วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิเคราะห์ การตลาด 2015


วิเคราะห์ การตลาด 2015

โดย ดร. มนธ์สินี กีรติไกรนนท์
       ที่ปรึกษาอาวุโส McKansys (Thailand) Co., Ltd.
      
       “Thailand Tomorrow Techtrend 2015″
      
       ในยุคที่วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีไปไกลกว่าวิถีการดำเนินชีวิต ทำให้ธุรกิจต้องคอยจับตามองหาวิธีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ให้เข้ากับโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้น ธุรกิจจึงต้องติดตามกระแสเทรนด์ทางเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา แต่เนื่องจากทุกวันนี้ มีเทคโนยีเกิดขึ้นใหม่ๆ มากมาย หลั่งไหลเข้ามาจนล้นตลาด บ้างก็กลายเป็น “Buzz Words” หรือศัพท์ทางเทคนิค ให้พูดกันจนเป็นกระแส แต่จะใช้ได้จริงหรือไม่นั้น ต้องดูที่การสร้างมูลค่าทางธุรกิจ (Business Value)
      

       ทั้งนื้ โอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Ecosystem) และ วิถีการดำเนินชีวิตในระดับท้องถิ่นด้วย (Domestic Lifestyle) บางเทคโนโลยี ที่ประสบความสำเร็จในบางประเทศ แต่พอนำไปใช้ในอีกประเทศ อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ และไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควรก็เป็นได้
      
       ดังนั้น นอกจากธุรกิจต้องจับตาดูเทรนด์ต่างๆที่เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ยังต้องสามารถวิเคราะห์ให้ออกว่า เทคโนโลยีประเภทใด ที่มีแนวโน้มจะสร้างโอกาส และมีผลกระทบอย่างสูง ในสภาพแวดล้อมประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการลงทุนและดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการเข้ากับวิถีชิวิตของผู้บริโภคในบ้านเรา
      
       ทั้งนี้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “Thailand Tomorrow Techtrend 2015″ โดยบริษัท มัคคานซิส (ประเทศไทย) ร่วมกับ หน่วยงานเอกชน และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์เมกะเทรนด์มากมายจากหลายสำนักทั่วโลก ซึ่งเป็นเทรนด์ด้านเทคโนโลยี ที่มีผลต่อธุรกิจ ในแง่การเกิดโมเดลธุรกิจใหม่ๆ และการยกเครื่องกระบวนการทั้งหลังบ้านและหน้าบ้านให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

โดยวัดจากโอกาสและผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย เพื่อหาแนวโน้มเทรนด์ที่จะมีอิทธิพลในบ้านเราในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ในที่สุด นักวิเคราะห์มัคคานซิส และนักวิชาการ ได้ร่วมกันตกผลึกออกมาเป็นเทรนด์ 5 ด้านการบริหารจัดการพลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Smart Energy Management) ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการแหล่งพลังงานตั้งแต่กระบวนการผลิต วัตถุดิบ การบรรจุ และการนำส่งเพื่อใช้งาน โดยนักวิเคราะห์มองว่า จะมี 3 functions หลักเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ที่มีการพูดถึงกันมาก และมีแนวโน้มในการนำมาใช้สูง ได้แก่
      
       @@@ Advanced Energy Storage คือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ในรูปแบบของ smart batteries เพื่อพลังงานไฟฟ้า ตลอดจนทางด้านพลังงานทางเคมี (Chemical Fuels) และ พลังงานกลุ่มเคลื่อนที่ (Thermal) ด้วย
      
       @@@ Usage & Utilization ในฝั่งผู้บริโภค ยังคงให้ความสำคัญในการนำพลังงานไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการสร้างพลังงานทางเลือก เช่น 2nd-generation Bio-fuel และ Clean Coal
      
       ส่วนเทคโนโลยีประเภทประหยัดไฟ เช่น LED, Solar, ก็มีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่นการนำThin Film Photovoltaic มาเพื่อการใช้งาน Solar Cell ให้เกิดผลสูงสุด ในอาคารและห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง
      
       @@@ Measurement & Control ในฝั่งผู้ให้บริการด้านพลังงานและไฟฟ้าเอง ก็ให้ความสำคัญในด้านการควบคุมเพื่อลดต้นทุนการผลิต ตัวอย่างเช่นระบบ smart grid และ smart meters ซึ่งใช้กันแล้วในหลายประเทศ และหน่วยงานบางแห่งในประเทศไทยเอง ก็ได้ทำการศึกษาและทดลองใช้แล้วเช่นกัน

ด้านการให้ความเร็วและความเสมือนจริง (Fast Speed and Virtualization) โดยครอบคลุมเทคโนโลยีประเภทการบริหารจัดการดาต้า และการนำส่งข้อมูลให้ฉับไว และสะดวก ง่ายต่อการเข้าถึง โดยหลักๆ Cloud Virtualization การใช้งานคลาวด์ คอมพิวติ้ง ในรูปแบบต่างๆ ตลอดจน การใช้งานข้อมูลในรูปแบบเสมือนจริง (Data Virtualization) ซึ่งธุรกิจสามารถนำไปใช้ทั้งในส่วนของ front end และ back end ตลอดจนกระบวนการสร้างโมเดลทางธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบสนอง lifestyle ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค
      
