วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Case Study : บริษัท ดรีมทีม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNTConsultants
Case Study : บริษัท ดรีมทีม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

โดยนศ..ภิญโญ ธีระสว่างกูล


ธุรกิจดรีมทีม คือ ธุรกิจที่มุ่งมั่นผลประโยชน์อันสูงเด่นให้กับท่านสมาชิก และผู้บริโภค
ด้วยการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชั้นนำ คุณภาพเป็นเลิศจากทั่วโลก มาตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า

บริษัท ดรีมทีม (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2549
ดำเนินธุรกิจแบบเครื่อข่ายที่มั่นคงโปร่งใส เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพสินค้าชั้นนำมาตรฐานระดับโลกจากมือสมาชิกสู่ผู้บริโภค
โดยตรงเปิดช่องทางแห่งการสร้างรายได้ในอนาคตอันมั่งคงแด่หมู่มวลสมาชิกจากทั่วทุกหนแห่งโดยเท่าเทียมกัน
และหัวใจที่สำคัญที่ก่อให้เกิดองค์กรอันเลิศเช่นนี้คือ คณะผู้บริหารที่เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ ความสมารถและวิสัยทัศน์อันกว้างไกล


วิสัยทัศน์ (Vision) สร้างทีมในอุดมคติ เพื่อที่จะให้ทีมนี้เป็นทีมที่ใครๆอยากที่จะเข้ามาร่วมงาน

ภารกิจ (Mission)
1. สรรหาสมาชิกเข้าร่วมธุรกิจ
2. แนะนำระบบเครื่องข่ายที่เข้มแข็ง (MLM)
3. แนะนำแผนการตลาดธุรกิจที่ทำง่ายได้ผลตอบแทนเร็ว
4. จัดหาผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองผู้บริโภคและกลุ่มสมาชิก
5. สร้างรายได้ และมั่นคงให้กลุ่มสมาชิก
6. ปลูกจิตสำนึกและตอบแทนสังคม


2. การวิเคราะห์ธุรกิจด้วยกรอบแนวคิดพลังทั้ง 5 ของ ไมเคิล อี. พอร์เตอร์(The Five Forces Model)
1. การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (Existing Competitors)
ธุรกิจ MLM ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในระดับที่สูงและแต่และธุรกิจจะมีกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้ตลาดส่วนแบ่งมีการแชร์กันออกไป ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันจำเป็นต้องหาจุดขายและแผนกลยุทธ์ต่างๆ มาใช้ในการนำเสนอ
2. คู่แข่งขันรายใหม่ (New Entrants)
ปัจจุบันธุรกิจระบบเครือข่ายมีผู้ร่วมประกอบการเข้ามาในระบบธุรกิจอยู่ตลอดเวลา และจะมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างมาเป็นตัวจุดขาย เพื่อเปิดใจลูกค้าและใช้ในการปิดการขาย ผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่ในระบบอยู่แล้วจำเป็นต้องพัฒนาศักภาพและปรับระบบการขาย การตลาดให้มีจุดขายที่ต่างจากคู่แข่งขันอยู่เสมอเพื่อรักษาตลาดและกลุ่มลูกค้าเก่าพร้อมทั้งต้องสรรหากลุ่มลูกค้าใหม่อยู่เสมอ
3. สิ่งทดแทน (Substitutes)
เมื่อกล่าวถึงความได้เปรียบด้านผลิตภัณฑ์ทดแทน หรือสินค้าที่คุณสมบัติใกล้เคียงกันก็ยังพอมีบ้าง เพราะสินค้าที่ธุรกิจขายอยู่ ความครอบคลุมยังไม่ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ทั้งหมด ซึ่งจุดนี้เองทำให้คู่แข่งจะอาศัยช่องว่างจุดนี้ แทรกแซงผลิตภัณฑ์เข้ามาแข่งขันกันในตลาด และก็แชร์ส่วนแบ่งทางการตลาดไป ดังนั้นธุรกิจต้องสรรหาผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการมาตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดโอกาสที่จะถูกคู่แข่งแย่งกลุ่มเป้าหายไป
4. อำนาจต่อรองของคู่ค้า/ผู้จัดส่งปัจจัยผลิต (Supplier Power)
สำหรับธุรกิจระบบเครือข่ายของบริษัทจะไม่ประสบปัญหาด้านนี้เนื่องจากบริษัท มีโรงงานการผลิตเป็นของตัวเองและผลิตภัณฑ์บางอย่างน้ำเข้าโดยตรง และมีตลาดสินค้ารองรับ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ของบริษัทจึงเป็นผลิตภัณฑ์เฉพาะที่มีเอกลักษณ์พิเศษที่ไม่มีกลุ่มคู่แข่งเลียนแบบได้ และสินค้าบางชนิดจะได้ลิขสิทธ์จำหน่ายแต่เพียงรายเดียวในประเทศ


5. อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ(Buyer Power)
ธุรกิจระบบเครือขายนั้นอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อนั้นมีน้อยมาก เพราะในระบบของธุรกิจนี้ ถ้าผู้ซื้อที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกหรืออยู่ในระบบเครือข่าย อำนาจการต่อรองจะไม่มี แต่หากได้เข้ามาอยู่ในระบบแล้ว การซื้อภายในระบบจะมีส่วนลด และสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาสมาชิก ซึ่งถ้าไม่ใช่สมาชิก ไม่ว่าจะซื้อเป็นจำนวนมากหรือมีการรวมกลุ่มเพื่อต่อรองราคา ก็จะไม่มีผลใดๆ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dnt&month=08-2008&date=24&group=40&gblog=36

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น