วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการทรัพยากรมนุษย์



การจัดการทรัพยากรมนุษย์


1.ทรัพยากรมนุษย์และแรงงานมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากแรงงานเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิต
2.สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือจิตวิทยาองค์การมีบทบาทสำคัญในการจัดการทรัพยากรมนุษย์เนื่องการองค์ประกอบที่สำคัญของมนุษย์คือปัจจัยด้านจิตวิทยาที่มีอิทธิพลทำให้องค์การสามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
3.ทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับบุคลากรในองค์การเนื่องจากบุคลากรหมายถึงบุคคลที่มีคุณลักษณะพิเศษตรงกับตำแหน่งหน้าที่ของงานที่องค์การออกแบบไว้ บุคลากรในองค์การคือทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าสำหรับองค์การ
4.การสรรหาเป็นกระบวนการแรกที่องค์การต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนการจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงานในองค์การ
5.สหภาพแรงงานและแรงงานสัมพันธ์มีบทบาททำให้เกิดความเป็นธรรมในการบริหารจัดการแรงงานด้านทำให้เกิดความเป็นธรรมเป็นหน้าที่ด้านการดำรงรักษาบุคลากรของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
6.ลูกจ้างมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแรงงานและเป็นบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการทรัพยากรมนุษย์
7.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือกระบวนการดูแลรักษาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การมีบทบาทเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับองค์การและสร้างเสถียรภาพให้กับการจัดการทรัพยากรมนุษย์
8.ต้นทุนมนุษย์มีบทบาทสำคัญเนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เช่น การฝึกอบรมมีความจำเป็นต้องใช้งบประมาณหรือสัดส่วนงบประมาณสำหรับให้การศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถเปลี่ยนแปลงและแข่งขันกันทำงานในโลกยุคเทคโนโลยีได้
9.การพัฒนาองค์การเน้นการพัฒนาโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงองค์การ ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เน้นการบริหารจัดการเพื่อให้บุคลากรได้รับผลประโยชน์และความเป็นธรรมมากที่สุด
10.ระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญสำหรับการบันทึกข้อมูล ประวัติการทำงาน รวมทั้งข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ประวัติแนวความคิด
1.อดัม สมิธมีความเห็นว่าความมั่งคั่งของชาติที่เกิดจากทรัพยากรมนุษย์คือการแบ่งแรงงานกันทำงานจะช่วยให้เพิ่มความมั่งคั่งในชาติ

2.ตามความเห็นของแมกซ์ เวเบอร์ระบบราชการทำให้ทรัพยากรมนุษย์มีบทบาททำให้การปฏิบัติหน้าที่ในองค์การมีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากการแบ่งงานกันทำ บุคลากรมีคุณสมบัติในตำแหน่งหน้าที่ ทำงานเต็มเวลาในที่ทำการด้วยเงินเดือน

3.พฤติกรรมที่มีเหตุผลมีความสำคัญในองค์การ เนื่องจากองค์การต้องการบุคลากรที่มีวุฒิภาวะด้านอารมณ์สำหรับการปฏิบัติงานในหน้าที่ตามเป้าหมายขององค์การ

4.บทบาททรัพยากรมนุษย์ในสังคมทุนนิยมมีบทบาทสำคัญในการผลิต โดยแรงงานต้องทำงานแตกต่างกัน

5.ความรู้สึกแปลกหน้ามีผลกระทบต่อบรรยากาศการทำงาน
เกิดจากการที่บุคคลได้สื่อสัมพันธ์    จากการแสดงความคิดเห็นในการวิภาษวิธี

6.การจัดการแบบวิทยาศาสตร์มีความสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานในองค์การเนื่องจากทำให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงาน สามารถใช้เครื่องมือให้เหมาะสมเพื่อให้องค์การมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่วางไว้

7.ความสำคัญของคู่มือและเทคโนโลยีสำหรับบุคลากรในองค์การตามหลักการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ทำให้บุคลากรสามารถพัฒนาทักษะการทำงานในองค์การให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา

8.การบริหารงานบุคคล (Staffing)และการจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากการบริหารงานบุคคลเกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์

9.จิตวิทยาองค์การพื้นฐานที่มีความสัมพันธ์กับชีวภาพบุคลากรมากที่สุดคือจิตวิทยาที่ตอบสนองความต้องการทางกายภาพ เช่น ความต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ซึ่งองค์การจะต้องจัดบริการสำหรับบุคลากรให้ครบถ้วน

