วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Case Study: True Corporation



ดร.ดนัย เทียนพุฒ

Dr.Danai Thieanphut

Managing Director

DNT Consultants


***********************************


Case Study: True Corporation


นศ. กิตติพันธ์ ละม่อม



บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)


วิสัยทัศน์ (Vision)

การเป็นผู้ให้บริการด้านการสื่อสารครบวงจรและมุ่งตอบสนองต่อลูกค้าเป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นผู้ให้บริการหนึ่งเดียวของประเทศที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน ระบบสื่อสารไร้สาย อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และผลิตภัณฑ์และบริการด้านเนื้อหาต่างๆอย่างหลากหลาย

พันธะกิจ (Mission)

แนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งประกอบด้วย

เชื่อถือได้

- เราซื่อตรงและให้เกียรติทุกคนและร่วมกันทำงานเพื่อความสำเร็จร่วมกัน

- เราสื่อสารอย่างซื่อตรงและเน้นถึงประโยชน์ของบริษัทเป็นสำคัญ

- เราพยายามทำในสิ่งที่เหมาะที่ควรเพื่อลูกค้าของเรา

- เราพร้อมจะตัดสินใจและรับผิดชอบในการกระทำของเรา

สร้างสรรค์

- เราพยายามเสาะหาแนวคิดใหม่ๆ และวิธีการใหม่ๆ ซึ่งจะนำมาซึ่งผลิตภัณฑ์และบริการที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ

- เราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานร่วมกัน

- เราทำงานด้วยความท้าทายซึ่งทำให้ธุรกิจของเราพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าเหนือผู้อื่น

เอาใจใส่

- เราเชื่อมั่นว่าพนักงานของเราคือสินทรัพย์ที่มีค่ายิ่งของบริษัท

- เราตั้งใจจะทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคีและมอบสิ่งที่ถูกที่ควรให้กับลูกค้า เพื่อนร่วมงาน และคู่ค้าของเรา

- เราปฏิบัติต่อผู้อื่นในลักษณะเดียวกับที่เราอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา

- เรายอมรับผลงานและยินดีในความสำเร็จของกันและกัน

- เราสร้างสัมพันธภาพที่ยั่งยืนกับคู่ค้าของเรา

กล้าคิดกล้าทำ

- เรามีความปรารถนาที่แน่วแน่เพื่อพัฒนาบริษัทของเราและเป็นผู้นำในตลาดการค้า

- เราปฏิบัติงานด้วยความเด็ดเดี่ยว ประเมินความเสี่ยงอย่างสุขุมและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด

- เราตระหนักดีว่าโอกาสเกิดจากความรับผิดชอบและความรู้สึกเป็นเจ้าของในงานนั้นๆ


เป้าหมาย (Goal)

การเป็นผู้นำ Convergence lifestyle enabling ผ่านบริการทั้งหมดของกลุ่มซึ่งมีครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น Wire line หรือ Wireless ตั้งแต่โทรศัพท์พื้นฐาน, WE PCT บรอดแบนด์, อินเทอร์เน็ต และรวมไปถึงการให้บริการเคเบิ้ลทีวี บริการต่างๆเหล่านี้ เป็นช่องทางที่จะทำให้เราสามารถเติมเต็มชีวิตของลูกค้าทุกกลุ่มให้ครบถ้วน รวมถึงการให้บริการโซลูชันทางธุรกิจ ทั้งแก่ลูกค้าองค์กรและลูกค้า SME

