ทฤษฎีภาวะผู้นำ
ตามสถานการณ์
ตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา
บุคคลในวงการบริหารได้เข้าร่วมกันทำการศึกษาวิจัยเพื่อหาแบบภาวะผู้นำที่ดีที่สุด ผลการวิจัยได้ปรากฏเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนว่าไม่มีแบบภาวะผู้นำในลักษณะที่มีความมุ่งหมายแบบครอบจักรวาล
ผู้นำที่ประสบความสำเร็จคือผู้นำที่สามารถปรับพฤติกรรมของเขาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ซ้ำแบบกัน
ทฤษฎีภาวะผู้นำสถานการณ์ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 3
ประการ คือ
1.
จำนวนปริมาณของการออกคำสั่ง คำแนะนำ
(พฤติกรรมด้านงาน) ของผู้นำที่แสดงออกในแต่ละสถานการณ์
จำนวนปริมาณของการสนับสนุนทางอารมณ์สังคม (พฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์)
ของผู้นำที่แสดงออกในแต่ละสถานการณ์
ระดับความพร้อม (วุฒิภาวะ) ที่ผู้ตามหรือกลุ่มผู้ตามแสดงออกมาในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย บทบาท
หน้าที่ ความรับผิดชอบ หรือวัตถุประสงค์
ซึ่งผู้นำพยายามให้ผู้ตามกระทำได้สำเร็จ
ระดับความพร้อมหรือระดับวุฒิภาวะในทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์นี้ หมายถึง
ความสามารถและความเต็มใจของบุคคลที่จะรับผิดชอบสำหรับนำพฤติกรรมของเขาเอง
ตัวแปรวุฒิภาวะเหล่านี้ควรจะได้รับการพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น
จึงกล่าวได้ว่าในความรู้สึกทั่วไปนั้น
มิได้หมายความว่าบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ได้บรรลุนิติภาวะ
ทุกคนมีแนวโน้มด้านวุฒิภาวะที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้โดยขึ้นอยู่กับงาน ภาระหน้าที่
หรือวัตถุประสงค์ที่ผู้นำพยายามกระทำให้สำเร็จโดยอาศัยบุคคลเหล่านั้น
การกำหนดระดับวุฒิภาวะอาจกำหนดได้ในลักษณะเฉพาะของบุคคลหรือกำหนดระดับวุฒิภาวะของคณะบุคคลในฐานะกลุ่มก็ได้
เช่น กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กันในงานประเภทเดียวกัน
มโนทัศน์พื้นฐานของภาวะผู้นำตามสถานการณ์
จากจุดยืนของภาวะผู้นำตามสถานการณ์
ไม่มีทางที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียวที่จะใช้อิทธิพลต่อบุคคล
แบบภาวะผู้นำแบบใดที่ผู้นำควรใช้กับบุคคลหรือคณะบุคคลหรือกลุ่มนั้น
ขึ้นอยู่กับระดับวุฒิภาวะหรือควาามพร้อมของบุคคลหรือคณะบุคคลหรือกลุ่มที่ผู้นำพยายามที่จะใช้อิทธิพลต่อพวกเขา
-
พฤติกรรมด้านงาน (Task Behavior) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยการสื่อความหมายทางเดียว
โดยการอธิบายว่า อะไรบ้างที่ผู้ตามแต่ละคนจะต้องทำ ทำเมื่อไร ที่ไหน และทำอะไร เพื่อให้งานในหน้าที่ได้รับผลสำเร็จ
-
พฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Relationship Behavior )
เป็นขั้นที่พฤติกรรมที่ผู้นำเข้าไม่เกี่ยวข้องด้วยการสื่อความหมายสองทาง
โดยการให้การสนับสนุนด้านอารมณ์สังคม
การให้กำลังใจ และพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ
ขณะที่ระดับวุฒิภาวะของผู้ตามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในแง่ของการทำงานในหน้าที่ให้สำเร็จนั้น ผู้นำควรลดพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์
