วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า Value Creation & Delivery Sequence


การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า  (Value Creation  &  Delivery  Sequence)  เป็นวิถีทางหนึ่งทางการตลาดซึ่งมุ่งเน้นความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นหลัก  อีกทั้งเป็นแนวทางที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมซึ่งมีการแข่งขันสูง  เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือก  ในการซื้อสินค้าและบริการในตลาด  (Micro  Market)  อีกทั้งยังต้องการรับรู้ถึงความชอบและเกณฑ์การซื้อที่เป็นของตนเอง  จึงจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการออกแบบและส่งมอบข้อเสนอสำหรับตลาดเป้าหมายที่มีความชัดเจน  โดยแบ่งกระบวนการออกเป็น  3  ส่วน  คือ
การเลือกคุณค่า  ในส่วนนี้องค์การจะต้องทำการวิเคราะห์  เพื่อทำการเข้าใจถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า  และทำการแบ่งส่วนการตลาด  เพื่อกำหนดถึงตลาดเป้าหมาย  และวางตำแหน่งทางการตลาดเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ขององค์การให้แตกต่าง  และอยู่ในตำแหน่งที่โดดเด่นจากผลิตภัณฑ์ของผู้แข่งขันอย่างชัดเจน  ดังนี้



1 . ผลิตภัณฑ์  คือ  สิ่งใดๆก็ตามที่เสนอให้แก่ตลาด  เพื่อสร้างความสนใจ  ความเป็นเจ้าของการบริโภค  โดยตอบสนองถึงความจำเป็นและความต้องการของลูกค้า  เช่น  สินค้า  บริการ  ความชำนาญ  บุคคล  สถานที่  ความเป็นเจ้าของ  องค์การ  ข้อมูลและความคิด
2.  ราคา  คือ  มูลค่าที่กำหนดไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์  หรือจำนวนเงินที่ลูกค้าต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์นั้น  และถือเป็นองค์ประกอบเดียว  ของส่วนประสมการตลาดที่ก่อให้เกิดรายได้  อีกทั้งยังก่อให้เกิดความยืดหยุ่นด้านการเปลี่ยนแปลงราคาอีกด้วย
3.  การจัดจำหน่าย  คือ  การจัดกิจกรรม  หรือวิธีการเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ไปสู่กลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมาย  เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการแลกเปลี่ยน  เช่น  การพิจารณาเลือกตัวแทนจำหน่ายและให้การสนับสนุนต่อตัวแทนจำหน่าย  ทั้งในส่วนของสินค้าคงคลัง  คุณภาพของผลิตภัณฑ์  การเจรจาต่อรอง  และการให้บริการหลังการขาย
การสื่อสารคุณค่า  ในส่วนนี้องค์การ  ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมการตลาดในส่วนการสื่อสารการตลาดเข้าช่วยเพื่อสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์  ตลอดจนทำการชักชวนให้กลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายซื้อผลิตภัณฑ์  โดยสร้างรูปแบบของการสื่อสารที่มีผู้ส่งข่าวสาร  เช่น  ตัวแทนโฆษณา  และพนักงานขาย  เป็นต้น  ปฏิบัติการส่งข่าวสาร  ทั้งในรูปแบบสัญลักษณ์  ภาพ  เสียง  แสง  การเคลื่อนไหวหรือเสียงเพลงไปยังผู้รับข่าวสาร  โดยมุ่งหมายให้ผู้รับข่าวสารมีการตอบสนองในทิศทางที่ต้องการ  ด้วยวิธีการต่างๆ  ดังนี้
                                 - การโฆษณา  คือ  ช่องทางการสื่อสารที่ไม่ใช้บุคคล  แต่ใช้สื่อโฆษณาในการแจ้งข่าวสารเตือนความทรงจำ  และชักชวนลูกค้าเป้าหมายหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง  ให้เกิดพฤติกรรม  ทัศนคติ  และความเชื่อในทิศทางที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการ
                               -การขายโดยบุคคล  คือช่องทางการสื่อสารที่ใช้พนักงานขายที่มีความรู้  ความชำนาญในผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี  และสามารถนำเสนอจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้กลุ่มลูกค้าที่คาดหวังเห็นโดยใช้ศิลปะการจูงใจที่ดี  เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ  ในที่สุด
                            -  การส่งเสริมการขาย  คือ  การใช้เครื่องมือส่งเสริมการขาย  ในรูปแบบของการลดราคา  การแลกซื้อสินค้าพรีเมียม  การแจกตัวอย่างสินค้า  และการแถมสินค้า  ซึ่งนิยมใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวเนื่องต่ำ  (Low  Involvement)  ที่ลูกค้าไม่ค่อยจะใช้ความพยายามในการตัดสินใจมากนัก  เช่น  แชมพูสระผม  ยาสีฟัน  เป็นต้น  วิธีการนี้อาจเป็นแรงจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนตราสินค้า  (Brand  Switching)  ได้
                       - .การประชาสัมพันธ์  คือ  รูปแบบหนึ่งของการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจอันดีกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง  คือ  ลูกค้า  คนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย  หน่วยงานของรัฐ  สถาบันการเงิน  และบริษัทตัวแทนโฆษณา  ซึ่งไมได้ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของกลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายโดยตรง  แต่ก็ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และค่านิยมของธุรกิจ  อันนำไปสู่ความไว้วางใจทางธุรกิจ  ตลอดจนมีความมั่นใจในการซื้อสินค้าและบริการในที่สุด