วิเคราะห์ทัศนภาพ Scenario Analysis

การวิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร

1. การเมืองไทย

ท่ามกลางอุณหภูมิการเมือง ที่ภาคประชาชนและเครือข่ายนักวิชาการ ตลอดจนกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยังเดินหน้าประกาศจัดกิจกรรมและขึ้นเวทีชุมนุม เพื่อเรียกร้องให้นายกฯทักษิณ "วางมือการเมือง" โดยการขับเคลื่อนมีต่อเนื่อง ในขณะที่พรรคไทยรักไทยและคนในรัฐบาล ต่างยกเอา "การเลือกตั้ง" และให้ประชาชนเป็นฝ่ายตัดสินว่าจะให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำงานการเมืองต่อไปหรือไม่ แต่ตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คนในไทยรักไทยต่างอึดอัด ไม่รู้ว่าหัวหน้าพรรคจะตัดสินใจอย่างไร เพราะเมื่อถูกสื่อจี้ถามก็บอกว่าแล้วจะมีคำตอบเร็วๆ นี้ ซึ่งความไม่ชัดเจนก็ส่งผลสะเทือนกับแผนการหาเสียงของพรรคด้วย เพราะเสียงสะท้อนจากคนชนบทต่างสอบถามบรรดาอดีต ส.ส.ที่ลงพื้นที่ถึงท่าทีชัดเจนว่าตกลงจะเว้นวรรคหรือจะเป็นนายกฯต่อไป นอกจากกระแส "ไม่เอาทักษิณ" ที่ยังขยายตัวไปไม่หยุดแล้ว ตัวแปรทางด้านคดียุบพรรคก็ยังเป็นสิ่งที่ฉุดความรู้สึกคนในไทยรักไทย ให้เกิดหวั่นไหวในอนาคตด้วย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคลื่นใต้น้ำในไทยรักไทยจากบรรดากลุ่มมุ้งต่างๆ ที่มีการเตรียมหาทางหนีทีไล่ ทั้งการจัดตั้งพรรค "นอมินี" ไว้รองรับเฉพาะกิจ อีกทั้งความพยายามจะหาตัวตายตัวแทน พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะหากไม่ถึงที่สุดก็ไม่จำเป็นต้องสละพรรคทิ้ง เนื่องจากไทยรักไทยยังมีจุดสามารถขายได้ ทั้งนโยบายประชานิยมที่คนในชนบทยังให้ความนิยมสูง สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการพยายามผลักดัน นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ขึ้นนั่งตำแหน่ง "นายกฯนอมินี" เห็นได้จากการปล่อยข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง แม้คนใกล้ชิดพวกสายตรงนายกฯทักษิณ จะออกมาเบรกและบอกเสมอว่าหลังเลือกตั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ถึงจะตัดสินใจอนาคตการเมืองของตัวเองก็ตาม ประการหนึ่ง ที่กลุ่มมุ้งในพรรค อยากให้มีการปรับเปลี่ยน ก็เพราะวิเคราะห์แล้วว่าหากพ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงนั่งตำแหน่งนายกฯต่อไป การต่อต้านก็ไม่หมดสิ้น และอาจทวีรุนแรงถึงขั้นแตกหัก สู้ให้เว้นวรรคและปล่อยให้แก้ไขรัฐธรรมนูญปฏิรูปการเมืองแล้วค่อยกลับมาก็จะเหมาะสมกว่า แต่ท่าทีของ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับนิ่งเฉย และดูเหมือนว่าจะไม่รับเงื่อนไขการเมืองแบบนี้ด้วย ! ส่วนหนึ่งจะว่าไปแล้ว เป็นการคัดค้านจากกลุ่มสายตรง "จันทร์ส่องหล้า" ที่เกรงว่าหากนายสมคิดขึ้นสู่ตำแหน่ง อำนาจในไทยรักไทยจะเสียศูนย์และถูกยึดกุมจากกลุ่มที่สนับสนุนนายสมคิด ทั้งนี้แหล่งข่าวในไทยรักไทย ระบุว่า กลุ่มวังน้ำยมของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน ที่มีอดีตส.ส.อยู่ในก๊วนกว่าร้อยคนให้การสนับสนุนนายสมคิดเต็มกำลัง และมีการพบปะกันบ่อยครั้ง ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เลขาฯพรรค ก็หันเอียงมาข้างนี้ ด้วยเหตุที่เกิดขัดแย้งกับหัวหน้าพรรคในหลายๆ เรื่อง โดยชนวนสำคัญแว่วว่ามาจากเรื่อง "สนามบินสุวรรณภูมิ" เป็นหลัก และยิ่งแตกแยกเมื่อครั้งพ.ต.ท.ทักษิณ ถือหางข้าง นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล หรือ "เฮียเพ้ง" รองเลขาฯพรรค นั่งรักษาการ รมว.คมนาคม หนุนให้เฮียเพ้งไปดูแลเรื่องรถไฟฟ้าใต้ดิน 3 สาย หักหน้านายสุริยะอย่างเจ็บปวด ยังไม่นับรวมกลุ่มมุ้งอื่นๆ ที่เริ่มรวมตัวตั้งป้อมกับกลุ่มสายตรงของพ.ต.ท.ทักษิณ ดังนั้นในไทยรักไทยจึงมีอาการคลื่นใต้น้ำ ล่าสุด น.ต.ศิธา ทิวารี โฆษกพรรคไทยรักไทย ได้ออกมายืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณยังลงเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 1 และเป็นหัวหน้าพรรคต่อไป ดังนั้นทุกนโยบายของพรรคต้องขับเคลื่อนต่อไป ในอนาคตการจะรับตำแหน่งการเมืองใดๆ หรือไม่ เป็นสิทธิส่วนบุคคลของพ.ต.ท.ทักษิณที่จะตัดสินใจ ส่วนความชัดเจนในการลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของนายสมคิด ที่มีข่าวว่าจะไม่ลงสมัคร ซึ่งเท่ากับตัดสิทธิจะเป็น "นายกฯนอมินี" เพราะการโหวตเลือกนายกฯต้องเป็นส.ส.เท่านั้น ในเรื่องนี้ น.ต.ศิธา ตอบว่า นายสมคิดยังเป็นหนึ่งในประธานคณะกรรมการรณรงค์การประชาสัมพันธ์เลือกตั้ง มีส่วนคิดแคมเปญการเลือกตั้ง ซึ่งมีความสำคัญกับพรรค ฉะนั้นเมื่อทำงานเลือกตั้งให้กับพรรคแล้ว คงไม่มีเหตุผลอะไรที่ท่านจะไม่ลงสมัคร "ณ ปัจจุบันท่านยังมีใจและยินดีที่จะร่วมกับงานของพรรคไทยรักไทย อย่างไรก็ตามการตัดสินใจสุดท้ายต้องขึ้นอยู่ที่ตัวของท่าน" กระนั้นก็ดี ความเห็นจากฝ่ายสายตรงของนายกฯทักษิณ อย่าง น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณีที่มีแกนนำพรรคบางคนออกมาสนับสนุนนายสมคิด ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หาก พ.ต.ท.ทักษิณ เว้นวรรคทางการเมือง ว่า ทุกคนมีสิทธิสนับสนุนกันได้ แต่เชื่อว่าจะไม่ทำให้ประชาชนสับสน เพราะในกระบวนการประชาธิปไตย มีความแตกต่างเกิดขึ้นได้ "จุดนี้ก็เป็นข้อยืนยันอีกครั้งว่า ความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ทำกันอย่างไร เป็นเรื่องธรรมดา ในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศที่เจริญแล้ว เวลาที่ส่งตัวแทนชิงตำแหน่งประธานาธิบดีก็มีการต่อสู้กันภายในพรรค แต่พอใครได้เป็นแล้วก็ช่วยเหลือกัน ให้เกียรติกัน" ท่าทีเช่นนี้ ไม่ต่างอะไรเลย เป็นการเฉไฉกลบเกลื่อนคลื่นใต้น้ำในพรรค ที่กลุ่มมุ้งภายในรวมตัวส่งสัญญาณขอเปลี่ยน "นายกฯคนใหม่"

ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com/2006/09/06/news_21514945.php?news_id=21514945

2. เศรษฐกิจ ขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือค่ายเอกชน ทั้ง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส และบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ต่างเร่งออกแคมเปญมารับอนาคตการประกาศใช้อัตราค่าเชื่อมโครงข่าย (อินเตอร์คอนเน็คชั่น ชาร์จ หรือไอซี) ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. วานนี้ (5) เอไอเอสออกมาบอกว่า กำลังเริ่มต้นตอกย้ำแบรนด์อีกครั้ง หลังผ่านสงครามราคาอันหนักหน่วงช่วงกลางๆ ปีมาแล้ว ด้วยการเลือกนักร้องค่ายอาร์เอส "ลิเดีย-ศรัณย์รัชต์ วิสุทธิธาดา" เป็นพรีเซ็นเตอร์ประจำแบรนด์วัน-ทู-คอล สะท้อนภาพวัยรุ่น สดใส รักอิสระ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งการมีตัวแทน หรือพรีเซ็นเตอร์ประจำแบรนด์ จะช่วยให้ลูกค้าจำแบรนด์ได้ดีขึ้น ในอดีต แบรนด์วัน-ทู-คอล เคยใช้บริการ "ปาล์มมี่" อีฟ ปานเจริญ เป็นพรีเซ็นเตอร์ประจำแบรนด์ ซึ่งหลายๆ คนยังจำภาพโฆษณาของเธอท่ามกลางฝูงโลมาได้ และเอไอเอสก็ยังคงสนับสนุนการออกคอนเสิร์ตของเธออยู่เนืองๆ การเริ่มต้นใหม่กับการเลือกตัวแทนแบรนด์วัน-ทู-คอล เอไอเอส ยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ เพราะผู้บริหารบอกอย่างหนักแน่นว่า วางแผนไว้แล้วว่าจะขยายการใช้พรีเซ็นเตอร์ประจำแบรนด์ไปที่จีเอสเอ็ม แอดวานซ์ และสวัสดี ด้วย แต่ต้องคัดเลือกพรีเซ็นเตอร์สะท้อนแบรนด์อีกระยะ ฝั่งดีแทค ก็ประกาศชูยุทธศาสตร์สนับสนุนให้แฮปปี้มีจุดจำหน่ายมากที่สุดในอนาคต รับการประกาศใช้ค่าไอซีเช่นกัน ด้วยการเปิด "เครือข่ายหน้าร้านบนมือถือ" หรือแมสซีฟ เวอร์ช่วล ดิสทริบิวชั่นของ “แฮปปี้ ออนไลน์” บริการเติมเงินผ่านมือถือ โดยอาศัยมือถือเป็นหน้าร้าน ไม่ใช่ขายผ่านร้านขายมือถือ ทำให้ประหยัดต้นทุนไปเยอะ แถมยังมีร้านเติมเงินมือถือเพิ่มขึ้นมหาศาล เพราะผู้ใช้บริการมือถือทุกราย ล้วนสามารถเป็นผู้ให้บริการเติมเงินได้ทั้งสิ้น พร้อมกับเหตุผลว่า ราคาจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญของการแข่งขันอีกต่อไป หลังประกาศใช้ค่าไอซี เพราะราคาจะเข้ามาใกล้เคียงกัน ดังนั้น ความสะดวกจึงเป็นเรื่องสำคัญ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางเล็กๆ น้อยๆ จะมีพลังมหาศาล หันกลับไปมองหน่วยงานด้านสื่อสารโทรคมนาคมของรัฐ ทั้ง บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม ที่เคยเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศไทยกันบ้าง จนถึงวันนี้ ทิศทางจะไปทางไหนก็ยังไม่แน่ชัด จะควบรวม หรือต่างคนต่างทำธุรกิจ ล้วนยังหาที่สิ้นสุดไม่ได้ แม้ต่างฝ่าย ต่างจะเร่งกำหนดกลยุทธ์การทำธุรกิจ แตกแขนงไปสู่บริการอื่นๆ แต่ก็ยังไม่แจ่มชัด ทิศทางธุรกิจของทั้งคู่ ยังคงต้องรอการพิสูจน์ ขณะที่ผลการดำเนินงานซึ่งรายงานออกมาล่าสุด ก็มียอดที่ลดลงๆ รายรับหลักๆ ยังอยู่ที่การพึ่งพาส่วนแบ่งรายได้จากภาคเอกชน ที่ได้รับสัญญาร่วมการงานในยุคขยายบริการระบบสื่อสารโทรคมนาคมเฟื่องฟู รายงานผลประกอบการที่ออกมาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า หากไม่มีรายรับส่วนนี้ องค์กรทั้งคู่มีโอกาสรายได้ติดลบอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งภาพที่คนนอกมองเข้าไปยังสององค์กรนี้ ก็ดูจะอาการหนักหนาสาหัส ยิ่งปล่อยทิ้งไว้ก็มีแต่จะถดถอย ดังนั้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้มแข็ง และแข็งแกร่งขององค์กร จะควบรวมหรือไม่ จะกำหนดทิศทางธุรกิจอย่างไรต้องออกมาให้ชัด ไม่ใช่ซื้อเวลา จนกระทั่งวันสุดท้ายมาเยือนอย่างรวดเร็วเกินคาด มรกต คนึงสุขเกษม morakot@nationgroup.com ที่มา :http://www.bangkokbiznews.com/2006/09/06/news_21514431.php?news_id=21514431

