วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผู้นำกับความเข้าใจการทำงานของสมอง


Leadership # 15


ผู้นำกับความเข้าใจการทำงานของสมอง


รศ.สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์


http : // suthep. ricr. ac.th


เราได้ทราบจากบทความใน Leadership # 14 ของ website นี้แล้วว่า พฤติกรรมการเป็นผู้นำก็ดี หรือการเป็นผู้บริหารก็ดี มีส่วนสัมพันธ์กับการทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้ายตามลำดับ โดยสมองทั้งสองส่วนจะทำงานร่วมกัน แต่ด้านใดถูกใช้มากน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรม แต่สมองทั้งสองส่วนอาจทำหน้าที่เสริมต่อกันเหมือนเป็นหุ้นส่วนที่ช่วยทำให้กิจกรรมนั้นของมนุษย์สำเร็จสมบูรณ์ได้ ตัวอย่างเช่น


- นักกวีต้องใช้สมองซีกขวาในการสร้างบรรยากาศทางอารมณ์เกิดภาพจินตนาการที่งดงามของเรื่องที่ต้องเขียน จากนั้นสมองซีกซ้ายจะคัดเลือกถ้อยคำมารองรับให้สอดคล้องกับอารมณ์นั้น หรือ


- ผู้บริหารจำนวนไม่น้อยที่สามารถมองเห็นคำตอบของปัญหายาก ๆ ผุดขึ้นอย่างไม่รู้สึกตัวขณะนั่งพักผ่อน จากนั้นสมองซีกซ้ายจะรับช่วงต่อด้วยการคิดรายละเอียดของวิธีการที่ให้ได้คำตอบตามนั้นหรือ


- สถาปนิกใช้สมองซีกขวาในการสร้างความผสมกลมกลืนของรูปแบบ (มิติสัมพันธ์) กับความงดงามเชิงสุนทรีย์เข้าด้วยกัน จากนั้นสมองซีกซ้ายจะรับงานต่อโดยการคิดคำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้าง ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยของสิ่งก่อสร้างนั้นหรือ


- นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องใช้สมองซีกซ้ายเพื่อวิเคราะห์เชิงเหตุผล (deductive reasoning) แต่ขณะเดียวกันสมองซีกขวาก็จะคิดเชิงหยั่งรู้มองเห็นภาพรวมมาจากความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ๆ จึงทำให้สามารถแก้ปัญหายาก ๆ ที่มีความสลับซับซ้อนมากได้สำเร็จ เป็นต้น


ต่อไปนี้จะขอสรุปการทำงานเฉพาะด้านของสมองทั้งสองซีก ดังนี้


การทำงานของสมองซีกซ้าย (Left Brain)


เน้นถ้อยคำ : ควบคุมการพูด, การอ่าน , การเขียน, การจดจำข้อเท็จจริง,


(Verbal) จำชื่อ, จำการสะกด



ด้านวิเคราะห์ : คิดเชิงเหตุผล, มุ่งการวิเคราะห์, ประเมินข้อเท็จจริงโดยใช้เหตุผล


(Analytical)


ด้านแปลข้อความ : ใช้การตีความตามตัวอักษร


(Literal)


คิดแบบเส้นตรง : จัดกระทำข้อสารสนเทศเป็นลำดับขั้นตอน ทีละขั้น


(Linear)


คิดเชิงคณิตศาสตร์ : ใช้ตัวเลข, จำนวน, สัญลักษณ์เพื่อการคำนวณ ประมาณการหรือคาดคะเนโดย


(Mathematical) ใช้หลักคณิตศาสตร์ชั้นสูง


การควบคุมอวัยวะ: ควบคุมสั่งการการเคลื่อนไหวอวัยวะด้านขวาของร่างกาย


(Controls movement)



การทำงานของสมองซีกขาว (Right Brain)



ไม่เน้นถ้อยคำ : สมองจะมองสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็น “รูปภาพ” มากกว่า “ถ้อยคำ”


(Non – verbal)


คิดแบบองค์รวม : สมองซีกขวาจะประมวลข้อมูลจำนวนมากได้พร้อมกันสามารถ


(Holistic, non-leaner) มองปัญหาแบบองค์รวม, สามารถประเมินปัญหาทั้งหมดได้ทันที, จดจำ


