วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิเคราะห์ การตลาด 2015


วิเคราะห์ การตลาด 2015

โดย ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์
       ที่ปรึกษาอาวุโส McKansys (Thailand) Co., Ltd.
      
       “Thailand Tomorrow Techtrend 2015″
      
       ในยุคที่วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีไปไกลกว่าวิถีการดำเนินชีวิต ทำให้ธุรกิจต้องคอยจับตามองหาวิธีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เข้ากับโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องติดตามกระแสเทรนด์ทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา แต่เนื่องจากทุกวันนี้ มีเทคโนยีเกิดขึ้นใหม่ๆ มากมาย หลั่งไหลเข้ามาจนล้นตลาด บ้างก็กลายเป็น “Buzz Words” หรือศัพท์ทางเทคนิค ให้พูดกันจนเป็นกระแส แต่จะใช้ได้จริงหรือไม่นั้น ต้องดูที่การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ (Business Value)
      

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Brand Audit: กรณีศึกษาบริษัท AIS


Brand Audit: กรณีศึกษาบริษัท AIS
บทความโดย บุริม โอทกานนท์

ตั้งแต่เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2533 บริษัทแอดวานซ์ อินโฟเซอร์วิส (AIS) ก็ถือครองยอดผู้ใช้บริการเป็นอันดับหนึ่งของเมืองไทยมาโดยตลอดระยะเวลา 19 แต่หลังจากปี 2542 ที่ทางบริษัทได้เริ่มเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ Pre-paid ก็ทำให้สภาพตลาดของโทรศัพท์เคลื่อนที่เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Pre-paid นั้นเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเกมการแข่งขันในตลาดนี้จากผู้เล่นหลักอีก 2 รายคือ dtacและ True Move ก็หันลงมาแข่งขันช่วงชิงลูกค้ากันในตลาด จนทำให้รายได้จากตลาด pre-paid เริ่มแซงนำตลาด Post-paid อย่างทิ้งกันเป็นเท่าตัว ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดเชิงรายได้นั้น AIS ถือครองอยู่ประมาณ 52% DTAC 32% True Move 13% และ Hutch 3%ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า ในตลาดนี้ในปี 2552 ตลาดจะคงยังเติบโตอยู่อีกประมาณ 3%-5% ลดลงจากปี 2551 ที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 6% และมีมูลค่าตลาดประมาณ 159,000 ล้านบาทในปี 2551

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กรณีศึกษา “สบู่นกแก้ว” บินออกจากป่าสู่สังคมเมือง กลยุทธ์ที่ชาญฉลาดหรือความผิดพลาดครั้งใหญ่ของสบู่นกแก้ว ??


“สบู่นกแก้ว” บินออกจากป่าสู่สังคมเมือง
กลยุทธ์ที่ชาญฉลาดหรือความผิดพลาดครั้งใหญ่ของสบู่นกแก้ว ??
บทวิเคราะห์โดย
มนต์สุดา  บุรารักษ์            ณัฐธิดา สิระพิศุทธิ์
นฤชล แก้วสุริยา               ปวรภัส  โพธิสุข
วีรภัทร์  คงเพ็ชร์ศักดิ์  