3. สังคมและวัฒนธรรม ปัจจุบันสภาพทางสังคมของไทยได้เปลี่ยนไปมากมีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ทำให้ผู้คนสบายขึ้นทั้งในเรื่องของการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน การศึกษา การติดต่อสื่อสาร เป็นต้นเมื่อมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้วัฒนธรรมการดำรงชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปทุกสิ่งที่ทำต้องอาศัยและพึ่งพาเทคโนโลยีต่างๆ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ทำเกี่ยวกับสิ้นค้าทางเทคโนโลยีจึงพัฒนาและผลิตสินค้าต่างๆเพื่อการตอบสนองที่เพียงพอต่อความต้องการเหล่านั้น และสิ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกต่างๆเป็นต้นว่า โทรศัพท์มือซึ่งต้องอาศัยระบบสัญญาณในการติดต่อซึ่งเปลี่ยนมาจากการที่ติดต่อด้วยจดหมาย หรือการเดนทางไปพบด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทที่ต้องใช้สัญญาณหรือระบบเชื่อมต่อเช่นกันซึ่งมาแทนที่การศึกษาหาความรู้จากตำราที่ต้องใช้เวลาในการค้นคว้า การสื่อสารอีเมลที่ส่งข้อมูลได้มากมายและรวดเร็วส่งแล้วได้รับทันทีการสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ทที่มีทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน เป็นต้น นันทนาการและบันเทิงที่ส่งถึงบ้านหรือระบบสัญญาณโทรทัศน์ยูบีซีที่แทนการชมภาพยนตร์หรือสารคดีจากโรงภาพยนตร์ที่ปกติต้องเช่าจากร้านเช่า เป็นต้น

