วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หน้าที่ทางการตลาด (marketing functions)


หน้าที่ทางการตลาด (marketing functions)

1. สารสนเทศทางและวิจัยตลาด ( Marketing  Information and Research )
คือต้องเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับตลาดมาทำการวิจัยต่างๆเพื่อเอาข้อมูลที่ได้มาวางแผนและควบคุมกิจกรรมทาง  ได้แก่ จำนวนประชากรในตลาด  มีรายได้ระดับไหน  เพศ อายุ  ศาสนา เชื้อชาติ เป็นการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคนั้นเองค่ะ  นอกจากนี้ต้องศึกษากลยุทธ์ทาง เพื่อให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างคู่แข่งทางด้านบริษัท เทคโนโลยีสารสนเทศ


2. การซื้อขาย ( Buying )
เป็นการจัดหาสินค้าและบริการออกจำหน่าย หรือในบางครั้งกิจการก็อาจจะซื้อสินค้าผ่านพ่อค้ากลาง  ในการซื้อนั้นต้องคำนึงถึงงบประมาณในการจัดซื้อแต่ละครั้งต้องพิจารณาหลายๆอย่าง เช่น ชนิด คุณภาพ เป็นต้น

3. การเก็บรักษา (Storing)
หน้าที่ในการเก็บรักษานี้ คือ การเก็บรักษาสินค้าระหว่างรอออกจำหน่าย  หรือ การขนส่ง  เพื่อลดเรื่องของสินค้าขาดตลาด ต้องระวังสินค้าที่เก็บไว้อาจจะล้าสมัยทำให้ขายไม่ได้และขาดทุน
4. การจัดมาตรฐานและคุณภาพของสินค้า (Standardinzing and Granding )
ต้องมีการกำหนดมาตรฐานของสินค้าไว้ก่อนที่จะออกจำหน่ายเพื่อให้ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และเพื่อทำให้การซื้อขายง่ายขึ้นและไม่เกิดปัญหาได้ในภายหลัง
5. การขาย (Selling)
การขายสินค้าถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากๆเลย ซึ่งผู้ขายต้องศึกษาเทคนิคหรือกลยุทธ์ทางการขายให้ละเอียด มีการขายหลายแบบ  ทั้งขายด้วยเงินสด  ขายด้วยเงินเชื่อ มีการให้ส่วนลด โดยมีการใช้เทคนิคด้านการขายเข้ามาช่วย  ได้แก่

การโฆษณา โดยใช้สื่อต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม
การขายโดยใช้บุคลากร (เทคนิคการขาย) มีการเผชิญหน้ากับลูกค้าเพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อที่เร็วขึ้น
การส่งเสริมการขาย มีการลดราคา แจกของแถม
การให้ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ เป็นข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพพจน์ของกิจการให้ลูกค้าได้เห็น
การใช้ทางตรง ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมทางให้ผ่านสือ่ต่างๆ
6. การขนส่ง (Logistic)
การขนส่งมีหลายแบบ ขนส่งทางบก  ขนส่งทางอากาศ  ขนส่งทางน้ำ  ขนส่งทางรถไฟ  แต่จะเลือกวิธีการขนส่งนั้นต้องเลือกโดยคำนึงรายละเอียดของสินค้ารวมทั้งค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมและคุ้มค่าด้วยค่ะ (โลจิสติกส์ คือ)
7. การเงิน (Financing)
กิจการต้องใช้เงินมาลงทุน ถ้าเงินไม่พอก็ต้องกู้เงิน ทำให้เกิดหนี้สิน  เราต้องมีงบประมาณหมุนเวียนที่เพียงพอในการดำเนินงาน ต้องจัดสรรให้ดี
8. การรับภาระเสี่ยงภัย (Taking  Risks)
การเสี่ยงภัยเกิดขึ้นได้เสมอ อุบัติเหตุที่ทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย หรือจากภัยธรรมชาติ เนื่องจากการรักษาที่ไม่ปลอดภัย เราจึงควรหาวิธีป้องกันก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่างๆซึ่งไม่มีทางรู้ได้เลยค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น