วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Benchmarking

Benchmarking

  อภิชา  กิจเชวงกุล   

Benchmarking ด้าน Planning

 


1.  หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

     Benchmarking เป็นศัพท์ในการสำรวจทางธรณีวิทยาที่ใช้ในการวัดระยะโดยเปรียบเทียบกับจุด อ้างอิง ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ พอล โรแบร์ ที่กล่าวว่ามีการนำ Benchmark มาใช้ในการสำรวจธรณีวิทยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S Geological Survey)  และถูกยืมมาใช้ในการพัฒนาระบบการบริหารงานที่ถูกพัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1980 เป็นการวัดระยะ โดยเปรียบเทียบกับจุดที่ใช้อ้างอิง
2.  เครื่องมือนี้คืออะไร /มีองค์ประกองอะไร
    Benchmarking คือ กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณืและวิธีการปฏิบัติทีเ่ป็นเลิศ (Best Practices)  จากองค์กรอื่นภายใต้กฎกติกาสากล โดยมีแนวคิดที่ว่า องค์กรไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ยังมีองค์กรที่เก่างมากกว่าในบางเรื่อง การศึกษาจากประสบการณืตรงขององค์กรอื่นแล้วนำมาประยุกต์ให้เหมาะสม จะช่วยประหยัดเวลาและลดการลองผิดลองถูก (Benchmarking) จึงเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด
3.  เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
        -  เพื่อความยั่งยืนขององค์การ
        -  เพื่อการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด  เป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นนวัตกรรม (Innovation)  ในองค์กร
           ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงปรับปรุงในระยะเวลาอันสั้น
4.  ข้อดี-ข้อเสีย

       ข้อดี.....

             1.  นำข้อมูลมาปรับปรุงองค์กรของตนเพื่อเกิดแนวทางในการปรับปรุงกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ
             2.  เห็นภาพรวมขององค์กรชัดเจนและเกิดการเรียนรู้ที่ดี ๆ จากหน่วยงานอื่น
             3.  เกิดความพร้อมในการรับสภาพต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
        ข้อเสีย....
             1.  บุคลากรต้องรู้รายละเอียดองค์กรอย่างดีเพื่อจะได้ทราบว่าตนมีจุดเด่น หรือจุดด้อยอย่างไร
             2.  ต้องเลือกองค์กรที่ได้รับการยอมรับ เพื่อจะได้นำจุดดีมาปรับปรุง
             3.  ข้อมูลที่เป็นความลับทางองค์กร  ค่อนข้างจะหายาก
             4.  ในบางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลานาน งบประมาณสูง
5.  ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
             1.  การวางแผน
             2.  การวิเคราะห์
             3.  การบูรณาการ
             4.  การปฏิบัติ
6.  มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้างและได้ผลสรุปอย่างไร
         -  รณินทร์  กิจกล้า  ผู้อำนวยการผ่ายการพัฒนาที่ยั่งยืนสถาบันพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชุมชนไทย
         -  ดร.พจน์  พจนพาณิชย์กุล  การบริหารสถานศึกษาสไตล์ Benchmarking
7.  กรณีศึกษา  เช่น Xerox  Corporation  General Electric   General Motor  Miliken  Motorola

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น