4.เทคโนโลยี ในช่วงปีที่ผ่านมากระแสเกี่ยวกับการใช้งานระบบโทรศัพท์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตนั้นไดเข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานของธุรกิจหรือองค์กร ในชื่อต่างๆกัน เช่น Internet Telephony, IP Telephony, VoIP ( Voice over IP ) , VoWLAN ( Voice over Wireless LAN ) , VoBB ( Voice over Broadband ) และ IP PBX แต่มีลักษณะการทำงานและมาตรฐานที่แตกต่างกัน โดยวัตถุประสงค์หลักคือใช้งานโทรศัพท์ผ่านทางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเน็ตเวิรค์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันผ่านโปรโตคอล TCP / IP เพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการใช้งานโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นการโทรทางไกลในต่างจังหวัด ระหว่างสาขา ระหว่างประเทศ โทรศัพท์ผ่านคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ หรือระหว่างคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์พื้นฐานธรรมดา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการใช้งานโครงหลักหรือโครงข่ายเดิมที่มีอยู่ การใช้งานโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อของ VoIP หรือ Voice over IP ซึ่งรองรับทั้งการใช้งานในลักษณะที่เป็นเสียงพูดธรรมดาและการใช้งานในลักษณะของโทรสาร ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในพื้นฐานของเทคโนโลยีที่เรียกว่า IP Telepony ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการนำเอาข้อมูลของเสียงพูด โทรสารหรือข้อมูลอื่นที่เดิมเคยใช้งานผ่านทางระบบโครข่ายโทรศัพท์สาธารณะหรือที่เราเรียกว่า PSTN ( Public Switched Telephone Network ) โดยใช้เทคโนโลยีของวงจรสวิทช์แบบเดิม ( Circuit Switching ) ซึ่งในปัจจุบันได้ล้าสมัยลงและมีต้นทุนต่อการใช้งานที่สูงรวมถึงมีข้อจำกัดด้านการใช้งานสื่อ ( Media) ในลักษณะที่ไม่สามารถแชร์ใช้ร่วมกันได้ โดยมาแปลงให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลที่เป็นแพคเก็ต Packet เพื่อให้สามารถส่งผ่านไปในระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเน็ตเวิร์คที่ใช้เทคโนโลยีของแพคเกตสวิทช์ (Packet Switching) และการสวิทช์ข้อมูล (Data Switching) และแชร์การใช้งานสื่อโดยอาศัยพื้นฐานของอินเตอร์เน็ตโปรโตคอลหรือ TCP / IP ได้ ทำให้ข้อจำกัดเรื่องการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่าย ต้นทุนการใช้งานและการดูแลรักษาลดลง เพราะต้นทุนของการใช้งานโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างต่ำและเป็นค่าใช้จ่ายที่คงที่และเชื่อมต่อถึงกันทั่วโลกโดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม การพยายามลดต้นทุนด้านการใช้งานโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่าย PSTN โดยนำโครงข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้งานให้เป็นประโยชน์จะเห็นได้จากการเริ่มใช้งานโปรแกรมประเภทห้องสนทนาหรือ Chat Room เช่น Talk, IRC ( Internet Relay Chat) หรือโปรแกรมประเภทกระดานข่าวอิเล็คทรอนิคส์หรือ Webboard จนไปถึงโปรแกรมประเภทส่งข้อความส่วนบุคคลประเภท Instant Messenger เช่น ICQ, AOL Intstant Messenger, MSN, Qnext, Yahoo! Messenger, Jabber ซึ่งเริ่มแรกสามารถรับส่งได้เฉพาะข้อความ รูปภาพ และไฟล์ข้อมูล และมีการพยายามพัฒนาให้สามารถส่งเสียงในลักษณะของ Digital voice ได้แต่ยังคงมีข้อจำกัดด้าน Banwidth โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ใช้ตามบ้านซึ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตประเภท Dial-up อีกทั้งเทคโนโลยีการส่งข้อมูลเสียงยังไม่ดีพอจึงไม่สามารถรองรับการสนทนาแบบโต้ตอบในทันที ( real time) ที่ต้องการ Bandwidth ที่สูงได้ เมื่อโครงข่ายอินเทอร์เน็ตได้ขยายตัวขึ้นและมีการให้บริการอินเตอร์ความเร็วสูงกันอย่างแพร่หลาย ก็ได้มีการพัฒนาโปรแกรมประเภท IM ให้มีความสามารถทางด้านเสียงและมีการพัฒนาเพื่อให้สามารถสนทนาโต้ตอบในทันทีได้ขึ้นมา ซึ่งโปรแกรมตัวที่เป็นที่รู้จักดีและมีชื่อเสียงได้แก่ Skype ที่นิยมกันอย่างรวดเร็วเพราะเป็นฟรีแวร์และสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี จุดนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้งานและพัฒนาระบบ VoIP แบบส่วนบุคคล ซึ่งส่งผลให้มีการพัฒนาซอฟแวร์ในลักษณะเดียวกันตัวอื่นขึ้นมา เช่น Google Talk, MSN และ Yahoo! Messenger ในด้านการใช้งานในเชิงธุรกิจเดิมเทคโนโลยีด้าน VoIP ได้ถูกพัฒนาภายใต้มาตรฐานของ Video Conference ซึ่งจะรองรับทั้งการใช้งาน เสียง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูล โดยกลุ่มประชุมของ Video Conference Forum มีบริษัทใหญ่เช่น Cisco, VocalTec, 3COM และ Netspeak เข้าร่วมอยู่ด้วยโดยได้สร้างมาตรฐาน H.323 ขึ้นเพื่อรองรับการส่งข้อมูลเสียงและวีดีโอโดยใช้ IP และองค์การโทรคมนาคมแห่งชาติสหรัฐหรือ ITU (International Telecommunication Union) ได้ประกาศรับรองให้เป็นมาตรฐานของระบบการประชุมผ่านวิดีโอ (Video Conference) โดยการใช้งานนั้นจะต้องใช้ Real-time Protocol (RTP) เพื่อช่วยให้การส่งข้อมูลเสียงนั้นสามารถควบคุมเวลาให้ไปถึงตรงตามความเป็นจริงซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากที่จะรับประกันคุณภาพของการส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จึงต้องมีการกำหนดคุณภาพของการให้บริการบนระบบเครือข่าย หรือ QoS ( Quality of Service ) ขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาเสียงติดขัดหรือช้ากว่าความเป็นจริงได้ ซึ่งนี่เองเป็นสิ่งที่ยากที่สุดในการจัดการระบบ Video Conference เพราะในระหว่างทางที่จะส่งข้อมูลเสียงไปนั้นอาจมีบางจุดที่ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของการส่งข้อมูลได้ ดังนั้นปัจจุบันจึงมีผู้ให้บริการเครือข่ายเฉพาะเพื่อรองรับการใช้โทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเรียกว่า ITSP ( Internet Telephony Service Provider ) เพื่อให้บริการส่งข้อมูลที่ควบคุมคุณภาพการให้บริการได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางเลยทีเดียว ที่มา :http://www.ksc.net/item.aspx?channel=3&item=1214&page=16

วิเคราะห์สถานการณ์ภายในองค์กร

1. สถานการณ์ทางด้านการตลาด

ทรูมูฟเปิดแผยไตรมาส 4 เน้นรักษาฐานลูกค้า และทำตลาดแบบไลฟ์สไตล์ตามนโยบายคอนเวอร์เจนท์ ด้วยการการออกแคมเปญชิงเงิน 100 ล้านบาท หวังใช้เป็นแม่เหล็กดึงดูดใจลูกค้า หลังไตรมาส 3 ลูกค้าใหม่ไหลเข้าสูงถึง 2.65 ล้านราย

นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาดและการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงผลประกอบการไตรมาส 3 ปีนี้ว่า ทรูมูฟมียอดผู้ใช้บริการสูงกว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมารวมกัน โดยมีลูกค้าเพิ่มสูงสุด 1.4 ล้านราย หรือประมาณ 1 ใน 3 ของยอดลูกค้าใหม่ทั้งหมด ทำมีฐานลูกค้ากว่า 6.8 ล้านราย สูงกว้าเป้าที่ตั้งไว้ภายในปีนี้ 5.7 ล้านราย และมีรายได้จากค่าบริการสิ้นสุดไตรมาส 3 อยู่ที่ 5,715 ล้านบาท หรือโตขึ้น 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีบริการนอนวอยซ์ที่มียอดผู้ใช้บริการเสียงรอสายหรือคัลเลอร์ริงโทน 1.3 ล้านราย จีพีอาร์เอส 1.3 ล้านราย ซึ่งบริการนอนวอยซ์หากคิดเป็นรายได้ถือว่าโตมากคือจบไรมาส 3 โตถึง 70% หรือมีมูลค่าประมาณ 586 ล้านบาท คิดเป็นรายได้ 10% ของรายได้ทั้งหมด