การตลาดโดยตรง  คือ  รูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน  เนื่องจากแบบแผนการดำเนินชีวิตของลูกค้าเปลี่ยนไป  ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารมากขึ้น  โดยอาจเลือกใช้สื่อโทรศัพท์  หรือการส่งจดหมายตรงถึงลูกค้าก็ได้  ซึ่งทำให้การซื้อขายเกิดขึ้นง่ายและใช้เวลาไม่นานจนเกินไป
                        - การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ  หรือการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร  คือ  การเลือกสรรเครื่องมือการสื่อสาร  ที่เหมาะสมกับประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการ  ตลอดจนลักษณะตลาดของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเป็นการผสมผสานเครื่องมือการสื่อสารมากกว่าหนึ่งประเภทและใช้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อหวังผลให้ผลิตภัณฑ์และข่าวสารได้รับความสนใจ  และสามารถจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อในที่สุด
                      -  การสื่อสารตราสินค้า  คือ  การสร้างส่วนทุนตราสินค้า  (Brand  Equity)  หรือสร้างคุณค่าของตราสินค้า  ซึ่งนำไปสู่การสร้างความจงรักภักดีในตราสินค้าได้  โดยอาศัยการตอกย้ำของการสื่อสารแบบบูรณาการ  อันจะช่วยให้ตราสินค้าหนึ่งมีความแตกต่างจากตราสินค้าอื่นในสายตาและการรับรู้ของกลุ่มลูกค้าในตลาดเป้าหมายได้
สรุปได้ว่า  ในการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าต้องมีการวางแผน  และเลือกใช้กลยุทธ์ทางการตลาด  พร้อมทั้งสื่อสารให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรับทราบ  ซึ่งก็คือกระบวนการของการตลาดเชิงกลยุทธ์ในส่วนของการเลือกคุณค่า  ตลอดจนมีการพัฒนาส่วนประสมการตลาดทั้งในส่วนของการจัดหาคุณค่าและการสื่อสารคุณค่า  ซึ่งก็คือ  กระบวนการของการตลาดเชิงกลวิธี  โดยมุ่งหวังให้ลูกค้าเป้าหมาย  และลูกค้าที่คาดหวังตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของธุรกิจในที่สุด

Source:https://pt.slideshare.net/wualankcloy/markmangt?ref=
http://lms.mju.ac.th/courses/181/locker/Projects/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1Information.doc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น