไหลและการจัดเก็บสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นของโซ่อุปทาน (วัตถุดิบ) และปลายทางสู้ผู้บริโภค โดยรวมถึงการไหลกลับจากฝั่งผู้บริโภค (Reverse logistics) ให้มีทั้งประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผลด้วย
(Council of Supply Chain Management Professional 2010)
ที่มา :http://pairach.com/supplychaindictionary/logisticsandscm/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น