ข้อมูลทางการตลาดระบุว่าตลาดสบู่เหลวมีมูลค่าในปี 2551 ประมาณ  2,100 ล้านบาท หรือกว่า 36 % ของตลาดสบู่รวม ซึ่งมีมูลค่าถึง 5,800 ล้านบาท โดยคาดว่าตลาดสบู่เหลวจะมีอัตราการเติบโตที่ประมาณละ 10 % ในขณะที่สบู่ก้อน ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่า 3,800 ล้านบาทนั้น มีการเติบโตเพียงปีละ 3% หรือบางปีก็ไม่เติบโต ทำให้คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้าตลาดสบู่เหลวจะมีส่วนแบ่งตลาดเท่ากับตลาดสบู่ก้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ ครีมอาบน้ำ ซึ่งมีส่วนแบ่งมากกว่า 70 % ในตลาดสบู่เหลว “นกแก้ว” เป็นสบู่ที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่ว่าจะเป็นเนื้อสบู่ที่แข็ง ไม่ยุ่ยง่าย มีกลิ่นพฤษาชาติ เหมาะกับการใช้ตามแม่น้ำ ลำคลองของคนไทยในสมัยก่อน ทำให้ชื่อของนกแก้วอยู่คู่คนไทยมาถึงปัจจุบัน และยังครองส่วนแบ่งในตลาดสบู่ก้อนเป็นอันดับ 2 รองจากลักส์ แบรนด์ยักษ์ใหญ่แห่งค่ายยูนิลีเวอร์ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อโลกมีวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แม่น้ำลำคลองก็ตื้นเขิน คนอาบน้ำริมคลองก็เริ่มลดน้อยลง ทำให้จุดเด่นของนกแก้วในเรื่องของเนื้อสบู่ที่ไม่ยุ่ยง่าย กลายเป็นเพียงจุดเด่นเพียงในตำนานเท่านั้น ประกอบกับคนส่วนใหญ่ที่ใช้สบู่นกแก้วค่อนข้างเป็นผู้สูงอายุ และไม่เป็นที่ยอมรับของคนหนุ่มสาวสมัยใหม่ในปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่าการใช้สบู่นกแก้วนั้นเชย ล้าสมัย และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปอาจทำให้ชื่อของนกแก้วที่มีอายุมายาวนานล้มหายตายจากไปพร้อมกับผู้สูงอายุเหล่านั้นก็เป็นได้  

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กรณีศึกษาน้้าอัดลมบรรจุขวดพลาสติก “เป๊ปซี่” บริษัท เสริมสุข จ้ากัด (มหาชน)

          ผลการสำรวจพบวํามูลคําตราสินค้า (Brand Equity) ของ “เป๊ปซี่” นั้นอยู่ในเกณฑ์สูง

ทั้งหมด ยกเว๎นในสํวนของเกณฑ์ด๎านความจงรักภักดีตํอตราสินค๎า (Brand Loyalty) นั้นมี
เกณฑ์ที่กวําด๎านอื่นผู้บริโภคจะหันมาบริโภคสินค๎าทดแทนทันทีถ๎าตราสินค๎า “เป๊ปซี่” หมด
หรือไมํมี ในการศึกษาได้ก้าหนดเครื่องมือในการวิเคราะห์ ได๎แกํ Five Forces Model , SWOT
Analysis, TOWS Matrix เพื่อก้าหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมได๎แกํ กลยุทธ์ระดับองค์กร จากการ
วิเคราะห์สรุปคือ กลยุทธ์การเติบโต (Growth Strategy) เนื่องจากองค์กรเป็นองค์กรขนาดใหญํ
และได๎รับความเชื่อถือจากผู้ประกอบการ และผู้บริโภคอยํางแพรํหลาย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่
องค์กรจะขยายธุรกิจ เพื่อจะตอบสนองความต๎องการของผู้บริโภค และเป็นการสร๎างรายได้
สร๎างความมั่นคงให๎กับธุรกิจ ประกอบกับโอกาสในการตํอยอดธุรกิจเครื่องดื่ม ดังนั้นการที่บริษัท
จะดำเนินการขยายธุรกิจจึงเป็นการดีที่จะเพิ่มการลงทุนในรูปแบบใหมํๆ เพื่อตาภาพลักษณ์
ความแข็งแกรํง และสามารถท้าให๎องค์กรสามารถเติบโตได๎อยํางตํอเนื่องในระยะยาว ตลอดจน
สํงผลให๎ธุรกิจใหมํๆขององค์กรได๎รับความเชื่อถือและความไว๎วางใจ

กรณีศึกษา Yum! Brands, Pizza Hut and KFC


กรณีศึกษา Yum! Brands, Pizza Hut and KFC

แปลและเรียบเรียงจาก   Yum! Brands, Pizza Hut and KFC ของ Jeffrey A. Krug, Applalachain University  โดย  ดร.สิริภักตร์ ศิริโท