10.ความต้องการทางจิตวิทยาที่เป็นความต้องการสูงสุดของบุคลากรในองค์การคือความต้องการความสำเร็จดังใจปรารถนา เข้าใจเป้าหมายการทำงาน เข้าใจหน้าที่และการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง

บทบาทการจัดการทรัพยากรมนุษย์
1. การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับทรัพยากรวัฒนธรรมเนื่องจากการจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องจัดการให้เหมาะสมสัมพันธ์กับวัฒนธรรมซึ่งเป็นทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น
2. บทบาททรัพยากรมนุษย์ในองค์การส่วนหน้าสำนักงานและส่วนหลังสำนักงานมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากบุคลากรส่วนหน้ามีหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารกับองค์การและสิ่งแวดล้อมภายนอกมาประสานงานกับบุคลากรที่ทำหน้าที่ในองค์การส่วนหลัง
3.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีบทบาทสำคัญสำหรับการบริการสาธารณะ เพราะองค์การต้องมีการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้ทันสมัยสามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัวสำหรับการบริการภาคสาธารณะ
4.ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาคสาธารณะและองค์การภาคเอกชนมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบร่วมมือและเกื้อกูลกัน หน่วยงานภาคสาธารณะมีหน้าที่กำหนดนโยบาย ปฏิบัติงานเพื่อรักษาผลประโยชน์และความชอบธรรมของหน่วยงานภาคเอกชนและประชากรส่วนรวม ภาคเอกชนต้องดำเนินงานตามกรอบกฎหมายที่กำหนดไว้ร่วมกัน
5.ทรัพยากรมนุษย์ในองค์การส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีบทบาทแตกต่างกันกล่าวคือ องค์การส่วนกลาง เช่น รัฐบาลกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและกรอบแนวปฏิบัติงานสำหรับผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม หน่วยงานส่วนภูมิภาคทำหน้าที่เป็นตัวแทนขององค์การส่วนกลางเพื่อติดต่อสื่อสารและรักษาผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม
6.ทรัพยากรมนุษย์ในวิสาหกิจขนาดเล็กและกลางมีบทบาทในสังคมด้านเป็นเศรษฐกิจกิจพื้นฐานหรือรากหญ้าเป็นภูมิปัญญาทรัพยากรมนุษย์เพื่อความสังคมให้เข้มแข็ง
7.การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีเป้าหมายและบทบาทในชุมชนด้านการมีส่วนร่วม จิตสำนึกและการสร้างอำนาจในสังคม เพื่อทำให้สังคมและชุมชนโดยส่วนรวมมีความเข้มแข็งในโลกยุคโลกาภิวัตน์
8. ทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสถาบันครอบครัวในฐานะที่ครอบครัวเป็นหน่วยสังคมพื้นฐานให้กำเนิดและมีอิทธิพลกำหนดลักษณะทางจิตวิทยาและชีววิทยาสำหรับทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
9.ทรัพยากรมนุษย์และจิตวิทยาด้านจรรยาบรรณมีความสมพันธ์กันเนื่องจากปัจจุบันการจัดการทุกส่วนต้องโปร่งใส และมีธรรมาภิบาล
10.ความรับผิดชอบต่อสังคมและจิตวิทยาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากองค์การต้องเร่งกระตุ้นส่งเสริมให้บุคลากรมีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและบุคลากรโดยส่วนร่วม