สิ่งของหรือคนได้จากรูปร่างหน้าตา, มองเห็นภาพแบบองค์รวม, ทำหน้า


ที่สังเคราะห์ (Synthesis)



เห็นด้านมิติสัมพันธ์ : สามารถรับความเกี่ยวข้องเชิงมิติสัมพันธ์ได้ดี, รู้ตำแหน่ง/ทิศทาง, เล่นเกม


(Spatial) ต่อภาพ (jigsaw) ได้ดี, ไม่หลงทางในเมืองใหญ่



ด้านดนตรี : มีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี สามารถรับรู้ / สร้างสรรค์ดนตรีได้ดี


(Musical) เป็นลักษณะเฉพาะของสมองซีกขวา แม้การฝึกทักษะดนตรีจะเกิดทาง


ซีกซ้ายก็ตาม


มีจินตนาการ : สามารถสร้างภาพในฝัน , การผูกเรื่องขึ้นมา, การรู้วิธีการเล่น


(Imaginative) และชอบคิดแบบ “สมมุติว่า….. แล้ว…”


คิดเชิงจิตวิญญาณ : สมองซีกขวาทำงานเกี่ยวกับความเชื่อ, ความเลื่อมใสศรัทธา,


(Spiritual) เรื่องลี้ลับต่าง ๆ


การฝัน : การฝัน, ความใฝ่ฝัน ถือเป็นงานหลักของสมองซีกขวา


(Dreaming)


การควบคุมอวัยวะ : ควบคุม สั่งการการเคลื่อนไหวอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย


(Control movement)



แนวคิดเรื่องสมองโดยรวมของเฮอร์มานน์ (Herrmann’s whole brainconcept)


แม้ว่าแนวคิดการแบ่งสมองมนุษย์ออกเป็นสองส่วนคือ สมองซีกซ้าย (left-brain) กับสมองซีกขวา (right – brain) สามารถนำมาใช้อธิบายวิธีการคิดและการตัดสินใจของคนเราได้ดังกล่าวมาแล้วแต่ในแง่สรีระวิทยาแล้วไม่สามารถกล่าวได้ว่าถูกต้องทั้งหมด ทั้งนี้เพราะในขณะหนึ่งขณะใดมนุษย์ต้องใช้สมองทั้งสองส่วนเพื่อการคิด เพียงแต่ว่าเรื่องใดใช้สมองด้านใดมากน้อยกว่ากันเท่านั้น


Ned Herrmann ได้ขยายแนวคิดดังกล่าวให้กว้างขวางออกไป ซึ่งเรียกว่า “แนวคิดเรื่องสมองโดยรวม(Whole brain concept)” โดยเชื่อว่า มนุษย์เราไม่เพียงคิดด้วยสมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวาเท่านั้น แต่ยังมีการคิดเชิงมโนทัศน์กับการคิดเชิงประสบการณ์ (conceptual versus experiential thinking) อีกด้วย ดังนั้น Herrmann จึงเสนอรูปแบบแนวคิดเรื่องสมองโดยรวม โดยแบ่งสมองออกเป็น 4 ส่วน (quadrants) แต่ละส่วนของสมองจะทำหน้าที่หรือมีแบบ (style) การคิดที่แตกต่างกันขึ้น 4 แบบ ซึ่งผู้อ่านสามารถตรวจวัดว่าตนเองเด่นการคิดแบบใด โดยใช้เครื่องมือวัดชื่อ Herrmann Brain Dominance Instrument(HBDI) ต่อไปนี้จะเป็นฉบับย่อของเครื่องมือดังกล่าวขอให้ท่านทดลองทำ






ชื่อ : แบบฝึกหัดตรวจหาแบบการคิด (What is your thinking style)