            ยัมแบรนด์ อิงค์ เป็นบริษัทอาหารฟาสต์ฟู๊ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี ค.ศ. 2004  บริษัทมีร้าน เคเอฟซี (KFC)  พิซซ่า ฮัท (Pizza Hut)  ทาโก้ เบล (Taco Bell)  ลองจอห์น  ซิลเวอร์ (Long John Silver’s) และ ภัตตาคารเอแอนด์ดับบลิว (A&W restaurants) รวมกันมากกว่า 33,000 แห่งทั่วโลก  ยัมแบนด์เป็นผู้นำตลาดฟาสต์ฟู๊ดของอเมริกาในส่วนของอาหารประเภท ไก่ พิซซ่า อาหารเม็กซิกัน และอาหารทะเล   บริษัทยังมีภัตตาคารมากกว่า 12,000 แห่งนอกประเทศสหรัฐอเมริกา    เค เอฟ ซี และพิซซ่า ฮัท มีสัดส่วนถึงร้อยละ 96 ของฐานด้านภัตตาคารต่างประเทศใน 116 ประเทศ  ในช่วงยุค 1950 และ 1960  เค เอฟ ซี และพิซซ่า ฮัท  เป็นตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในบรรดาสาขาฟาสต์ฟู๊ดในต่างประเทศ    ในช่วงยุค 1990 ทั้งสองแบรนด์ยังคงขยายตัวต่อเนื่องและเติบโตผ่านการไปเปิดสาขาในประเทศให้มากที่สุด  แต่ยัมแบรนด์ อิงค์ตระหนักว่าประเทศแต่ละประเทศที่ไปเปิดสาขาสามารถสร้างผลกำไรให้แก่องค์กรในอัตราที่แตกต่างกันไป

กรณีศึกษา “เถ้าแก่น้อย”



Guerrilla Marketing: กรณีศึกษา “เถ้าแก่น้อย”
บทความโดย นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
โสภณ    รัตนจันทร์           กิตติพงศ์    แสงเจริญวนากุล
ดนัย      ทรัพย์พิทักษ์ดี     เทพ       นีรนาทภูรี
วุฒิชัย    ชาโญพงษ์          

“จุดเริ่มต้นของชัยชนะไม่จำเป็นจะต้องเริ่มจากเงินลงทุนมหาศาล ในทางกลับกันการหาลู่ทางที่คนอื่นมองข้ามแล้วรุกคืบด้วยความเงียบ เงินลงทุนจึงไม่ใช่สิ่งสำคัญ” นี่คือแนวคิดเล็กๆ ของกลยุทธ์เล็กๆ สำหรับธุรกิจเล็กๆ ที่ประสบความสำเร็จมานักต่อนัก กลยุทธ์ที่ว่านี้หลายๆคนรู้จักกันในนาม “กลยุทธ์การตลาดแบบกองโจร หรือ Guerrilla Marketing”

เถ้าแก่น้อยคืออะไร

บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 ซึ่งก่อตั้งมาเป็นระยะเวลา 5 ปี และเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มผลิตสาหร่ายทะเลอบกรอบ ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “เถ้าแก่น้อย” ภาพลักษณ์ของ เถ้าแก่น้อย คือ อาหารว่าง หรือ ที่เรียกกันว่าขนมขบเคี้ยว ที่ทำมาจากสาหร่ายทะเลที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และนอกเหนือจากรสชาติที่แสนอร่อย ผู้บริโภคยังจะได้รับคุณค่าทางอาหารอื่นๆอีก เช่น เส้นใยอาหาร โปรตีน ธาตุเหล็ก และ แคลเซียม ซึ่งสามารถเรียก เถ้าแก่น้อยอีกอย่างว่า เป็นอาหารทานเล่นเพื่อสุขภาพ

ผลิตภัณฑ์เถ้าแก่น้อยมาในรูปแบบของอาหารว่างพร้อมรับประทานซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ขณะนี้ได้มีการผลิต สาหร่ายทะเลอบกรอบเถ้าแก่น้อยมี 4 รสชาติ คือ รสคลาสสิค รสเผ็ด รสวาซาบิ รสต้มยำกุ้ง ซึ่งเหมาะกับความชอบของคนไทย ที่ชอบทานรสจัดเป็นผลที่ทำให้ เถ้าแก่น้อย เป็นผู้นำในตลาด ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดสาหร่ายทอดในประเทศไทย เถ้าแก่น้อย มีการกระจายสินค้าอยู่หลายช่องทาง ซึ่งมีทั้งในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และดิสเคาน์ สโตร์ เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถซื้อมารับประทานได้สะดวก

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

กลยุทธ์การค้าแบบ B2C, B2B และ E-X-Commerce

   

