วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การคิดแบบนักบริหาร

การคิดแบบนักบริหาร

ความคิดคืออะไร
          ความคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind)  ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive  system)  โดยในส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึก  ผ่านกระบวนการทางความคิดอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น  การคิดเป็นเรี่องที่สำคัญ  การคิดไม่เหมือนกัน  การคิดแบบจินตนาการ  การคิดหวนรำลึกถึง  การคิดใช้เหตุผล  และการคิดแก้ปัญหา

การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร
·        การคิดเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด ทำให้คนอยากคิด เพื่อความอยู่รอดก็จะเริ่มคิดอะไรออกมา  หากไม่มีก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด
·        ความต้องการสิ่งแปลกใหม่  กระตุ้นให้คิด  คนอยากคิดก็คือไม่อยากยึดติดของเดิม ๆ พยายาม หารูปแบบใหม่ ๆ  นักคิดก็คือ  กบฏตัวน้อย  มีใครคิดทฤษฎีใหม่ที่ไม่คิดกบฏต่อทฤษฎีเดิม  ไม่พอใจของเดิมแต่หาดีกว่าจึงจะกล้าคิด  หากเราบอกตัวเองว่า  เขาเป็นข้าราชการที่เสียแล้ว  หากเราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่รุ่นพี่ของเราเป็นอย่างนี้เราต้องนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่เรา
·        ความสงสัย กระตุ้นให้คิด สร้างให้เกิดความรู้ ความอยากรู้อยากเห็น บางครั้งเด็กอยากรู้อยากเห็น  แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ตอบว่า  ถามอยู่ได้อย่างนี้ตัดความคิดเห็น  พ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างการอยากรู้อยากเห็น
·        สภาพปัญหา  กระตุ้นให้คิด  ปัญหาทำให้เราคิดสารพัด  เราต้องหาวิธีออก  วิธีคิด  การที่เราพบปัญหานั้นทำให้เรานำมาใช้ประโยชน์ได้  การทำงานไม่ทำให้ออกมาเป็นรูปแบบเดิม ๆ  ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เกิดวิธีการคิดโดยมีวิธีการคิด 10 มิติ  การคิด 10 มิติ  เกิดจากการประชุมระดับชาติ  เป็นการสอนให้คนเกิดการคิด  นอกกรอบ

วิธีคิดแบบผู้บริหารผ่านการคิด  10  มิติ
1.  การคิดเชิงกลยุทธ์
2.  การคิดเชิงอนาคต
3.  การคิดเชิงสร้างสรรค์
4.  การคิดเชิงวิพากษ์
5.  การคิดเชิงบูรณาการ
6.  การคิดเชิงวิเคราะห์
7.  การคิดเชิงเปรียบเทียบ
8.  การคิดเชิงสังเคราะห์
9.  การคิดเชิงมโนทัศน์
 10.  การคิดเชิงประยุกต์

1.  การคิดเชิงกลยุทธ์
          การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็น  จริงๆ แล้วความคิดทั้ง 10 มิติ  เป็นการใช้ตลอดเวลา  และจำเป็นต้องใช้ในอนาคต  สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์  ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด  คือ  คนที่นำในองค์กร  คนแรกที่ต้องพบปัญหา  คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก  สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา  และมีทรัพยากรจำกัด  บุคลากรก็มีจำกัด  สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาตามเคยชินได้  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารมากในการเผชิญปัญหาต่างๆ  ในการวางแผน  การบริหารจัดการ  การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง  นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า  การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคต  เพื่อการตัดสินใจในอนาคต  มี 2 วิธีที่จะเผชิญในอนาคต  วิธีที่หนึ่งเหตุการณ์จะเกิดขึ้น  เดินไปเรื่อยๆ ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม  ตามสภาวะแวดล้อม  ตายเอาดาบหน้า  อีกวิธีหนึ่ง  คือ  แน่นอนท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้  เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้  แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ ณ วันนี้   นักวิชาการอีกคนหนึ่งนายไมเคิลบอกว่า  ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์  เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว   โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้  เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด  ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง  บริหารงบประมาณ  บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย  การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม  การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบของสถานการณ์  ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต  การเลือกกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการประสบความสำเร็จ  หลักการคิดเชิงกลยุทธ์มีดังนี้
                   ขั้นที่หนึ่ง      กำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง
                   ขั้นที่สอง       วิเคราะห์และประเมินสถานะ
                   ขั้นที่สาม      การหาทางเลือกกลยุทธ์
                   ขั้นที่สี่          การวางแผนปฏิบัติการ
                   ขั้นที่ห้า        การวางแผนคู่ขนาน
                   ขั้นที่หก        การทดสอบในสถานการณ์จำลอง
                   ขั้นที่เจ็ด       การลงมือปฏิบัติการ
                   ขั้นที่แปด      การประเมินผล