เรื่องนี้แล้วแต่กรณีจนกว่าแต่ละกรณีจนกว่าแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบรรลุระดับวุฒิภาวะปานกลาง
ขณะที่ผู้ตามเริ่มเคลื่อนไปสู่ระดับสูงกว่าระดับวุฒิภาวะปานกลางก็เป็นการเหมาะสมสำหรับผู้นำที่จะบดไม่แต่เฉพาะพฤติกรรมด้านงานเท่านั้น
แต่บดพฤติกรรมไม่เพียงแต่บรรลุนิติภาวะในแง่ของการปฎิบัติงานเท่านั้น
แต่บรรลุวุฒิภาวะในแง่ของจิตวิทยาด้วย
เนื่องจากว่าผู้ตามสามารถให้กำลังใจ
เพิ่มพลังจูงใจตนเองได้ การสนับสนุนทางอารมณ์ สังคมอย่างใหญ่จากผู้นำจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป
บุคคลที่มีวุฒิภาวะระดับนี้จะมองการลดการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
และเพิ่มการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนของผู้นำไปในทางบวกในแง่ของความไว้วางใจและความเชื่อมั่น
เพราะฉะนั้น ทฤษฎี ภาวะผู้นำตามสถานการณ์จะเน้นที่ความเหมาะสมของแบบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับวุฒิภาวะด้านงานของผู้ตาม
จากภาพข้างต้นนั้นได้พยายามวาดเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวุฒิภาวะด้านงานกับการใช้แบบภาวะผู้นำที่เหมาะสม
ในขณะที่ผู้ตามได้ย้ายจากความไม่มีวุฒิภาวะไปยังความมีวุฒิภาวะนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นปรากฎการณ์
2 ปรากฏการณ์ ที่แตกต่างกันคือ
แบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับระดับวุฒิภาวะของผู้ตามซึ่งวาดเป็นเส้นโค้งรูประฆังในพื้นที่ทั้งสี่ส่วนประการหนึ่ง
และอีกประการหนึ่งคือระดับวุฒิภาวะของบุคคลหรือของกลุ่มซึ่งเป็นรูปแกนต่อเนื่อง
เริ่มจากจุดที่บรรลุนิติภาวะน้อยไปยังจุดที่บรรลุภาวะมาก
แกนต่อเนื่องนี้ปรากฏอยู่ใต้แบบภาวะผู้นำ
แบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับระดับวุฒิภาวะทั้ง
4 ระดับนั้น
จะเป็นการผสมผสานที่ถูกต้องระหว่างพฤติกรรมด้านงาน ( การแนะนำ ) และพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ ( การสนับสนุน ) ดังนี้
การสั่ง ( Telling
) , (S1) สำหรับวุฒิภาวะต่ำ (M1) บุคคลผู้ซึ่งไม่สามารถและไม่เต็มใจ
( M1) ที่จะมีความรับผิดชอบในงานเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถเพียงพอ
และไม่มั่นใจ มีกรณีต่าง ๆ
หลายกรณีที่มีความไม่เต็มใจของพวกเขาเป็นผลมาจากความไม่มั่นใจเกี่ยวกับงานที่จะต้องปฏิบัติ
ฉะนั้นแบบของการสั่ง ( S1) ที่อธิบายชัดเจนเกี่ยวกับคำแนะนำต่าง ๆ
และการควบคุมคณะบุคคลในระดับวุฒิภาวะนี้
มีความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลในระดับสูงสุด แบบภาวะผู้นำแบบนี้เรียกว่า “ การสั่ง “ เพราะเป็นลักษณะที่ผู้นำชี้แจงบทบาท
และสั่งผู้ตามว่าให้ทำงานอะไร อย่างไร เมื่อไร และที่ไหน
มากกว่าที่จะใช้เวลาไปให้การสนับสนุนทางอารมณ์ สังคม หรือการให้กำลังใจ
แบบนี้ประกอบไปด้วยพฤติกรรมด้านงานสูงและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์
การขาย (
Selling ) , (S2) สำหรับวุฒิภาวะต่ำถึงปานกลาง (M2) เหมาะสำหรับบุคคลผู้ซึ่งไม่สามารถแต่เต็มใจ
(M2) ที่จะรับผิดในงาน เป็นผู้ที่มั่นใจ
แต่ขาดความชำนาญในขณะนั้น ดังนั้นแบบภาวะผู้นำ