  จะเลือกค้าแบบ Business-to-Consumer (B-to-C) หรือ Business-to-Business (B-to-B) ดี?” เป็นคำถามหนึ่งที่ผู้ค้าบนเว็บถามถึงบ่อยมาก หลายคนที่ถามนั้น โดยส่วนใหญ่มีความรู้สึกสับสน เพราะเพิ่งเริ่มต้นใหม่ๆ จึงไม่รู้ว่า จะเริ่มต้นอย่างไร ? จะขายสินค้าให้ใครดี ? และที่สำคัญก็คือ เมื่อขายไปจะมีใครซื้อหรือไม่ ? เพราะ เกรงว่า จะเลือกค้าผิดกลุ่ม ความจริงแล้ว คำตอบในเรื่องนี้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะเราสามารถใช้เกณฑ์สามอย่างตรองได้ง่ายๆ คือ เกณฑ์ที่หนึ่ง “ความถนัดของเรา” เกณฑ์ที่สอง “การมีอำนาจซื้อของกลุ่มเป้าหมาย” และเกณฑ์ที่สาม “ความเหมาะสมของสินค้า” 


เกณฑ์ที่หนึ่ง เรื่อง “ความถนัดของเรา” สิ่งที่ต้องพิจารณาในจุดนี้ ก็คือ ประสบการณ์การค้าของเรา ว่า เราเคยค้าขายในระดับใดมาก่อน เช่น เคยขายสินค้าให้กับระดับองค์กร หรือบริษัทกับบริษัทหรือไม่ หรือที่ผ่านมาเป็นประเภทแค่เคยขายขนมให้ชาวบ้านทั่วไป หรือบางคนแย่กว่านั้น ก็คือ เกิดมาไม่เคยขายอะไรเลย 

กลยุทธ์แบบผลักและดึงสำหรับผู้ประกอบการ

       







   จากการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำให้แนวโน้มของการของการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีอัตราเร่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับอัตราการเติบโตของธุรกิจด้านบรอดแบนด์และธุรกิจด้านการตลาดโทรศัพท์มือถือออนไลน์ ที่มีความรุนแรงมากขึ้น


นั้นพฤติกรรมของผู้ใช้บนโลกออนไลน์จึงเริ่มก้าวเข้าสู่ความเป็นเครือข่ายสังคม(SocialNetworking) โดยมีการรวมตัวกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มคนบนโลกออนไลน์หรือทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า “ชุมชนออนไลน์”(OnlineCommunity) ซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเสมือน(Virtual Community)
สังคมประเภทนี้จะเป็นการให้ผู้คนสามารถทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิด แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน และ

จัดทำแผนการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร


กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด
ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างตราสินค้าเลยทีเดียว เนื่องจากการสื่อสารจะทำหน้าที่ส่งข่าวสารและคำมั่นสัญญาต่างๆไปยังผู้บริโภคเป้าหมาย ดังนั้นทั้งลีลาและท่วงทำนองของการสื่อสารจึงมีผลต่อบุคลิกภาพในระยะยาวของตราสินค้านั้นๆ การใช้วิธีการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบดั้งเดิมได้ล้าสมัยลงไปแล้ว

                ในปัจจุบัน สิ่งใหม่อย่างกลยุทธ์ไอเอ็มซีเข้ามาแทนที่ เพื่อใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย ไอเอ็มซีเป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงและคุณค่า ตลอดจนบุคลิกภาพของตราสินค้าผ่านเครื่องมือสื่อสารการตลาด โดยเครื่องมือเหล่านั้นจะต้องพูดในเนื้อหาเดียวกัน (Speak with one voice) เพื่อสนับสนุนและตอกย้ำตราสินค้า ซื่งเครื่องมือไอเอ็มซีนั้นมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกันและการที่จะนำเครื่องมือใดมาประยุกต์ใช้บ้างนั้น ก็มีปัจจัยในการพิจารณาหลายประการเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในปัจจัยต่างๆนั้นก็มีวัตถุประสงค์และงบประมาณเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบด้วย

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนวโน้มของการบริหารจัดการ Work-Life Balance ในองค์กร