2. การคิดเชิงอนาคต
          มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม  การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี  แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย 6 หลักดังนี้คือ
1. หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic  Approach)  ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน
2. หลักความต่อเนื่อง (Continuity)  การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน
3. หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal  Relationship)  การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม  แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้
4. หลักการอุปมา (Analogy)  โดยยึดหลักว่า  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน  ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ  เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย
5. หลักการจินตนาการ (Imagination)  การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าท้าย  การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล  เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ
6. หลักดุลยภาพ (Equilibrium)  เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง  ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ  หากมีการเสียสมดุลย์เกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลย์แก่ตัวเอง  ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลย์ทางด้านเศรษฐกิจ  ความสมดุลย์ในร่างกายของเราเอง

3.  การคิดเชิงสร้างสรรค์
          ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์  โจทย์ไม่เหมือนเดิม  คำตอบไม่เหมือนเดิม  วิธีตอบคำถามคือไม่เหมือนเดิม  จึงมีความแปลกใหม่  ต้องการนวัตกรรมในการตอบคำถาม  ในการบริหารงานต่าง ๆถูกบังคับให้เราต้องเอาชนะสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ การคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ  ที่ไม่เคยมีมาก่อนสามารถทำให้เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด  และ อีกอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการฝ่าวงล้อมในการคิดเล็ก ๆ หรือการแวกม่านความคิดต่าง ๆออกไปเพื่อค้นพบในการแก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน  ใครคิดก่อนได้เปรียบ  หลักการคิดสร้างสรรค์ได้แก่
1. ฝึกถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
2. อย่าละทิ้งความคิดใด ๆจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์
3. การพัฒนาเทคนิคช่วยคิดสร้างสรรค์
วงการโฆษณามักจะใช้ขอบเขตทั้ง  3 ข้อดังกล่าว

4.  การคิดเชิงวิพากษ์
หมายถึง  ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ  ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม  เป็นการตั้งคำถามท้าท้ายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง  พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆมากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม  หลักการคิดเชิงวิพากษ์ได้แก่
หลักที่  1  ให้สงสัยไว้ก่อน................อย่าเพิ่งเชื่อ
หลักที่  2  เผื่อใจไว้...............อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้
หลักที่  3  เป็นพยานฝ่ายมาร............ตั้งคำถามซักค้าน

5.  การคิดเชิงบูรณาการ
          ผู้บริหารต้องคิดแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ  ผู้บริหารต้องคิดไม่แยกส่วน  ต้องคิดแบบแกนหลักได้อย่างเหมาะสม  ครบถ้วนทุกมุมมอง  ไม่แยกส่วนในการแก้ปัญหา  หลักการคิดเชิงบูรณาการได้แก่
1. ตั้ง  “แกนหลัก”
2. หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแกนหลัก
3. วิพากษ์เพื่อให้เกิดการบูรณาการครบถ้วน

6.  การคิดเชิงวิเคราะห์              
          ผู้บริหารมีความจำเป็นในการคิดเชิงวิเคราะห์  เช่นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน  เพื่อจำแนกอุปกรณ์ของจุดใดจุดหนึ่งแล้วค้นหาสิ่งที่แท้จริงที่เกิดขึ้น  สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีที่มาที่ไป  มีเหตุมีผลย่อมมีองค์ประกอบย่อย ๆที่ซ่อนอยู่ด้วย  และองค์ประกอบนั้นมีความสอดคล้องหรือตรงข้ามกันกับสิ่งที่ปรากฏภายนอกหรือเปล่า หลักการคิดเชิงวิเคราะห์ประกอบด้วย
1. หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของข้อมูลที่ได้รับ
2. ใช้หลักการตั้งคำถาม
3. ใช้หลักการแยกแยะความจริง  เช่น
                                    แยกแยะระหว่าง  ความจริง (truth)  กับความเชื่อ (belief)
                                     แยกแยะโดยจำกฎขั้วตรงข้าม (the principle of contradiction)
                                    แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง (facts)  กับข้อคิดเห็น (opinions)

7.  การคิดเชิงเปรียบเทียบ
          การคิดเชิงเปรียบเทียบมีประโยชน์มากสำหรับผู้บริหาร  3  ด้านคือ
1. คิดเปรียบเทียบใช้วิเคราะห์
2. คิดเปรียบเทียบใช้อธิบาย
3. คิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหา
การคิดเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์กับเหตุการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน  มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันเพื่อให้เราลดความผิดพลาด  เช่น  สมมุติมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนอาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้หรือตัดสินใจได้  ก็นำมาเปรียบเทียบมาวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ไหนดีเหตุการณ์ไหนไม่ดี  การคิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหาเป็นการจุดประกายความคิดและการสร้างสรรใหม่ ๆ  หลักการคิดเชิงเปรียบเทียบได้แก่
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ
2. กำหนดเกณฑ์ (criteria)  การเปรียบเทียบ
3. แจกแจงรายละเอียดของแต่ละเกณฑ์
4. เปรียบเทียบและตอบวัตถุประสงค์

