Blog แห่งการเรียนรู้ สรุปรวบรวมเรื่องการตลาด ทรัพยากรมนุษย์ ภาวะผู้นำ ทฤษฎีองค์กร เว็บแห่งการอ่าน คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตหรือธุรกิจของตน เว็บแห่งรวบรวมมาจากหลายๆแห่ง จากหลายๆท่านผู้รู้
วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2560
Viral Marketing (การตลาดแบบปากต่อปาก) คืออะไร
Viral Marketing (การตลาดแบบปากต่อปาก) คืออะไร
การตลาดแบบปากต่อปาก หรือ การตลาดแบบบอกต่อ (อังกฤษ: viral marketing) คือเทคนิคทางการตลาดที่ใช้ในยุคก่อนที่จะ
มีบริการเครือข่ายสังคมเพื่อเพิ่มการรับรู้ในตราสินค้า หรือเพื่อจุดประสงค์อื่นทางการตลาด (เช่น ยอดขาย) ผ่านการพูดแบบปากต่อปาก ที่คล้ายกับ
การแพร่ของเชื้อไวรัสหรือไวรัสในคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการพูดปากต่อปากผ่านทางอินเทอร์เน็ต การประชาสัมพันธ์อาจทำได้ในรูปแบบของคลิป เกมในแบบแฟล็ช แอดเวอร์เกม อีบุ๊ก ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับแบรนด์ ภาพ หรือแม้แต่ข้อความ
จุดประสงค์ของนักการตลาด เพื่อสร้างความสำเร็จการตลาดแบบปากต่อปาก เพื่อสร้างความโดดเด่นแสดงตัวตนกับแนวโน้มทางเครือข่ายสังคม (Social Networking Potential) และสร้างการแพร่กระจายของสาระให้ปรากฏกับคนส่วนหนึ่งของผู้คนและมีความเป็นไปได้สูงที่ที่จะแทนที่คู่แข่ง
หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า Viral Marketing (ไวรัล มาร์เก็ตติ้ง) แต่อาจยังไม่รู้จักและเข้าใจความหมายของมันอย่างถี่ถ้วน
สำหรับ Viral Marketing นี้หากเราแปลอย่างตรงตัว ก็คือ กลยุทธ์การตลาดแบบไวรัส เป็นการสร้างกระแสให้เกิดผลกระทบกับคนในสังคม จนเกิดเป็นการพูดถึงและบอกต่อกัน ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของกระแสนั้นอย่างรวดเร็ว โดยกระแสนั้นต้องเป็นกระแสที่แปลกใหม่
แหวกแนว กระทบต่อความรู้สึก อารมณ์ และจิตใจของผู้ชม ให้ผู้บริโภครู้สึกตื่นตกใจทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เมื่อสิ่งเหล่านั้นเข้าถึงในแต่ละบุคคลได้จึงเกิดเป็นการบอกต่อกันอย่างรวดเร็ว
Viral Marketing เป็นการทำการตลาดโดยใช้สื่อ Social Media เพื่อเผยแพร่และกระจาย ได้แก่ Facebook, Twitter, Youtube และช่องทางอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อเป็นการทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้ โดยวิธีการเหล่านี้เปรียบเสมือนกับกระบวนการแพร่ไวรัส แต่เป็นลักษณะของการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก หรือเรียกว่า Word-fo-mouth (WOM) หรือคล้ายกับประโยคที่เราเคยได้ยินกันมาแล้วก็คือ
การใช้ดีแล้วบอกต่อ นั่นเองรูปแบบของการทำการตลาดแบบ Viral Marketing นั้นจะประกอบไปด้วย
- Video Clips (วิดีโอคลิป)
- Interactive Flash Games (อินเตอร์แอคทีฟ แฟลต เกมส์)
- Advergames (แอดเวอร์เกมส์)
- eBooks (อีบุ๊ค)
- Images (รูปภาพ)
- Text Messages (ข้อความ)
แต่ที่เห็นกันอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลต่อคนไทย ส่วนใหญ่จะเป็น Video Clips ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเรียกร้องความสนใจ โดย
อาศัยความรู้สึกและประสบการณ์จริงของคนในสังคม ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้คลิปวิดีโอนั้นๆ มีความน่าสนใจและถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็ว
ข้อดีของ Viral Marketing
• ใช้ต้นทุนในการผลิตน้อย
• กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
• เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากกว่าและตรงกลุ่มเป้าหมาย
• มีอิสระทางความคิดและเผยแพร่ข้อมูลในสิ่งที่ต้องการได้
ข้อเสียของ Viral Marketing
• มาเร็วและไปเร็ว
• หากมีข้อผิดพลาดก็จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และแบรนด์อย่างรวดเร็ว
การทำ Viral Marketing ควรคิดและไตร่ตรองในเนื้อหาที่นำเสนอให้รอบคอบ เพราะต้องไม่เบียดเบียนหรือส่งผลกระทบต่อชื่อ
เสียงหรือสิ่งอื่นๆ หรือทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเดือดร้อน อีกทั้งต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ เพราะหากมีผลเสียเกิดขึ้น อาจทำให้แบรนด์
เสียหายและเสียทรัพย์ได้
ที่มา : mdsoft, coachtawatchai
https://th.wikipedia.org/
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น