ส่วนตลาดโดยรวมสิ้นสุดไตรมาส 3 มียอดผู้ใช้มือถือทั้งหมด 36.7 ล้านราย หรือคิดเป็น 56% ของประชากร และมีโอกาสเพิ่มขึ้นเป็น 80% เพราะตลาดต่างจังหวัดยังมีโอกาสโตอีกมาก ส่วนลูกค้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นสุทธิในไตรมาสนี้ 2.65 ล้านราย สำหรับส่วนแบ่งตลาดเอไอเอส 49% ดีแทค 31% ทรูมูฟ 18%

ด้านเครือข่ายทรูมูฟใช้งบในปีนี้ 7,000 ล้านบาท ทำให้ขณะนี้มีพื้นที่ครอบคลุมกว่า 92% คือผู้ใช้ 100 คน ใช้ได้ 92 คน ถือว่าใกล้เคียงกับคู่แข่ง ซึ่งจะใช้เรื่องของเครือข่ายเป็นจุดขายที่จะสร้างราคาสูงกว่าตลาดอีกต่อไปไม่ได้แล้ว

จากความสำเร็จของทรูมูฟเมื่อช่วงไตรมาส 3 ผู้บริหารกลุ่มทรูกล่าวย้ำว่า มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์คอนเวอร์เจนท์ ไลฟ์สไตล์ และการทำ โปรโมชันที่รวมบริการที่มีความโดดเด่นต่างๆ ในกลุ่มทรูเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นแนวทางการเติบโตอย่าต่อเนื่องของทรูมูฟในตลาดได้เป็นอย่างดี ด้วยการคิดค้นรูปแบบแคมเปญการตลาดที่แปลกและแตกต่าง จึงทำให้มีการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี เช่น แคมเปญยูบีซีเอเอฟ 3 และการเปิดแคมเปญทรูไลฟ์พลัส มิติใหม่ของนวัตกรรมการบริหารด้วยยูบีซีทรูมูฟ ฟรีวิว

นายอริยะ พนมยงค์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ทรูมูฟ กล่าวถึงแผนงานช่วงไตรมาส 4 ว่า ทรูมูฟจะเน้นการรักษาฐานลูกค้า และทำตลาดแบบไลฟ์สไตล์เป็นหลัก สำหรับการรักษาฐานลูกค้าจะมีการออกแคมเปญให้ลูกค้าทั้งโพสต์เพดและพรีเพดร่วมชิงเงิน 100 ล้านบาท ทั้งนี้ หากเป็นโพสต์เพด 1 บิลคิดเป็น 1 สิทธิ์ หรือการเติมเงิน 1 ครั้งถือเป็น 1 สิทธิ์ ในการร่วมชิงรางวัล นอกจากนี้ ยังเปิดให้ซื้อซีดีอัลบั๊ม Love to Share ในราคาพิเศษ รวมถึงการทำ True Transfer ที่โอนทั้งเงิน แอร์ไทม์ และวันได้

ส่วนเรื่องไลฟ์สไตล์ เร็วๆ นี้ทรูมูฟมีแผนจะออกซูเปอร์ซิม ซึ่งเป็นซิมที่ให้ประโยชน์มากกว่าซิมที่มีอยู่ในท้องตลาด ขณะเดียวกันก็จะมีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับดาวรุ่งลูกทุ่งที่มีการเปิดตัวไปก่อนหน้านี้ และจะมีการทำแพกเกจเอสเอ็มเอสราคาถูกสำหรับกลุ่มที่ชอบส่งข้อความ เป็นต้น 2. สถานการณ์เทคโนโลยี ทรู ปักธงผู้นำอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ของไทย ขยายศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ ครบวงจรแห่งใหม่ ณ เมืองทองธานี เพิ่มศักยภาพศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะ พร้อมคุณภาพระดับโลก ISO 20000 เล็งเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดกลาง - ใหญ่กรุงเทพฯ 18 กันยายน 2550 - บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด ตอกย้ำผู้นำด้าน อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ครบวงจร ประกาศเปิดศูนย์อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (IDC) แห่งที่ 2 ศูนย์เมืองทองธานี ด้วยคุณภาพมาตรฐาน ISO 20000 ระดับโลก พร้อมนำเสนอบริการใหม่ หลากหลายกว่าเดิม ตอบโจทย์ความต้องการบริการแบบ Total ICT Solutions ของลูกค้าองค์กรขนาดกลางและใหญ่ ชูจุดเด่นศูนย์ไอดีซีครบวงจรแห่งเดียวในไทยที่มีระบบสำรองการทำงานของระบบโครงข่ายหลัก (Redundant Core Network) เพิ่มความมั่นใจและปลอดภัยสูงสุด