“ การขาย” ( S2 ) ยังกำหนดพฤติกรรมที่ต้องให้คำแนะนำอยู่เพราะยังขาดความสามารถ แต่บุคคลที่มีวุฒิภาวะระดับนี้ พฤติกรรมด้านสนับสนุนทางอารมณ์
สังคม เพื่อเพิ่มพลังความเต็มใจ และความกระตือรือร้นด้วยนั้น
ดูเหมือนจะเหมาะสมมากที่สุด ที่เรียกว่า “การขาย
“ เพราะคำแนะนำคำสั่งต่าง ๆ
ยังมาจากผู้นำ ผู้นำพยายามใช้การสื่อสารสองทาง มีการอธิบาย การรับฟังอย่างสนใจ
ให้การสนับสนุนทางอารมณ์ สังคม
การให้กำลังใจใช้วิธีการทางจิตวิทยาให้ผู้ตามเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้นำ
ผู้ตามที่มีวุฒิภาวะระดับนี้ตามปกติแล้วจะเห็นด้วยกับการตัดสินใจของผู้นำ
ถ้าพวกเขาเข้าใจถึงเหตุผลสำหรับการตัดสินใจนั้น
และถ้าผู้นำเสนอให้การช่วยเหลือและให้คำแนะนำด้วย แบบนี้ประกอบไปด้วยพฤติกรรมด้านงานสูงและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์สูง
การร่วม (
Participating ), ( S3) สำหรับวุฒิภาวะปานกลางถึงสูง ( M3) ที่จะทำงานตามที่ผู้นำต้องการ
ความไม่เต็มใจของเขามีอยู่บ่อยที่เนื่องมาจากขาดความมั่นใจหรือขาดความมั่นคง อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าเขามีความสามารถพอแต่ไม่เต็มใจแล้ว
ความไม่สนในที่จะปฏิบัติงานเกิดจากปัญหาการจูงใจมากกว่าปัญหาความมั่นคง
กรณีเช่นนี้ผู้นำจำต้องมีนโยบายเปิดประตู คือ
ด้วยการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจเพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ดังนั้น แบบภาวะผู้นำ “ การร่วม “ (M3) ที่จะทำงานตามที่ผู้นำต้องการ
ความไม่เต็มใจของเขาที่มีอยู่บ่อยที่เนื่องมาจากขาดความมั่นุใจหรือขาดความมั่นคง
อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าเขามีความสามารถพอแต่ไม่เต็มใจแล้ว
ความไม่สนใจที่จะปฏิบัติงานเกิดจากปัญหาการจูงใจมากกว่าปัญหาความมั่นคง
กรณีเช่นนี้ผู้นำจำต้องมีนโยบายเปิดประตูคือ
ด้วยการสื่อสารสองทางและรับฟังอย่างสนใจ
เพื่อสนับสนุนผู้ตามให้พยายามใช้ความสามารถที่มีอยู่ ดังนั้นแบบภาวะผู้นำแบบ “ การร่วม “ (S3) จึงเป็นแบบที่ให้การสนับสนุน
ไม่ออกคำสั่งเหตุที่เรียกว่าการร่วมเพราะผู้นำและผู้ตามร่วมกันในการตัดสินใจ
โดยบทบาทหลักของผู้นำนั้นช่วยอำนวยความสะดวกและการติดต่อสื่อสาร
แบบนี้ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านงานต่ำและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์สูง
การมอบ (Delegating), (S4) สำหรับวุฒิภาวะสูง (M4) บุคคลผู้มีวุฒิภาวะในระดับนี้สามารถและเต็มใจ หรือมั่นใจที่จะรับผิดชอบ
ดังนั้นรูปแบบการมอบ (S4) ซึ่งกำหนดคำแนะนำและการสนับสนุนเล็ก ๆ น้อย ๆ
สำหรับคณะบุคคลที่มีวุฒิภาวะระดับนี้
ความน่าจะเป็นไปได้ด้านประสิทธิผลอยู่ในระดังสูงสุด
ถึงแม้ว่าผู้นำยังชี้แจงให้ผู้ตามที่มีวุฒภาวะในระดับนี้เข้าถึงปัญหา
ความรับผิดชอบ สำหรับการปฏิบัติตามแผนให้สำเร็จก็ตาม
แต่ผู้ตามก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการแสดงใดเองและตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติเมื่อไร และปฏิบัติที่ไหน ได้เอง
