วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การบริหารความสามารถหลักขององค์การ (Core Competencies Management)

การบริหารความสามารถหลักขององค์การ (Core Competencies Management)

ความนำ

          หน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้บริหาร คือ การสร้างองค์การให้มีประสิทธิภาพและสนับสนุนการใช้ความสามารถหลัก   หรือความความชำนาญพิเศษขององค์การ เพื่อให้เกิดความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

          เนื่องจากองค์การสามารถทำกิจกรรมดังกล่าวนั้นได้ดีเป็นพิเศษกว่าองค์การอื่น ๆ   แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้กลยุทธ์นั้น  ซึ่งการสร้างให้เกิดความชำนาญเฉพาะเป็นวิธีการที่ดีที่จะทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

          ความสามารถขององค์การที่จะประยุกต์ใช้กลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคลากรภายในองค์การจะต้องมีคุณภาพ  ซึ่งมีทักษะและความสามารถต่าง ๆ ตามที่องค์การต้องการ  รวมไปถึงระบบการบริหารภายในองค์การจะต้องมีประสิทธิภาพด้วย

          การสร้างองค์การที่มีความสามารถ  จะต้องเริ่มที่การมีบุคลากรที่มีความสามารถ ดังนั้นกระบวนการในการคัดเลือกบุคลากร  จะต้องเลือกที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน  เมื่อได้บุคลากรเหล่านั้นมาแล้วก็จะต้องทำการเสริมสร้างทักษะ  ความสามารถ  รวมถึงความสามารถหลักขององค์การตามที่องค์การต้องการ

          Richard Boyatzis ได้ให้ความหมายของความสามารถหลัก หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างโดดเด่นเหนือธรรมดา โดยลักษณะเหล่านั้น ได้แก่ แรงบัลดาลใจ  ลักษณะหรือ ภาพลักษณ์ส่วนบุคคล  บทบาททางสังคม  หรือองค์ความรู้ต่าง ๆ เป็นต้น (The  Competent  Manager, 1982)

“ Those characteristics that differentiate superior from average and poor performance…………motives, traits skill, aspects of one’s self-image or social role, or body of knowledge. ”

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารความสามารถหลักขององค์การ

The  Core  Competence คือ ความรู้สั่งสมที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ  โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ  และสร้างความแตกต่างหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์  ทักษะ และการบูรณาการให้เกิดความหลากหลายทางเทคโนโลยี

ความสามารถหลักขององค์การสามารถมีได้ในหลายลักษณะ เช่น ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  ความสามารถในการผลิต  ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป  ความสามารถในการเป็นผู้นำด้านต้นทุน เป็นต้น

ความสามารถหลักขององค์การ  แบ่งออกได้เป็นประเภทหลัก ดังนี้
          1. ความสามารถหลักด้านการดำเนินงาน (Operation  Competence)
          2. ความสามารถหลักด้านนวัตกรรม (Innovation  Competence)
          3. ความสามารถหลักด้านการตลาด (Market-Access  Competence)

ตัวอย่างการบริหารความสามารถหลัก คือ ความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ของ sony ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมหรือการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ของ บริษัท 3M   ความสามารถหลักของ Intel คือ การเป็นผู้นำตลาดในเรื่องของการผลิตชิปคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

แนวคิดเรื่อง Competency นำมาใช้ในองค์การเพื่อ

          1. ใช้ในการคัดเลือกและคัดสรรบุคลากร (Recruitment  and  selection ) การคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้ามาทำงานในองค์การ  และการเลือกสรรบุคลากรเหล่านั้นให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่  ที่เหมาะสมกับความสามารถของบุคลากรเหล่านั้น  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ

          2. ใช้ในการฝึกอบรมและการพัฒนา (Training  and  Development) การฝึกอบรมและพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของบุคลากรในองค์การ  เป็นการสร้างและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในองค์การ

          3.ใช้ในการให้รางวัล (Reward)


หลักการสำคัญในการบริหารความสามารถหลัก

          การกำหนด Competency นั้น  เพื่อกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่องค์การจะคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในองค์การ   ซึ่ง Competency สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ โดย E.Cripe และ R.Mansfield ได้จำแนกไว้ในหนังสือ The  Value-Added  Employee เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.ความสามารถในการจัดการตนเอง ได้แก่ ความมั่นใจ  ความคล่องตัว

2.ความสามารถในการจัดการผู้อื่น ได้แก่ ภาวะผู้นำ  การสื่อความหมายและการโน้มน้าว  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นต้น

3.ความสามารถในการจัดการธุรกิจ ได้แก่ การป้องกันและแก้ปัญหา  การวิเคราะห์  การคิดแบบผู้ชำนาญการณ์  ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

M. McCall ได้นำเสนอความสามารถหลัก (Competency) 11 ประการ สำหรับผู้บริหารองค์การข้ามชาติ ดังนี้ คือ

1.การเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา
2.การปฏิบัติตนอย่างซื่อตรง
3.การปรับตัวได้ในวัฒนธรรมแวดล้อมที่แตกต่างกัน
4.การมีความเชื่อมั่นในความแตกต่างและการเปลี่ยนแปลงเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
5.การแสวงหาความรู้อย่างกว้างขวางในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วย
6.การนำศักยภาพที่ดีที่สุดของคนในองค์การมาใช้ให้ได้
7.การมองประเด็นในทุกแง่และมีมุมมองใหม่เสมอ ๆ
8.กล้าคิดที่จะตัดสินใจแม้มีความเสี่ยง
9.การแสวงหาและใช้ประโยชน์จากข้อมูลป้อนกลับทุกเรื่อง
10.การเรียนรู้จากความผิดพลาด
11.การเปิดรับต่อคำวิพากษ์วิจารณ์

การกำหนด Competency ในภาคปฏิบัติ นั้นสามารถจำแนก ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

          1. Core  Competency คือ Competency ที่เป็นหลักขององค์การนั้น ๆ โดยทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน  เพราะความสามารถและคุณสมบัติที่โดดเด่นเหล่านี้  จะเป็นตัวผลักดันให้องค์การบรรลุความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

          2. Technical  Competency คือ Competency ที่กำหนดสำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะงาน  ซึ่งมีขั้นตอนความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือคาดหวัง   competency ประเภทนี้จะสะท้อนถึงความลึกซึ้งของความสามารถที่บุคลากรต้องมี  ก่อนที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่

          3. Professional  Competency คือ Competency ที่พนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามสายงาน

องค์ประกอบความสามารถหลัก ประกอบด้วย

1. Natural คือ สิ่งที่ได้มาแต่กำเนิด (Underlying  traits)

2. Acquired คือ ความรู้และทักษะที่ได้รับมาในภายหลัง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ และไมได้เป็นพรสวรรค์ตามธรรมชาติ

3. Adapting คือ การปรับปรุง  ปรับเปลี่ยน  ปฏิภาณ  หรือความสามารถตามธรรมชาติ และความรู้ทักษะที่ได้รับมา

4. Performing คือ พฤติกรรมที่แสดงออกมา  หรือสังเกตได้  หรือผลผลิตที่ออกมา

http://www.aircadetwing.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5374856&Ntype=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น