คำอธิบาย : คำต่อไปนี้เป็นคุณลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับสมองทั้ง 4 ส่วนตามแนวคิดเรื่องสมองโดยรวมของ Herrmann ขอให้ท่านคิดพิจารณาว่าท่านใช้วิธีใดในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ นอกจากนี้ขอให้ท่านคิดเพิ่มเติมว่าเลือกใช้วิธีใดในการทำงานอยู่เสมอ และ ท่านปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างไร ขอให้ท่านเลือกคำตอบดังกล่าวโดยการขีดเส้นใต้คำที่ท่านเลือกข้างล่างจำนวนเพียง 10 คำซึ่งท่านเชื่อว่าตรงกับวิธีคิดของท่านดังนี้




A


B


C


D



วิเคราะห์ (analytical)


จัดระเบียบ (organized)


เป็นมิตร (friendly)


องค์รวม (holistic)



ข้อเท็จจริง (factual)


วางแผน (planned)


ต้อนรับ (receptive)


จินตนาการ (imaginative)



กำกับ (directive)


ควบคุม (control)


ศรัทธา (enthusiastic)


หยั่งรู้ (intuitive)



เข้มงวด (rigorous)


รายละเอียด (detailed)


เข้าใจ (understanding)


สังเคราะห์ (synthesizing)



เป็นจริง (realistic)


อนุรักษ์(conservative)


แสดงออก (expressive)


ใคร่รู้ (curios)



A


B


C


D



สติปัญญา(intellectual)


มีวินัย (disciplined)


เห็นใจ (empathetic)


ต่อเนื่อง (spontaneous)



อย่างถูกต้อง(objective)


เน้นปฏิบัติได้ (practical)


ไว้ใจ (trusting)


ยืดหยุ่น(flexible)



รอบรู้ (knowledgeable)


ทุ่มเท (industrious)


รับรู้ไว (sensitive)


ใจกว้าง (open – minded)



แจ่มใส (bright)


ยืนหยัด (persistent)


มีอารมณ์ (passionate)


มโนทัศน์ (conceptual)



ชัดเจน (clear)


ลงมือทำ (implementor)


ความเป็นมุนษย์(humanistic)


ผจญภัย (adventurous)




หมายเหตุ : - คำในแถว A เกี่ยวกับการคิดเชิงเหตุผลและคิดวิเคราะห์ (สมองส่วน A ดังภาพ)


- คำในแถว B เกี่ยวกับการคิดจัดระเบียบคิดรายละเอียด (สมองส่วน B ดังภาพ)


- คำในแถว C เกี่ยวกับการคิดเชิงอารมณ์และเห็นอกเห็นใจ (สมองส่วน C ดังภาพ)


- คำในแถว D เกี่ยวกับการคิดเชิงบูรณาการและจินตนาการ(สมองส่วน D ดังภาพ)


ท่านค้นพบตนเองว่า ท่านมีแบบการคิดที่เด่นแบบใด (ใช้สมองส่วนใดมากที่สุด) หรือท่านมีแบบการคิดสมดุลทั้งสี่แบบ ขอให้ท่านนำผลไปตรวจสอบแบบภาวะผู้นำของตนเองต่อไป






ภาพแสดง Hermann’s Whole Brain Model






Hermann’s Whole Brain Model











กกH



A
Upper left



D


Upper right


B


Lower left



C


Lower right


Logical


Analytical


Fact – based


Quantitative



Holistic


Intuitive


Integrating


Synthesizing


Interpersonal


Felling – based


Kinesthetic


Emotional


Organized


Sequential


Planned


Detailed




SOURCE : NedHermann, Thewhole brain Business book, (New Yourk : McGraw – Hill, 1996), 15.


การตรวจสอบแบบภาวะผู้นำด้วย Hermann’s Whole Brain Model


แนวคิดเรื่องสมองโดยรวมของเฮอร์มานน์ มีประโยชน์ในแง่ช่วยสะท้อนภาพวิธีการคิดของบุคคล ซึ่งมีผลต่อการแสดงพฤติกรรม วิธีสื่อสารและภาวะผู้นำของบุคคลนั้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้


สมองส่วน A ซึ่งเป็นสมองด้านบนซีกซ้าย (Upper left)


