วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Case Study : บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด



ดร.ดนัย เทียนพุฒ

Dr.Danai Thieanphut

Managing Director

DNTConsultants


***************************************************


Case Study : บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด


โดยนศ. วชิระ มุสิกไชย




บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด มีต้นกำเนิดจาก บริษัท ไทยผลิตสุรา จำกัด





ซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งส่วนกลาง ในการควบคุมการบริหารของอีก 4 บริษัท คือ


บริษัท ชุมพรผลิตสุรา จำกัด บริษัทสุราอุตรดิตถ์ จำกัด บริษัท ตากอมฤต จำกัดและ บริษัทสุราแม่สอด จำกัด


ซึ่งทั้ง 4 บริษัทนี้ ได้สิทธิ์การทำและจำหน่ายสุรากับกรมสรรพสามิต ตั้งแต่ 2518 ถึงปี 2527 เมื่อสัญญากับกรมสรรพสามิตสิ้นสุดลง ก็ได้เข้าร่วมทุนซื้อหุ้นของบริษัท สุรามหาราษฎร์ จำกัด ซึ่งต่อมาประมาณกลางปี 2529 เมื่อบริษัท สุรามหาราษฎร์ จำกัด ได้ร่วมมือกับกลุ่มสุราทิพย์ ซึ่งมีสิทธิ์การผลิตสุรา 12 เขตแล้ว ทางบริษัทฯ ก็ได้เข้าทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างบริหารการผลิตในเขตที่ 12 คือเขตสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้เพื่อควบคุมกระบวนการผลิต และควบคุมคุณภาพของสุรา โดยมีบริษัท สุราสัมพันธ์ จำกัด (บริษัทในเครือ) รับผิดชอบเป็นผู้จัดจำหน่ายทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ และจากการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาของบริษัทฯ พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภค

ในประเทศไทยยังคงมีความต้องการความหลากหลายของเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภทเบียร์แต่เนื่องจากเบียร์ต่างประเทศที่นำเข้ามามีราคาจำหน่ายที่สูง จึงไม่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ดังนั้นการเจรจาร่วมทุนกับบริษัท เอเชียแปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด แห่งประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็น บริษัทฯ ที่รับผิดชอบการดำเนินการผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้น ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค

จึงเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศไทยโดยได้ดำเนินการจดทะเบียน

ชื่อใหม่เป็น บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด


ผู้ถือหุ้นของบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ประกอบด้วยบริษัทชั้นนำของไทย เช่น

บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด

บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด

และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)


พร้อมด้วยการลงทุนร่วมกับบริษัท เอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด (สิงค์โปร์) ซึ่งในวันที่ 16 กันยายน 2536 ได้ทำการลงทุนจดทะเบียนเป็นจำนวนเงิน 750 ล้านบาท เพื่อทำการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทเบียร์ทั่วประเทศไทย และได้ทำการก่อสร้างโรงงานผลิตเบียร์บนเนื้อที่ 140 ไร่ที่ 111 หมู่ 2 ถนนบางบัวทอง-สุพรรณบุรี ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี พร้อมเงินลงทุนเบื้องต้นจำนวน 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็น1,000 ล้านบาทสำหรับเครื่องจักร และอีก 1,000 ล้านบาทสำหรับอาคารสำนักงาน อาคาร


โรงงาน และพิพิธภัณฑ์เบียร์

จุดเด่นของบริษัท

ผลิตและจำหน่ายเบียร์ที่มีคุณภาพ คือไฮเนเก้นเบียร์ระดับพรีเมี่ยมที่นิยมทั่วโลกที่นิยม แพร่หลาย

ในยุโรป

รูปแบบการบริการ

ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประเภทเบียร์ภายใต้ชื่อไฮเนเก้น (Heineken) จากประเทศ เนเธอร์แลนด์ และ เบียร์ ไทเกอร์ จากประเทศ สิงค์โปร์เพื่อจำหน่ายในประเทศ

จำนวนพนักงาน

356 คน

กำลังการผลิต

200 ล้านลิตร ต่อปี


Heineken

เมื่อปีพ.ศ. 2538, บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค

บริวเวอรี่ จำกัด (TAPB) ได้ทำการเปิดตัวเบียร์

“ไฮเนเก้น”ซึ่งถือได้ว่าเป็นเบียร์พรีเมียมชั้นนำที่มีคุณภาพและได้รับความสำเร็จระดับสูงในเมืองไทย บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด (TAPB) มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นหนึ่งผู้ผลิตรายใหญ่ของเบียร์ “ไฮเนเก้น” ในทวีปเอเชีย