ขณะเดียวกันผู้ตามเหล่านี้บรรลุวุฒิภาวะด้านจิตวิทยา ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องมีการสื่อสารสองทางหรือมีพฤติกรรมด้านการสนับสนุนแบบนี้ประกอบด้วยพฤติกรรมด้านงานต่ำและพฤติกรรมด้านมนุษย์สัมพันธ์ต่ำเช่นกัน
หัวใจสำคัญในการใช้แบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์
คือ กำหนดระดับวุฒิภาวะของผู้ตามและปฏิบัติตามแบบภาวะผู้นำตามที่กำหนดไว้
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนในแบบภาวะผู้นำตามสถานการณ์ คือ
ความคิดที่ว่าผู้นำควรจะช่วยผู้ตามให้มีวุฒิภาวะเจริญเติบโตมากที่สุดเท่าที่พวกเขาสามารถ
และเต็มใจที่จะมีได้
การพัฒนากลุ่มผู้ตามนี้ควรจะกระทำโดยปรับพฤติกรรมแบบภาวะผู้นำทั้ง 4
แบบ ไปตามเส้นโค้ง
รูประฆัง ดังภาพข้างต้น
การพิจารณาว่าแบบภาวะผู้นำแบบใดที่ควรนำมาใช้กับบุคคลในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องพิจารณาหลายสิ่งหลายอย่างด้วยกันเป็นขั้น
ๆ คือ
ขั้นที่ 1
พิจารณาว่ากิจกรรมของบุคคล หรือ กลุ่มที่ต้องการใช้อิทธิพล
เป็นกิจกรรมประเภทใดในโลกของการกิจกรรมแต่ละประเภทเหล่านี้แตกต่างกันไปตามความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
ตัวอย่างเช่น หัวหน้างานธุรการ
มีความรับผิดชอบในด้านหนังสือ เอกสารต่าง ๆ
การเงินอื่น ๆ เพราะฉะนั้น
ก่อนที่ผู้นำจะเริ่มพิจารณาแบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมเพื่อใช้กับบุคคลแต่ละคนนั้นเขาจะต้องพิจารณาตัดสินว่า
ลักษณะงานที่คนปฏิบัติอยู่นั้นเป็นลักษณะงานที่คนปฏิบัติอยู่นั้น
เป็นลักษณะงานประเภทใด เมื่อตัดสินใจเรื่องลักษณะงานได้แล้วก็พิจารณาในขั้นต่อไป
ขั้นที 2
พิจารณาความสามารถ การจูงใจ ( ระดับวุฒิภาวะ ) ของบุคคลหรือของกลุ่มในแต่ละสายงาน
ขั้นที่ 3
เป็นขั้นสุดท้าย
พิจารณาว่าแบบภาวะผู้นำแบบใดใน 4 แบบ
ที่เหมาะสมในแต่ละงาน
1. วุฒิภาวะด้านงาน ( Job Maturity ) หมายถึง
ความสามารถที่จะปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งต้องใช้ความรู้และความชำนาญ
บุคคลที่มีวุฒิภาวะด้านงานสูงในสายงานเฉพาะด้านนั้น
เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
และประสบการณ์ที่จะปฏิบัติงานโดยไม่มีผู้อื่นควบคุม แนะนำบุคคลผู้ที่มีวุฒิภาวะด้านงานสูงอาจกล่าวได้ว่า “ ปรีชาญาณของข้าพเจ้านั้น
จริง ๆ แล้ว
อยู่ที่ลักษณะงานของข้าพเจ้านั่นเอง
ข้าพเจ้าสามารถปฏิบัติงานในสายงานนั้นด้วยตัวเอง
โดยหัวหน้าไม่ต้องช่วยเหลืออะไรมากนัก “
2. วุฒิภาวะด้านจิตวิทยา ( Psychological
Maturity ) หมายถึง
การเต็มใจหรือการจูงใจที่จะปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งต้องมีความมั่นใจหรือปณิธานบุคคลที่มีวุฒิภาวะด้านจิตวิทยาสูง
ในสายงานเฉพาะอย่าง หรือมีความรับผิดชอบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ
และมีความรู้สึกพอใจในตัวเองในลักษณะงานที่เขาปฏิบัติ เขาไม่ต้องการให้กำลังใจ
เพื่อให้เกิดการทำงานในสายงานนั้น บุคคลที่มีวุฒิภาวะด้านจิตวิทยาสูง
แหล่งที่มา :
ฝ่ายเอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก
อ้างอิง :
สิทธิศักดิ์ นิระมล.”ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์”,มิตรครู,
ปีที่ 32 ฉบับที่ 6 ปักษ์หลัง
, 2533.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น