เป็นสมองส่วนที่คิดเกี่ยวกับด้านเหตุผล (Logical thinking ) การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง (Analytical of facts) และจัดกระทำเกี่ยวกับตัวเลข (Processing numbers) ผู้ที่อยู่ในส่วน A จะเป็นผู้ที่ยึดหลักเหตุผลและความเป็นจริง มีความคิดเชิงวิเคราะห์ ชอบทำงานเกี่ยวกับตัวเลข และงานเทคนิคต่าง ๆ คนแบบนี้เป็นคนใคร่รู้ว่าสิ่งต่างๆ ทำงานได้อย่างไร และมีขั้นตอนตามลำดับเชิงเหตุผลอย่างไร


ผู้นำที่อยู่ในส่วน A จะมีแนวโน้มแบบการคิดที่แสดงพฤติกรรมของผู้นำแบบกำกับหรือแบบเผด็จการ (authoritative) เป็นผู้นำที่มุ่งงานสูงชอบกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและสารสนเทศเชิงปริมาณที่เป็นรูปธรรม และมักจะมองว่าความคิดเห็นและความรู้สึกไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับข้อเท็จจริง


สมองส่วน B ซึ่งเป็นสมองด้านล่างซีกซ้าย (Lower left)


เป็นสมองส่วนที่คิดเกี่ยวกับการวางแผน(planning) การจัดระบบข้อมูล (organizing facts) และการตรวจสอบรายละเอียด ผู้ที่มีลักษณะการคิดแบบส่วน B จะเป็นผู้ที่มีความเป็นระเบียบ ประณีต และวางใจได้ เป็นผู้ที่ชอบทำแผน กำหนดขั้นตอนการทำงานและมีกรอบเวลาการทำงานที่แน่นอน


ผู้นำที่มีวิธีการคิดตกอยู่ในส่วน B จะมีลักษณะอนุรักษ์นิยมและยึดมั่นในกรอบของขนบธรรมเนียมเดิม ชอบหลีกเลี่ยงถ้าต้องตัดสินใจที่เสี่ยง แต่จะยึดหลักรักษาสถานภาพเดิมให้มั่นคง ยืนยันต้องให้ทุกคนปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัดไม่ว่าสภาวะแวดล้อมจะเป็นเช่นไรก็ตาม

สมองส่วน C ซึ่งเป็นสมองด้านล่างซีกขวา (Lower right)


เป็นสมองส่วนที่คิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal relationships) ด้านกระบวนการคิดเชิงหยั่งรู้(Intuitive) และการคิดที่เกี่ยวกับอารมณ์ทั้งหลาย ผู้ที่มีลักษณะการคิดแบบส่วน C จะเป็นผู้ที่ไวในการรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น มีผู้ที่รู้สึกสนุกถ้าได้ปฎิสัมพันธ์หรือสอนผู้อื่น เป็นผู้ที่ชอบการแสดงออกและแสดงอารมณ์ ชอบออกสังคมและงานช่วยเหลือผู้อื่น


ผู้นำที่มีวิธีการคิดตกอยู่ในส่วน C จะมีแบบภาวะผู้นำที่มีลักษณะพฤติกรรมของความเป็นมิตร ไว้วางใจ และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นผู้นำที่ให้ความใส่ใจต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงานมากกว่าตัวงานหรือกระบวนการทำงานจึงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและฝึกอบรมผู้ใต้บังคับบัญชา


สมองส่วน D ซึ่งเป็นสมองด้านบนซีกขวา (Upper right)


เป็นสมองส่วนที่คิดเกี่ยวกับการสร้างมโนทัศน์(conceptualizing) การสังเคราะห์ (synthesizing) การบูรณาการข้อเท็จจริง (integrating facts) การสร้างกรอบรูปแบบ(Pattern) เป็นบุคคลที่มีทักษะการมองเห็นภาพรวมมากกว่ารายละเอียดปลีกย่อย ผู้ที่มีลักษณะการคิดแบบส่วน D มักชอบสร้างวิสัยทัศน์ (visionary) และมีจินตนาการ (imaginative) ชอบคาดการณ์ไม่ค่อยชอบระเบียบกฎเกณฑ์มากนัก เป็นคนกล้าเสี่ยงและบางทีมองเป็นคนใจร้อน เป็นคนที่กระหายใคร่รู้ชอบการทดลองและรักสนุก