Tiger Beer

ด้วยความเข้าใจถึงตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด (TAPB) ได้ทำการเปิดตัวสินค้าใหม่ ภายใต้ชื่อ “ไทเกอร์เบียร์”ซึ่งมิได้เพียงแค่จำหน่ายในเมืองไทยเท่านั้นแต่ยังมีมูลค่าการส่งออกที่สูงกว่าเบียร์รายอื่นในภูมิภาคเอเชียด้วย ด้วยคุณภาพการผลิตที่มีคุณภาพ “ไทเกอร์ เบียร์” ได้รับรางวัลการประกวดสินค้าเบียร์ระดับนานาชาติมากว่า 30 รางวัล


Cheer Beer

ในปี พ.ศ. 2548 บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค

บริวเวอรี่ จำกัด (TAPB) เปิดตัวสินค้าใหม่

“เบียร์ เชียร์” เอาใจตลาดไทยผู้ต้องการดื่มด่ำกับเบียร์คุณภาพในราคาย่อมเยาว์ ซึ่งได้รับการควบคุมและตรวจสอบดูแลทุกขั้นตอนจนถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสินค้าเบียร์คุณภาพสูง ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรสชาติที่นุ่มนวล





การรักษาสิ่งแวดล้อม


บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบๆ โรงเบียร์ การลดของเสียและขยะต่างๆ นอกจากนี้บริษัทยังได้นำขวดที่ใช้แล้วมารีไซเคิลโดยผ่านระบบเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย จึงช่วยให้สามารถลดการใช้วัตถุดิบต่างๆ ด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ได้เป็นอย่างมาก ล่าสุดได้รับมาตรฐาน ISO 14001:2004 ในฐานะที่เป็นบริษัทที่มีระบบการจัดการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีเยี่ยม


วิเคราะห์ บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด โดยใช้ Scenario






ตัวแปรหรือพลังขับเคลื่อนเหตุการณ์

1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและไลฟ์สไตล์

Trait : ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคอาจจะนิยมบริโภคเบียร์ คู่แข่ง มากขึ้น (uncertainty) เนื่องจาก“เบียร์ลีโอเติบโตค่อนข้างเร็วอย่างต่อเนื่อง ปีที่แล้วเราโต 14-15% ปีนี้ตั้งเป้าโตอีก 10% ในขณะที่สถานการณ์ตลาดเบียร์รวมของไทยเติบโตเพียง 3-4%” คือคำกล่าวของคุณปิติ ภิริมย์ภักดี ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ลีโอจัดเป็นเบียร์ดีกรีต่ำ มีแอลกอฮอล์ 5.5% ราคาขายย่อมเยาขวดละ 39 บาท อยู่ในเซ็กเม้นต์อีโคโนมี่ แต่ Brand Image ของลีโอวันนี้ ไม่ “ถูก” เหมือน “ราคา” เพราะลีโอผ่านการเรียนรู้ ลองผิดลองถูกในการหา Target Market ประกอบกับถูกชะโลมด้วย Marketing Communication อย่างลงตัว จนต้องยอมรับอย่างดุษณีว่า เบียร์ลีโอ มี Image เซ็กซี่ ทันสมัย สอดคล้องกับ Lifestyleคนรุ่นใหม่ กระทั่งลีโอ ขวดเล็ก ก็สามารถเข้าไปวางเฉิดฉายในผับ เธค ซึ่งนับเป็นเคสที่แตกต่างจากเบียร์ใน เซ็กเม้นต์อีโคโนมี่ทั่วไป และตอนนี้ทางบริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด มีปัญหาเนื่องจาก นางสาว ยชญ์วัลย์ ติรกนกสถิตย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย เบียร์ไทเกอร์ เปิดเผยว่าการเติบโตของเบีบร์ไทเกอร์ ที่เปิดตัวมาแล้ว 3 ปี ในประเทศไทย นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดี กลุ่มลูกค้ารับทราบถึงตัวแบรนด์ แต่ยังไม่ครอบคลุมมากพอ


2. รูปแบบทางประชากรศาสตร์

Trait : รูปแบบทางประชากรศาสตร์ ผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่นอาจจะถูก คู่แข่งแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปได้(uncertainty) การทำตลาดของเบียร์ลีโอในช่วงต้นๆ ได้ค้นพบว่ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรุ่นใหม่พอใจในรสชาติของเบียร์ลีโอ ค่ายบุญรอดได้ยกภาพเบียร์ลีโอให้สูงขึ้น พร้อมปรับลีโอให้เป็นเบียร์ที่ตอบสนองคนรุ่นใหม่ หรือผู้บริโภคกลุ่ม Young at Heart ซึ่งเป็นการจัดแบ่งกลุ่มเป้าหมายตาม Lifestyle ที่เป็นคนละกลุ่มกับคอเบียร์สิงห์ พร้อมได้ “ลูกเกด” เมทินี กิ่งโพยม เสือสาวเซ็กซี่มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ดึงดูดใจชาย