       ทั้งนี้ นอกจากการพัฒนาสู่ ยุคที่ 2 ของ คลาวด์ ซึ่งเรียกว่า Hybrid Cloud แล้ว ยังมีการพัฒนาในส่วนของเทคโนโลยี Virtualization เพื่อให้สนับสนุนระบบการดำเนินงานและการให้บริการของคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยเฉพาะในตลาด Storage หรือการสำรองและเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งมีการขยายตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นผู้ให้บริการคลาวด์ เริ่มมีภาพการให้บริการที่หลากหลายขึ้น เพื่อเหมาะสมกับความต้องการ ลักษณะการใช้งาน และงบประมาณของลูกค้าได้มากที่สุด
      
       @@@ Advanced Data Storage การบรรจุข้อมูล มีความสำคัญและแนวโน้มของกระแสความต้องการที่แรงไม่ยิ่งหย่อนกว่าการบรรจุภัณฑ์ทางพลังงาน (Energy Storage) ส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการในเรื่อง Big Data Analytics หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ในแง่ของฟังก์ชัน เพราะธุรกิจมีการพูดเรื่อง BI หรือ Business Intelligence มาตั้งนานแล้ว หากแต่เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่พัฒนาถึงขั้นแอดวานซ์ ทำให้สามารถรวบรวมและประมวลข้อมูล จากดาต้าธรรมดาๆ กลายเป็น Big Data เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ขั้นสูง
      
       ทั้งนี้ ต้องขอบคุณระบบ Emerging data storage technologies ที่สร้างความตื่นตัวต่อธุรกิจ storage และ semiconductor และประเทศไทยเองก็เป็นศูนย์กลางการผลิตที่ใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆของโลกในผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ด้วย
      
       @@@ Super Processors & Chipsets จะเห็นได้ว่า หลายๆค่าย ทั้งเจ้าตลาดอย่าง INTEL ตลอดจน AMD และ APPLE ต่างให้ความสำคัญและพัฒนาในเรื่อง “Super Fast” processors จนกระทั้งเกิดการนำแนวคิด Near-Zero มาใช้ในการประมวลผลความเร็ว หมายความว่า ทุกอย่างต้องใกล้เคียงกับ 0 คือแทบจะไม่มีระยะรอยต่อ (lead time) ของกระบวนการประมวลผลเลย
      
       ส่วนหนึ่งจากการพัฒนาของเทคโนโลยีความเร็วอิเล็คโทรนิค และการค้นคว้าในเรื่อง Photonic Technology ซึ่งเป็นรูปแบบของ Optical Communication Circuit ชนิดหนึ่ง ที่มีอานุภาพการนำส่ง
      
       @@@ wavelengths ได้มหาศาล เมื่อนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ เราแทบจะลืมเรื่อง กฎของมัวร์ (Moore’s Law) สมัยที่เคยเรียนมา เพราะการขยายตัวของวงจรต่างๆเชื่อมต่อกัน สามารถเกิดขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น
      
    ด้านการสื่อสารแบบครบถ้วนทุกมิติ (Advanced Communications Interface) ดังที่เริ่มเห็นวิวัฒนาการ การสื่อสารผ่านจอในรูปแบบต่างๆ ที่เข้ามาในระดับคนกลุ่มใหญ่ และในวงการเฉพาะทาง เช่นทางการแพทย์ โดยประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่
      
       @@@ Next-generation Display เทคโนโลยีหน้าจอจะยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และประเทศไทยถือว่าค่อนข้างทันกระแสในการนำมาใช้ อาจเป็นเพราะ เราอยู่ในโซนเอเซียซึ่งเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี Display ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยประเทศหลักๆที่เป็นผู้นำ อย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น และไต้หวัน ทำให้กระแสด้านเทคโนโลยีจอภาพ มีการตอบรับอย่างสูง ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรที่ให้ความสำคัญกับการเสพย์ข้อมูลจากการดู มากกว่า การอ่าน ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมจ่ายมากขึ้น เพื่อให้ได้เทคโนโลยีจอภาพที่ดีกว่า ดังจะเห็นได้จากอัตราการเติบโตของ LCD และ Plasma ในประเทศไทย ซึ่งแทบจะแทนที่จอภาพแบบเดิม โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่
      
       @@@ Haptics and Touch Technology เทคโนโลยีระบบสัมผัส ก็มีการพัฒนามากขึ้น และเข้ามาในประเทศไทยกลุ่มตลาด mass ในรูปแบบของ smart phone และ smart device ต่างๆ
      
       @@@ 3D Scan and Recognition เทคโนโลยี facial scan ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากมีการพัฒนามานานแล้ว แต่ถูกนำมาใช้ในวงจำกัด และเฉพาะทาง แต่ในปัจจุบันเราเริ่มการเข้าสู่ตลาด mass ของ facial scan มากขึ้น เช่น tag suggestion ใน Facebook และเริ่มมีการนำมาใช้ในด้านความงาม หรือแม้แต่ด้านการตลาด โดยมีห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศนำมาใช้สแกนลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย แต่ในประเทศไทย อาจจะยังไปไม่ถึงขั้นนั้น แต่นักวิเคราะห์มองว่า จะเป็นการนำมาใช้ในเรื่องความปลอดภัย และในด้านการแพทย์เป็นหลัก
Source:
http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000110890

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น