นายทรงธรรม เพียรพัฒนาวิทย์ ผู้อำนวยการบริหารด้าน Corporate Solutions, Wholesales & Data บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “จากความต้องการของลูกค้าองค์กรที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี ทรูได้ขยายศูนย์อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ เป็นแห่งที่ 2 เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์แบบครบวงจร รองรับระบบเครือข่ายและ ข้อมูลของลูกค้า รวมทั้งเป็นระบบสำรอง ซึ่งสามารถทำงานทั้งร่วมกัน และทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยหากระบบในศูนย์ใดมีปัญหา ระบบในอีกศูนย์ก็สามารถรองรับการทำงานได้ทันที ทรู ไอดีซี จึงเป็นศูนย์ไอดีซีแห่งเดียวในไทยที่มีระบบสำรอง (Redundant Core Network) เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าที่ใช้บริการของทรู รวมทั้งบริษัทในเครือ นอกจากนี้ ทรู ไอดีซี ยังได้มาตรฐานรับรอง ISO 20000 ซึ่งเป็นเครื่องหมาย รับประกันคุณภาพการบริการด้านไอทีที่ได้มาตรฐานสากล ลูกค้าทรูไอดีซี จึงมั่นใจได้ถึงคุณภาพในการบริการ การเปิดศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ ครั้งนี้จึงเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นที่จะยกระดับบริการของทรู และตอกย้ำวิสัยทัศน์คอนเวอร์เจนซ์ของกลุ่มทรู โดยเฉพาะในด้าน Network Convergence

นายเจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ศูนย์เมืองทองธานี ตั้งอยู่ที่ชั้น 8 อาคารเจนีวา เมืองทองธานี มีพื้นที่รวม 2,600 ตารางเมตร เป็นพื้นที่เฉพาะห้องดาต้าเซ็นเตอร์ 3 ห้อง พื้นที่รวมประมาณ 1,200 ตารางเมตร ระบโครงสร้างพื้นฐานมีการออกแบบและวางระบบเป็นอย่างดี พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ที่ทำงานทดแทนในจำนวนที่เหนือกว่ามาตรฐานศูนย์ไอดีซีทั่วไป ลูกค้าจึงไว้วางใจได้ว่าระบบและอุปกรณ์สำคัญจะอยู่สภาพแวดล้อมและการดูแลที่สมบูรณ์แบบที่สุด นอกจากนี้ยังมีศักยภาพพร้อมรองรับบริการใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น อาทิ

• บริการศูนย์สำรองและกู้คืนข้อมูล (Disaster Recovery (DR) Solution Service)

• ระบบบริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ (Online Backup/ Online Storage Service)

• ระบบบริการเพื่อการจัดเก็บและเรียกใช้ไฟล์ข้อมูลบนเว็บ (NetDisk by True)

• ระบบให้บริการการประชุมทางไกลแบบครบวงจร (Managed VDO Conference)

ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ มีบริการครบวงจร รองรับความต้องการของลูกค้าองค์กรอย่างเต็มที่ อาทิ บริการรับฝากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์ (Co-location) บริการจัดการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้เช่า (Dedicated Server Service) บริการ Web Hosting บริการพื้นที่เก็บข้อมูลส่วนตัวขององค์กร และบริการป้องกันความปลอดภัยข้อมูล (Security & Firewall) รวมถึงบริการจัดโซลูชั่นตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะราย (IDC Solution Service) เป็นต้น ที่มา:ผู้จัดการออนไลด์;http://www.thaimobilecenter.com/promotion/promotion_news_detail.asp?nid=70

3. ผลประกอบการ

ทรูมูฟโชว์สุดยอดผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2550 ยอดผู้ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 9.1 ล้านราย รายได้เติบโตกว่า 75%กรุงเทพฯ 22 สิงหาคม 2550 --ทรูมูฟ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น โชว์ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ประจำปี 2550 มียอดลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 953,000 ราย ดันยอดลูกค้ารวมทะยานถึง 9.1 ล้านราย ซึ่งเพิ่มขึ้น 68% จากปลายไตรมาสที่ 2 ปี 2549 และทำให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็นประมาณ 20% ของจำนวนผู้ใช้บริการในตลาดรวมทั้งหมด ประกาศรายได้รวมจากค่าบริการจำนวน 8.73 พันล้านบาทเพิ่มขึ้นกว่า 75% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา เผยบทพิสูจน์ความสำเร็จกลยุทธ์คอนเวอร์เจนซ์ ไลฟ์สไตล์ และโครงข่ายสัญญาณครอบคลุมกว่า 92% ของประชากรทั่วประเทศ พร้อมการเติบโตอย่าง ก้าวกระโดดของบริการ Non-Voice จากกลยุทธ์การตลาดเชิงไลฟ์สไตล์ คาดยอดลูกค้าพุ่ง ต่อเนื่องตลอดถึงสิ้นปี

นายสุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาดและการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า กลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากผลการประกอบการของทรูมูฟในไตรมาส 2 ปี 2550 ฐานลูกค้าทรูมูฟเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 953,000 ราย จากไตรมาสที่ผ่านมา 558,000 ราย ส่งผลให้มียอดรวมลูกค้าทั้งสิ้น 9.1 ล้านราย และมีรายได้รวมทั้งสิ้น 8,737 ล้านบาท (รวมค่าเชื่อมโยงเครือข่าย) เพิ่มขึ้น 75.6% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2549 นอกจากนี้ บริการเสริมต่างๆ และ Non-Voice นับเป็นบริการที่สร้างรายได้ให้ทรูมูฟอย่างแข็งแกร่ง โดยรายได้จาก non-voice เติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 635 ล้านบาท เติบโต 35.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าใช้จ่ายตัดจ่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวคือ 105.5% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งค่าเชื่อมโยงโครงข่ายลดลง

ผลประกอบการในครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จจากการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

• การตลาดเชิงไลฟ์สไตล์ ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้าทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการนำเสนอ Exclusive Content เติมเต็มวิสัยทัศน์คอนเวอร์เจนซ์ ไลฟ์สไตล์ของทรู

• การผสมผสานบริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในกลุ่มทรู ทำให้ทรูมูฟสามารถนำเสนอบริการที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น และเพิ่มความสะดวกสบายสูงสุดให้ลูกค้า

• กิจกรรมการตลาดตรงสู่กลุ่มลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

• ความเชื่อมั่นในคุณภาพและความครอบคลุมของเครือข่ายทรูมูฟ โดยที่มีการลงทุนพัฒนาศักยภาพของสัญญานอย่างต่อเนื่องให้เทียบเท่ากับผู้ให้บริการรายอื่น โดยปัจจุบันเครือข่าย ทรูมูฟครอบคลุม 92% ของประชากรทั่วประเทศ

“อย่างไรก็ตาม“ในปี 2550 ทรูมูฟยังคงมุ่งมั่นที่จะนำเสนอกลยุทธ์การตลาดที่เน้นไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยมีเราแผนนำเสนอแคมเปญหลากหลายตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันของกลุ่มลูกค้า รวมทั้งมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมบริการแบบคอนเวอร์เจ้นซ์ Convergence ระหว่างบริการต่างๆ ในกลุ่มทรู ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่เหนือกว่าคู่แข่ง ทั้งนี้ ทรูมูฟส่วนแบ่งตลาดในยอดผู้ใช้บริการรายใหม่ของไตรมาส 2 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า เป็น 26% และสำหรับส่วนแบ่งตลาดผู้ใช้บริการโดยรวมในปีนี้คาดว่าจะเติบโตขึ้นเป็นกว่า 20% จาก 19.3% ณ ปลายปีที่แล้ว ในภาพรวมแล้ว ทรูมูฟและตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 1 ใน 3 ของการเติบโตของตลาดโดยรวม” นายสุภกิจกล่าวทิ้งท้าย

ที่มา: http://www.truecorp.co.th/eng/news/news_detail.jsp?id=361





บทวิเคราะห์ธุรกิจ

ในธุรกิจนี้นำทฤษฏี 3C มาใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้

Competitors การแข่งขัน

การแข่งขันเมื่อผู้ที่จะเข้าแข่งขันนั้นมีความพร้อมจึงเป็นผู้ที่ได้เปรียบกว่าคู่แข่งด้วยเหตุนี้ทรูจึงเป็นองค์การในระบบสื่อสารที่มีความมั่นคงกว่าระบบอื่นๆ ถึงแม้จะเป็นการก้าวเข้ามาแข่งขันช้ากว่า เพราะว่าทรูมีระบบที่ให้การบริการมากมายหลายอย่างที่คู่แข่งไม่มี

จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ลูกค้าส่วนใหญ่เปลี่ยนการใช้บริการจากระบบอื่น เพราะเมื่อลูกค้าใช้บริการระบบอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถที่จะรับสิทธิพิเศษที่จะรับบริการเพิ่มเติมในระบบ

ถ้าดูจากการแข่งขันแล้วมีเพียงบางส่วนที่ยังสู้กับระบบอื่นยังไม่ได้ก็จะเป็นการให้บริการถึงลูกค้าในส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าสำคัญเช่นกัน


Customers กลุ่มลูกค้า

เมื่อทรูเปิดระบบเข้าสู่ตลาดการแข่งขันอย่างเต็มตัวจึงมีลูกค้าทุกกลุ่ม คือ สามารถครอบคลุมทุกกลุ่มทุกวัยเพราะการบริการที่หลากหลายทำให้ผู้ที่ใช้บริการสามารถลือกรับการบริการส่วนใดส่วนหนึ่งหรือรับการให้บริการทุกรูปแบบได้

เพราะจะได้ระบบผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ทำให้ทรูสามรถเพิ่มปริมาณกลุ่มลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและรักษาเอาไว้ได้




Cost ต้นทุนต่ำ

ทรูใช้ระบบที่พัฒนาจากระบบสื่อสารพื้นฐานหรือการสื่อสารใช้สายเดิมแล้วเพิ่มการให้บริการส่วนอื่นเข้าไปอีกทีหนึ่ง

จึงเป็นระบบสื่อสารที่ลงทุนอยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ และคุ้มค่าเพราะการลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่สามารถให้บริการได้หลายรูปแบบได้ จึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มและให้ผลการตอบแทนที่รวดเร็วและมากกว่าการสื่อสารเพียงระบบเดียว

ข้อเสนอแนะ

ในการสื่อสารที่จะสามารถรักษาและเพิ่มจำนวนกลุ่มลูกค้าได้คือ ต้องมีการให้บริการที่ครอบคลุมและให้บริการตามความต้องการของลูกค้า ทรูจึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความพึงพอใจสูงจากกลุ่มผู้รับบริการ

แต่ยังมีบางส่วนที่ยังเข้าไปให้บริการยังไม่ทั่วถึง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางทรูต้องเร่งเข้าติดตั้งและขยายระบบให้ทั่วถึงต่อไป

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dnt&month=08-2008&date=24&group=40&gblog=29

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น