คุณปิติได้กล่าวถึงกลุ่มเป้าหมายของลีโอและสิงห์ให้เห็นภาพว่า “Core Target ของลีโอ คือกลุ่ม Young Adult ไม่ใช่วัยรุ่น เป็นนักศึกษา ปี 3 ปี 4 เพิ่งเรียนจบ หรืออยู่ระหว่างการหางาน แตกต่างจากสิงห์ที่ Target ถูกวางไว้ที่กลุ่ม Young Executive หรือผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานระดับหนึ่งแล้ว” จากนั้นลีโอภายใต้คอนเซ็ปต์ “ถูกคอ ถูกใจ” ก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะหาตลาดของตัวเองเจอ นั่นคือ กลุ่ม Mass คนรุ่นใหม่ในเมือง ที่ไม่ชอบรสชาติหนักๆแบบเบียร์ช้าง ซึ่ง Trend การดื่มเบียร์ดีกรีอ่อน-ราคาย่อมเยา กำลังมาแรงแซงทางโค้ง

ทั้งนี้คอเบียร์บางส่วนยังมีพฤติกรรมการดื่มเบียร์ดีกรีต่ำที่ Switch ไปมาระหว่าง ลีโอ และไฮเนเก้น ทำนองว่า “มีเงินกระดกไฮเนเก้น ถ้าไม่มีเงินซดลีโอ” ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะ Brand Image ของลีโอที่สร้างขึ้นในช่องทาง On Premise จากเดิมที่ลีโอขายเข้าสวนอาหาร ลีโอออกขวดเล็กเพื่อเพิ่มช่องทางการขาย และดึงภาพลีโอให้เป็นเบียร์มีระดับที่สามารถวางขายในผับ บาร์ ระดับ B ถึง A- ได้ ซึ่งนับเป็นการ Carry Brand ลีโอในหมู่ Young Adult หรือคนรุ่นใหม่ในเมือง

3. ประเด็นการเมืองและกฎหมาย

Trait : กฎหมายจะมีมาตรการไม่ให้มีการโฆษนาตลอด 24 ชม. (certainty)

4. วิวัฒนาการทางเทคโนโลยี

Trait : คอมพิวเตอร์เร็วขึ้น เครื่องมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น (certainty)


ตัวแปรหลักที่สำคัญ 2 กลุ่มคือ

1. ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์

2. ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่









การเตรียมแผนรองรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

1. + +

ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์ ( + )

ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ( + )

แผนรองรับในกรณีนี้คือ CMP (Customer Relationship Management : CRM)


การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยการใช้เทคโนโลยี

และการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของ

ธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มขึ้นสูงมาก การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้อง

พยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด

กลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำบริษัทของคุณประสบความสำเร็จได้

ผู้บริหารสมัยใหม่ทราบดีว่าการดูแลลูกค้าที่ดีและการคัดเลือกลูกค้าเป้าหมายสามารถนำมาซึ่งรายได้และ

กำไรที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าใหม่และลูกค้าเดิม นอกเหนือจากเป้าหมายในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าแล้ว

บริษัทต่าง ๆ ได้ลงทุนในเทคโนโลยี เพื่อดูแลและจัดการกับระบบฐานข้อมูลลูกค้าในการพัฒนาการบริการ

ให้กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ความท้าทายอยู่ที่การคัดเลือกเทคโนโลยีที่ดีและให้ผลคุ้มค่าต่อการลงทุน

โดยสามารถที่จะใช้ร่วมกับระบบเดิมๆ ที่มีอยู่ได้

เป้าหมายของ CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรม

ในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และใช้ให้เกิดประโยชน์

ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการ

พัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป

CRM เกี่ยวข้องกับงาน 3 อย่าง ดังนี้

- Sale คือ การขายที่สามารถปิดได้อย่างรวดเร็ว

- Marketing คือเป็นเรื่องของการตลาด "ทำอย่างไรถึงจะหาลูกค้าใหม่ได้"

- Service คือ เป็นบริการหลังการขาย โดยมีการสนับสนุน Call Center Application

ตัวผลักดันให้เกิด CRM

- การหาลูกค้าใหม่

- การจัดการกับความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือการรักษาลูกค้าไว้

- ทำให้ระบบบง่ายขึ้น

- ลูกค้าพอใจมากขึ้น

- ลูกค้ามี Loyalty กับ Brand มากขึ้น

- การให้บริการลูกค้า ที่ทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุด

- การใช้ประโยชน์ที่เกิดจากลูกค้าได้มากขึ้น


2. + -

ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์ ( + )

ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ( - )

แผนรองรับในกรณีนี้คือ ส่วนที่เป็นไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์ ( + ) เราก็จะใช้ CMP

แผนรองรับในกรณี ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ( - )เราก็จะใช้ การโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด -(Advertising & Promotion-)โดยจะโฟกัสที่กลุ่มวัยรุ่น เพราะเป็นฐานลูกค้าที่กว้าง น่าสนใจ การจัดทำโครงการ Tiger Translate Thailand (ไทเกอร์ ทรานสเลท ไทยแลนด์) ยึดกลยุทธ์ มิวสิค แอนด์ อาร์ต จะเป็นโครงการที่จะช่วยสร้างแบรนด์ให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นได้

ล่าสุด จัดงาน “อาร์ท แอนด์ มิวสิค ปาร์ตี้” สไตล์อินดี้ เป็นระยะเวลานาน 6 เดือน โดยเปิดโอกาสให้กับกลุ่มวัยรุ่น มีบุคคลิก เป็นตัวของตัวเอง กล้าแสดงออกได้แสดงฝีมือการแสดง (นักดนตรีในผับ)โชว์บทเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ เข้าประกวด โครงการนี้นับเป็นโครงการการอยู่ในแนวทางบริษัทฯแม่ที่ทำทั่วโลก แต่ในประเทศไทยนับว่าเป็นครั้งแรก

“ต่อจากนี้ไปบริษัทฯจะเน้นใช้กลยุทธ์มิวสิค แอนด์ อาร์ตมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ตรงเป้าหมายซึ่งจากโครงการนี้ไปถึงครึ่งปีของปี 2551 จากที่ผ่านมาเบียร์ไทเกอร์จะเน้นกลยุทธ์สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง แต่ทั้งนี้การโฟกัสกลุ่มวัยรุ่นจะเป็นการขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นกลุ่มหลักอายุ 20 ถึง 35 ปี” นับว่ากลยุทธ์นี้เป็นสิ่งที่ บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ ทำได้ดีอยู่แล้ว

3. - +.

ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์ ( - )

ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ( + )

ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์ ( - ) ควรใช่ R & D การทำวิจัยว่าผลิตภัณฑ์ของเราทำไมถึงไม่เป็นที่นิยม เมื่อรู้ถึงสาเหตุเราก็จะนำไปวิจัยแล้วพัฒนาหาแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป

ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ( + ) จะใช้ CMP

4. - -

ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์ ( - )

ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ ( - )

ก็จะนำกลยุทธ์ทั้ง 3 มาร่วมกันคือ CMP + Advertising & Promotion + R & D






สรุป

วิเคราะห์ บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด โดยใช้ การวิเคราะห์ทัศนภาพ” (Scenario Analysis) เป็นกระบวนการสำหรับวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตที่เป็นไปได้ โดยการพิจารณาจากผลได้ (ทัศนภาพ) ในทางเลือกที่เป็นไปได้

จะมี ตัวแปรหรือพลังขับเคลื่อนเหตุการณ์

1. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและไลฟ์สไตล์

Trait : ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคอาจจะนิยมบริโภคเบียร์ คู่แข่ง มากขึ้น (uncertainty)

2. รูปแบบทางประชากรศาสตร์

Trait : รูปแบบทางประชากรศาสตร์ ผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่นอาจจะถูก คู่แข่งแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดไปได้(uncertainty)

3. ประเด็นการเมืองและกฎหมาย

Trait : กฎหมายจะมีมาตรการไม่ให้มีการโฆษณาตลอด 24 ชม. (certainty)

4. วิวัฒนาการทางเทคโนโลยี

Trait : คอมพิวเตอร์เร็วขึ้น เครื่องมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น (certainty)

ได้ข้อสรุปในตรรกของทัศนภาพที่เป็น เมทริกซ์ทัศนภาพ 2x2 เพื่อนำไปพิจารณาว่า วิสัยทัศน์มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดและจะตัดสินใจทางกลยุทธในแต่ละทัศนภาพที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมต่อธุรกิจที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับอนาคตที่ไม่แน่นอน

ตัวแปรหลักที่สำคัญ 2 กลุ่มคือ

1. ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในการเลือกดื่มเบียร์

2. ส่วนแบ่งทางการตลาด ในกลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่

จะใช้กลยุทธ์ทั้ง 3 มาร่วมกันคือ CMP + Advertising & Promotion + R & D ในการเตรียมรับมือกับเหตุการที่อาจจะเกิดภายหน้า


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dnt&month=08-2008&date=24&group=40&gblog=34

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น