ผู้นำที่มีวิธีการคิดตกอยู่ในส่วน D จะเป็นผู้ที่ชอบมองแบบองค์รวม มีจินตนาการ และรักการผจญภัย เป็นผู้นำที่ชื่นชอบการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ชอบทดลองกล้าได้กล้าเสีย และไว้วางใจให้ผู้ร่วมงานมีอิสระและคล่องตัวในการทำงานได้เต็มที่


รูปแบบแสดงกระบวนการคิดของสมอง 4 ส่วนตามภาพที่แสดงนั้น ผลการวิจัยของเฮอร์มานน์พบว่าแต่ละรูปแบบการคิดมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยต่อผู้นำ กล่าวคือไม่มีรูปแบบใดดีหรือเลวกว่ารูปแบบใด แม้ว่ารูปแบบนั้นจะสุดโต่งไปในทางไม่พึงประสงค์ก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะการที่บุคคลมีรูปแบบการคิดเด่นอยู่รูปแบบหนึ่งก็ย่อมมีส่วนผสมของอีก 3 รูปแบการคิดอยู่ด้วย ดังนั้น ถ้าผู้นำมีรูปแบบการคิดเด่นอยู่ที่แบบ A ก็อาจมีลักษณะของอีกหนึ่งรูปแบบหนึ่งที่เหลือหรือมากกว่าหนึ่งรูปแบบ ช่วยสนับสนุนให้การแสดงภาวะผู้นำเกิดประสิทธิผล ตัวอย่างเช่น ผู้นำที่มีรูปแบบการคิดเด่นอยู่ที่แบบ A อาจมีรูปแบบการคิดแบบ C ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องสัมพันธภาพ ย่อมส่งผลให้ผู้นำคนนี้ให้ความเอื้ออาทรต่อความรู้สึกของผู้ร่วมงานด้วย แม้ว่าลักษณะเด่นของผู้นำจะเป็นผู้มุ่งงานเน้นข้อเท็จจริงและตัวเลขสูงก็ตาม


นอกจากนี้ เฮอร์มานน์ยังเชื่อว่า คนเราสามารถที่จะเรียนรู้การใช้สมองโดยรวม (Whole brain) มากกว่าที่จะเลือกใช้เพียง 1 หรือ 2 รูปแบบการคิดเท่านั้นผลวิจัยชี้ว่ามีผู้นำน้อยมากที่มีสภาพสมดุลของการใช้รูปแบบการคิดครบทั้ง 4 แบบ แต่ผู้นำที่ตระหนักรู้ถึงรูปแบบเด่นของตน จะสามารถเลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนส่งเสริมการคิดหรือพยายามหาประสบการณ์ที่ต้องอาศัยการคิดของสมองส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติม เฮอร์มานน์ยังพบว่าผู้นำส่วนใหญ่ที่สามารถก้าวถึงตำแหน่งสูงสุดขององค์การมักจะมีภาวะสมดุลของการใช้สมอง กล่าวคือ พบว่า CEO จะใช้อย่างน้อยที่สุด 2 รูปแบบ แต่ปกติจะใช้ 3 รูปแบบ และที่พบว่าใช้ครบทั้ง 4 รูปแบบก็มีเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ผู้นำจึงสามารถมีทางเลือกได้หลายทาง เมื่อจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจให้เหมาะสมในแต่ละกรณี การที่ผู้นำมีรูปแบบการคิดกว้างครอบคลุมหลายรูปแบบย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเป็นผู้นำระดับสูงขององค์การทั้งนี้เพราะต้องรับผิดชอบต่อปัญหาทั้งด้านงาน และด้านคนซึ่งมีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น


การที่ผู้นำมีความเข้าใจว่ามนุษย์เราแต่ละคนมีรูปแบบการคิดที่แตกต่างกันนั้นย่อมช่วยให้ผู้นำสามารถปฏิบัติกับผู้ตามแต่ละคนได้อย่างเหมาะสม แทนที่จะเข้าใจผิดคิดว่าวิธีเดียวสามารถใช้ได้กับทุกคนทั้งนี้เพราะผู้ตามบางคนรักความอิสระเสรีและต้องการความยือหยุ่นในขณะที่บางคนชอบทำงานอยู่ในกรอบของกฎกติกาอย่างเคร่งครัด จึงชอบที่จะทำตามคำสั่ง เป็นต้น