8.  การคิดเชิงสังเคราะห์
          เป็นความสามารถขององค์ประกอบต่างๆ แล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามความประสงค์ที่เราต้องการ  ในคำตอบจะตอบได้หลาย ๆอย่าง  นำข้อดีของแต่ละอันมาสังเคราะห์เพื่อเป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ในหน่วยงานของเราได้เลย  เช่น  การสังเคราะห์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดสิ่งต่าง ๆจากสูตร  หากเราไม่รู้ประโยชน์จากความคิดของคนรุ่นเก่าแทบจะไม่มีอะไรที่ยากที่ทำไม่ได้  ทุกอย่างมักจะมีแง่มุมที่ทำไว้แล้ว  แต่เราใช้แรงสักหน่อย  นำมาศึกษา  นำมาสังเคราะห์  ดูจากเรื่องเดียวกันว่ามีปัญหาเคยเกิดไหม
          การคิดจากเชิงสังเคราะห์เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า มีอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์นำเอาสิ่งนั้นมาแยกแยะออกจากกัน  ที่นำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน  การกำหนดลักษณะและขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ  เช่น  การเลือกเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้  โดยเลือกขอบเขตที่ชัดเจน

9.  การคิดเชิงมโนทัศน์
          หมายถึง  การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง  การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมอบภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด  กระชับสามารถอธิบายได้  เป็นการคิดรวบยอด  สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน  สามารถถ่ายทอดออกไปได้  การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้นเพราะว่า  กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้  ฉะนั้นการปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ  ยกตัวอย่างเช่น  คำว่า  “นายอำเภอ”  นั้น  เบื้องหลังสะท้อนถึงโครงสร้างการบริหารงาน  สะท้อนถึงหน้าที่  บุคลิก  บทบาทของขอบข่ายงาน  เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกมาเรียงไว้  แล้วคิดออกมาเป็นมโนทัศน์  เช่น  มโนทัศน์เรื่องของยาเสพติด  เมื่อก่อนเรามีมโนทัศน์หมายถึง  เสพแล้วติดให้โทษ  แต่ปัจจุบัน  ยาเสพติดที่ขายตามท้องตลาดซื้อได้ตามร้านขายยาด้วย  ที่กินแล้วอาจไม่ได้ให้โทษมากมาย  วิธีการสร้างมโนทัศน์ประกอบด้วย
1. การเป็นนักสังเกต
2. การตีความ
3. การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ได้รับมากับกรอบความคิดเดิม
ก. สามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง/เหมือนกันในรายละเอียด
ข. สามารถแยกมโนทัศน์หลัก -  มโนทัศน์ย่อยได้
4. การปรับกรอบมโนทัศน์ใหม่
ก. การปรับกรอบเพิ่มในรายละเอียดมากขึ้น
ข. การขยายกรอบความคิดออกไปแนวข้างมากขึ้น
5. การรับกรอบความคิดใหม่เข้ามาทั้งหมด
6. การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

10.  การคิดเชิงประยุกต์
          หมายถึง  ความสามารถที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่   คล้าย ๆกับนำต้นไม้  เช่น  นำต้นยางจากภาคใต้ไปปลูกภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ต้นยางไม่เปลี่ยนแปลงแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนว่าเรานำกรอบ  วิธีการหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่มีอยู่นั้น  นำมาประยุกต์พวกนี้เกิดจากการคิดว่า  เหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ไหม  เกิดผลดีผลเสียอย่างไร  นำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่  หลักการคิดเชิงประยุกต์ประกอบด้วย
1. ใช้หลักการทดแทนคุณสมบัติหลัก
2. ใช้หลักปรับสิ่งเดิมให้เข้ากับสถานการณ์
3. ใช้หลักการหาสิ่งทดแทน
การคิด 10 มิติ  นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน 10 เล่ม  สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้  หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง 10  มิติ  ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำหรับนักบริหารให้รู้จักคิด  รู้จักไตร่ตรอง  หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือรู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์  ทำให้ไม่เผชิญสถานการณ์แบบหนัก ๆ

**********************************
            - ถอดเทปการบรรยายจากการบรรยายของ เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์  ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ในหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่  56 เมื่อวันจันทร์ที่   13  ธันวาคม  2547  เวลา 13.00 -  16.00  น.  ณ  โรงเรียนนายอำเภอ  วิทยาลัยการปกครอง  กรมการปกครอง  กระทรวงมหาดไทย
            - ถอดเทป/เรียบเรียง/พิมพ์ โดย นางพรรณธิภา  ธนสันติ  นพบ.  6  วิทยาลัยการปกครอง
http://www.aircadetwing.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538671363&Ntype=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น