นโยบาย

1. ทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับนโยบาย เนื่องจากบุคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญด้านการจัดทำและสร้างนโยบายและได้รับผลกระทบจากนโยบายโดยตรง
2.การกำหนดประเด็นและปัญหาและการสร้างนโยบายมีความสัมพันธ์เนื่องจากการสร้างนโยบายทุกครั้งผู้จัดทำนโยบายต้องเริ่มต้นด้วยการกำหนดประเด็นปัญหาสำหรับการสร้างนโยบาย
3. การวิจัยและข้อมูลมีความสำคัญสำหรับการสร้างนโยบายไม่ว่าจะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาการวิจัยสภาวะแวดล้อมภายนอกสามารถศึกษาข้อมูลเพื่อจัดทำระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการ
4.การสื่อสารประชาสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับนโยบาย เนื่องจากการสื่อสารประชาสัมพันธ์จะทำให้เกิดความเข้าใจและร่วมมือกันปฏิบัติตามนโยบาย ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งหรือความไม่เข้าใจในหน่วยงาน
5.ธรรมาภิบาลมีความสำคัญสำหรับการสร้างนโยบาย เนื่องจากการสร้างนโยบายจะต้องมีความโปร่งใสทำให้บุคลากรในองค์การเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
6.ผู้จัดทำนโยบายหรือผู้บริหารมีบทบาทสำคัญในการสร้างนโยบายเนื่องจากเป็นผู้กำหนดวางแนวการจัดทำนโยบาย ทำรายละเอียด เผยแพร่นโยบายให้บุคลากรได้ทราบ เรียนรู้และเข้าใจนโยบายของหน่วยงานเพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การ
7.ผู้บริหารมีส่วนรับผิดชอบในการกำหนดสาระนโยบาย กำหนดเป้าหมายนโยบาย ขอบเขตข้อปฏิบัติ กำหนดช่วงเวลา และกำหนดความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8.บุคลากรในองค์การมีความสัมพันธ์กับสาระสำคัญของนโยบายในด้านต่าง ๆ เช่น ต้องเข้าใจเป้าหมายของนโยบาย เข้าใจรายละเอียดของนโยบายด้านช่วงเวลา ด้านความรับผิดชอบตามเป้าหมายของนโยบายเป็นต้น
9.นโยบายเกี่ยวกับระเบียบกฎเกณฑ์มีความสำคัญในองค์การเพื่อให้บุคลากรได้ทราบและเข้าใจแนวปฏิบัติในองค์การที่ถูกต้องทำให้เกิดเอกภาพในหน่วยงาน
10.นโยบายที่สอดคล้องกับอนาคตของหน่วยงานคือนโยบายเบ็ดเตล็ดเพราะเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับอนาคตที่คาดหวังหรือทำนายไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

การวางแผน

1.การวางแผนคือการปฏิบัติการของบุคลากรในองค์การตามแผนการที่วางไว้ ส่วนแผนการคือโครงการที่หน่วยงานจัดทำขึ้นด้วยความเห็นชอบขององค์การต้องมีการวางแผนเพื่อปฏิบัติตามแผนการที่วางไว้
2.แผนการระยะสั้นมีความสำคัญในองค์การเกี่ยวกับการแก้ปัญหาจำเป็นเร่งด่วน ต้องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องใช้งบประมาณและการวางแผนอย่างรวดเร็ว
3.แผนการระยะยาวมีความสัมพันธ์กับศูนย์อำนาจในองค์การเนื่องจากเป็นแผนที่จัดทำขึ้นด้วยการยินยอมของผู้บริหารระดับสูงเพื่อความเป็นเอกภาพในองค์การ
4.การวางแผนมีความสัมพันธ์กับข้อมูลประเภทต่าง ๆ เช่น ข้อมูลเอกสาร ข้อมูลภาคสนามจากชุมชนเพื่อใช้ประกอบการจัดทำแผนการ
5.การวางแผนและเป้าหมายองค์การมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากการวางแผนจะต้องศึกษาเป้าหมายขององค์การก่อนจะจัดทำแผนการเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ
6.การวางแผนมีความสัมพันธ์กับงบประมาณด้านที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนประมาณการและพยากรณ์งบประมาณขององค์การทำให้สามารถคาดการณ์เกี่ยวกับสถานภาพการเงิน สถานการณ์การเงินได้ใกล้เคียงและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
7.องค์ประกอบขององค์การมีความสำคัญสำหรับการจัดทำแผนการเนื่องจากองค์ประกอบขององค์การคือทรัพยากรมนุษย์ งบประมาณ การจัดการและวัตถุดิบเป็นองค์ประกอบขององค์การที่สำคัญสำหรับการจัดทำแผนการให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
8.การประเมินผลกระทบจากการวางแผนมีความสำคัญเนื่องจากการดำเนินการและปฏิบัติการวางแผนจะทำให้หน่วยงานอาจได้รับผลกระทบทางลบ เช่น การแก้ไขแผนปฏิบัติการ ผลกระทบทางบวก
9.แผนการธุรกิจที่ไม่หวังผลกำไรมีบทบาทสำคัญในองค์การเนื่องแผนการธุรกิจที่ไม่หวังผลกำไรทำให้เกิดการพัฒนาองค์การที่ยั่งยืน มีความมั่นคงเป็นพื้นฐานการทำกิจกรรมทางธุรกิจและเศรษฐกิจที่มั่นคงโดยส่วนรวม
10.แผนการธุรกิจและแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากแผนการธุรกิจเกิดจากการวางแผนของบุคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถสามารถวางแผนธุรกิจที่ดีและแข่งขันได้ทางธุรกิจ


angsila.informatics.buu.ac.th/~54630080/321350/...HRM/HRM-7.doc‎

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น