ผลการวิจัยทางสมองกับการจัดการศึกษา
มีข้อพึงสังวรณ์อย่างยิ่งก็คือการวิจัยทางสมองเกิดขึ้นในประเทศซีกโลกตะวันตกแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบสังคมอุตสาหกรรมมีลักษะการทำงานแบบจักรกล ที่เน้นความรวดเร็วมีระบบตายตัวและมุ่งที่ประสิทธิภาพของงานเป็นหลัก ในขณะที่วัฒนธรรมของซีกโลกตะวันออกเป็นแบบสังคมเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ที่ยังถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างกัน ยังมีความใกล้ชิดและเอื้ออาทรต่อกันสูง ประเด็นที่ชวนคิดก็คือ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทั้งสองแบบนี้ส่งผลให้การใช้สมองซีกซ้ายและซีกขาวเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ระบบและแนวคิดทั้งหลายที่ใช้ในการจัดการศึกษาในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมาของไทย เป็นการรับอิทธิพลจากตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ จากผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมแบบตะวันตก มีการใช้สมองซีกซ้ายมากเกินไป ทำให้ผู้เรียนสูญเสียการพัฒนาความสามารถคิดเชิงหยั่งรู้ (intuitive power) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่มาจากการใช้สมองซีกขาวต้องลดน้อยลงไป ดังจะเห็นที่โรงเรียนให้ความสำคัญเรื่องการจำข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตลอดจนความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้านักเรียนคนใดเกิดเสนอความคิดของตนแบบฝันกลางวัน หรือ การคิดในมุมมองแปลกใหม่ที่ใคร ๆ ไม่ทำกัน ซึ่งมาจากการคิดที่ต้องใช้สมองซีกขวา ก็มักไม่เป็นที่ยอมรับของครู เป็นต้น ยิ่งกว่านั้น การเน้นการใช้สมองซีกซ้ายยังครอบงำต่อการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา ตลอดจนวิชาชีพต่าง ๆ ตัวอย่างเช่นการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีคิดเชิงเหตุผลที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเป็นต้น จึงมีผู้กล่าวว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ในสังคมของสมองซีกซ้าย (left – brain society) ที่ละเลยต่อความสามารถหรือพลังแห่งจินตนาการที่มาจากการทำงานของสมองซีกขวาไป


อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการชื่อ Howard Gardner (1983) ได้บุกเบิกการนำเสนอความคิดใหม่เกี่ยวกับการใช้สติปัญญาที่มาจากสมองของมนุษย์ ในทฤษฎีของเขาชื่อ”พหุปัญหา” (Multiple intelligent) ว่าสมองของมนุษย์สามารถสร้างสติปัญญาได้หลายด้าน แต่ละด้านจะทำงานเสริมกัน มีการทำงานด้านสติปัญญาของสมองร่วมกันหลายด้าน ซึ่งจะทำให้มนุษย์สามารถปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อนได้ดี สติปัญญาแต่ละด้านมีดังนี้


1. สติปัญญาด้านดนตรี (musical intelligence)


เป็นความสามารถสูงทางดนตรี สามารถเข้าใจและผลิตจังหวะ ทำนองมีความซาบซึ้งการแสดงออกทางดนตรี การวิเคราะห์ด้านดนตรี ได้แก่กลุ่มนักดนตรี นักแต่งเพลง นักวิจารณ์ดนตรีและนักแสดง เป็นต้น






2. สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ


(bodily – kinesthetic intelligence)


เป็นความสามารถสูงในการใช้ร่างกายแสดงความคิด ความรู้สึก การใช้มือประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ความคล่องแคล่ว ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวต่อประสาทสัมผัส ได้แก่กลุ่มนักกีฬา นักแสดง นาฎกร นักปั้น ช่าง ศัลยแพทย์ เป็นต้น






3. สติปัญญาด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์


(logical –mathematical intelligence)