แนวโน้มของการบริหารจัดการ Work-Life Balance ในองค์กร
      เรื่องของการบริหารจัดการความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว หรือที่เรียกกันว่า Work-Life Balance นั้น เป็นเรื่องที่หลายๆ องค์กรต่างเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และพยายามที่จะนำเอาเรื่องเหล่านี้มาปรับใช้กับการบริหารทรัพยากรบุคคลในบริษัท ทั้งนี้เนื่องจากแนวโน้มในเรื่องของ Work-Life Balance นั้นเป็นเรื่องที่พนักงานให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

กลยุทธ์การตลาด 8P ความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการ


กลยุทธ์การตลาด 8P ความรู้พื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการ

1.กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategy)
     กลยุทธ์ในส่วนแรกนี้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ ตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับตัวผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นส่วนของคุณสมบัติส่วนตัวที่ต้องตั้งเป้าว่าจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ในระดับความพึงพอใจขนาดไหน การนำสินค้าไปเปรียบเทียบ กับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขันในท้องตลาดว่ามีจุดเด่นและ จุดด้อยอย่างไร นอกจากนี้ยังมีในส่วนของวัตถุดิบและสายงานการผลิตด้วย

2.กลยุทธ์ราคา (Price Strategy)
     การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์สินค้าถือเป็นกลยุทธ์ สำคัญของแผนงานทางการตลาดที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบมากขึ้น โดยการกำหนดราคาจะต้องคำนึงถึงปัจจัย ของต้นทุนการผลิตบวกกับผลกำไรที่ต้องการจะได้จากการขายผลิตภัณฑ์แล้วจึงทำการกำหนดราคาขายออกมา โดยต้องคำนึงสภาพการแข่งขันของตลาดสินค้า นอกจากนี้การกำหนดราคายังมีนัยที่บ่งบอกถึงตำแหน่งที่ต้องการจะ ให้สินค้าไปยืนอยู่ด้วย ซึ่งการตั้งราคาอาจจะตั้งให้ใกล้เคียง กับสินค้าประเภทเดียวกันบนท้องตลาด หรือน้อยกว่าถ้า ต้องการแย่งชิงฐานลูกค้า และมากกว่าถ้าต้องการวางตำแหน่ง ผลิตภัณฑ์ให้อยู่เหนือกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป

10 กลยุทธ์การตลาด รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง



10 กลยุทธ์การตลาด รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง


"ทำยังไงดีหนอ....ถึงจะขายสินค้าและบริการให้ได้มากกว่านี้" นี่อาจเป็นคำถามที่ใครต่อใครหลายคนอาจเคยรำพึงรำพันด้วยความหนักอกหนักใจมาแล้ว เมื่อสื่อการตลาดไม่ได้ผลอย่างที่หวัง โดยเฉพาะกับนักการตลาดด้วยแล้ว คำถามนี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเลยทีเดียว การตลาดเป็นกระบวนการอันซับซ้อน ที่ต้องอาศัยความเข้าใจและความพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ แต่ก็มักถูกจะมองข้ามความสำคัญไป และยกให้เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายการตลาดแต่เพียงผู้เดียว น้อยคนนักที่จะคิดว่า ความชัดเจนในแนวคิดด้านการตลาดเป็นรากฐานที่สำคัญที่ทุกฝ่ายควรเข้าใจร่วมกัน จะทำอย่างไร...หากคุณไม่สามารถเพิ่มยอดขายได้!! ลองมองเปิดใจให้กว้าง แล้วมองไปรอบ ๆ ตัวคุณก็จะพบความผิดพลาดมากมาย โดยเฉพาะกับสื่อโฆษณาที่ถือเป็นเฟืองตัวสำคัญในการขาย ล้วนแต่เป็นสื่อที่ใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง และฟุ่มเฟือยไปด้วยข้อมูลด้อยประสิทธิภาพ ความล้มเหลวในการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว นอกจากจะนำมาซึ่งความสูญเสียทั้งเวลา แรงงาน และงบประมาณแล้ว ยังทำให้สูญเสีย "โอกาสในการเข้าถึงลูกค้า" อีกด้วยเอาล่ะ...งั้นเรามาลองทบทวนตัวเองกันดูสักนิดไหมว่า การตลาดของคุณเป็นอย่างนี้หรือเปล่า