เป็นความสามารถในการใช้ตัวเลข การเห็นความสัมพันธ์ แบบแผน ตรรกวิทยา การคิดเชิงนามธรรม การคิดเชิงเหตุผลและการคาดการณ์ ได้แก่ กลุ่มนักคณิตศาสตร์ นักบัญชี นักสถิติ นักวิทยาศาสตร์ นักตรรกศาสตร์ นักจัดทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น






4. สติปัญญาด้านภาษา(linguistic intelligence)


เป็นความสามารถสูงในการใช้ภาษา ได้แก่ กลุ่มนักพูด นักเขียน นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์บรรณาธิการ นักเจรจาต่อรอง เป็นต้น






5. สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (spatial intelligence)


เป็นความสามารถสูงในการเห็นพื้นที่ การคิดปรับปรุง การใช้พื้นที่ ความไวต่อสี เส้น รูปร่าง เนื้อที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเหล่านี้ ได้แก่ สถาปนิก มัณฑนากร ศิลปิน นักประดิษฐ์ ผู้นำทาง เป็นต้น






6. สติปัญญาทางด้านการเข้ากับผู้อื่น (interpersonal intelligence)


เป็นความสามารถสูงในการเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและเจตนาของผู้อื่น ความไวต่อการสังเกตทั้งน้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง ความสามารถรู้ถึงลักษณะต่าง ๆ ของสัมพันธภาพของมนุษย์ และตอบสนองได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพที่จะทำให้คนอื่นปฏิบัติตามได้แก่ กลุ่มนักแนะแนว นักการเมือง นักประชาสัมพันธ์ ครู พิธีการ เป็นต้น


7. สติปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (intrapersonal intelligence)


เป็นความสามารถสูงในการรู้จักตนเอง และประพฤติปฏิบัติตนจากการเข้าในตนเอง เข้าในในอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความปรารถนาของตน รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนตามสภาพจริง ได้แก่ กลุ่มนักเขียน นักจิตวิทยา นักปรัชญา ผู้นำทางศาสนา ผู้ประกอบการ เป็นต้น


8. สติปัญญาด้านความเข้าใจในธรรมชาติ (naturalist intelligence)


เป็นความสามารถสูงในการเข้าใจธรรมชาติของพืชและสัตว์ เข้าใจระบบวงจรของธรรมชาติ และเรียนรู้ได้ดีในเรื่องของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กลุ่มนักชีววิทยา นักอนุรักษ์ธรรมชาติ นักท่องเที่ยวธรรมชาติ นักผจญภัย นักล่าสัตว์ เป็นต้น



กล่าวโดยสรุป แนวคิดของทฤษฎีพหุปัญหาดังกล่าวมาจากการศึกษาถึงความสามารถในการคิดของสมองมนุษย์ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา โดยถือว่าคนทุกคนมีปัญญาและความสามารถทั้ง 8 ด้าน (หรืออาจมากกว่า 8 ด้าน) ดังกล่าว แต่ละด้านอาจมากน้อยต่างกันและปกติคนส่วนมากจะมีความสามารถสูงอยู่ 1 – 2 ด้าน แต่คนก็สามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านจนถึงขั้นใช้การได้ถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม นอกจากนี้ปัญญาแต่ละด้านยังสามารถแสดงออกได้หลายทาง และปัญญาด้านต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้ด้วย แนวคิดเช่นนี้มีประโยชน์ต่อวงการศึกษาในแง่ การส่งเสริมพัฒนาสติปัญญาด้านที่เป็นความถนัดเฉพาะของผู้เรียนให้สู่ขั้นความเป็นเลิศ ดังนั้นการจัดทำหลักสูตร ตลอดจนกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีความครอบคลุมสติปัญญาทุกด้านของผู้เรียนทุกคน และสามารถยืดหยุ่นสนองตอบความต้องการเฉพาะบุคคลอีกด้วย
บรรณานุกรม


กมล ภู่ประเสริฐ (2545). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : เมธีทิปส์.


ทิศนา แขมมณี และคณะ (2544). วิทยาการด้านการคิด.กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาฯ คุณภาพวิชาการ(พว.).


Alder,H. (1993). The right brain manager. London : Judy PiatkusPublishers.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น